ถอดโมเดล ‘ฟินแลนด์’ ต้นแบบพัฒนา ‘ไทย’ จัดการวิกฤติสร้างธุรกิจ ‘ยั่งยืน’

 
แหล่งที่มา : www.thebangkokinsight.com วันที่โพสต์ :  16 ก.ย. 2562
       
ถอดโมเดล ‘ฟินแลนด์’ ต้นแบบพัฒนา ‘ไทย’
จัดการวิกฤติสร้างธุรกิจ ‘ยั่งยืน’

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย จัดงานสัมมนา Global Business Dialogue 2019 ภายใต้หัวข้อ Designing New Growth model Towards Sustainability เพื่อเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับโมเดลการพัฒนาสู่ความยั่งยืนที่ประสบความสำเร็จจากองค์กรชั้นนำระดับโลก ซึ่งนอกจากจะทำให้ธุรกิจมีส่วนช่วยเกื้อหนุนระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติแล้ว ยังเอื้อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย


เมื่อพูดถึงต้นแบบของการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ทุกคนย่อมนึกถึงสาธารณรัฐฟินแลนด์ ในฐานะประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจพร้อมไปกับการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ จนได้ชื่อว่าเป็น กรีน คันทรี่ (Green Country)
ฯพณฯ ซาตู ซุยก์การี-เคลฟเวน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทย กล่าวว่า เพื่อแก้ไขวิกฤติความยั่งยืนซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป อันกระทบไปถึงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นนั้น สาธารณรัฐฟินแลนด์จึงเร่งรัด และผลักดันให้วิกฤติความยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อไต่ระดับให้ฟินแลนด์เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับวิกฤตความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก และเป็น กรีน คันทรี่ ในที่สุด


“ทุกวันนี้ทุกคนต้องตระหนักถึงวิกฤติความยั่งยืน ลองคิดดูว่าอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสจะสร้างผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อมมากขนาดไหน และย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตคนหลายพันล้านคนบนโลกใบนี้ด้วย ดังนั้นจึงถือเป็นความเร่งด่วนที่ทำให้เกิดการประชุมสุดยอดของสหประชาชาติในเร็วๆ นี้ เพื่อผลักดันให้ทุกประเทศในภาคีจัดทำเป้าหมายความยั่งยืนในด้านสภาพภูมิอากาศ” เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทย กล่าว
“ทุกวันนี้ทุกคนต้องตระหนักถึงวิกฤติความยั่งยืน ลองคิดดูว่าอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสจะสร้างผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อมมากขนาดไหน และย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตคนหลายพันล้านคนบนโลกใบนี้ด้วย ดังนั้นจึงถือเป็นความเร่งด่วนที่ทำให้เกิดการประชุมสุดยอดของสหประชาชาติในเร็วๆ นี้ เพื่อผลักดันให้ทุกประเทศในภาคีจัดทำเป้าหมายความยั่งยืนในด้านสภาพภูมิอากาศ” เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทย กล่าว


ทั้งนี้ ได้ดำเนินการโดยเชิญพันธมิตรในหลายภาคส่วนมาร่วมจัดทำมาตรการผ่านภาคประชาสังคม ทั้งยังวางเป้าหมายเป็นสังคมสวัสดิการที่ไม่มีฟอสซิล ภายในปี 2578 กระตุ้นให้ภาคเอกชนหันมาลงทุนสร้างนวัตกรมเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยรัฐบาลจะสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจผ่านมาตรการทางภาษี เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับ Carbon Sink and Stock ลดการทำลายป่าไม้สร้างแรงจูงใจด้านการดูดซับคาร์บอนจากป่าไม้ ลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและภาคครัวเรือน รวมถึงเพิ่มบทบาทการเป็นประเทศผู้นำเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)


การวางโรดแมปแก้วิกฤติความยั่งยืนดังกล่าว ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่ง Sitra และ St1 Nirdic Oy จากฟินแลนด์ก็เป็นองค์กรเอกชนชั้นนำของโลกที่มีบทบาทสำคัญในการนำโมเดลการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) มาสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
Ernesto Hartikainen, Leading Specialist, Sitra, Finland กล่าวว่า Sitra เป็นกองทุนนวัตกรรมฟินแลนด์ มีภารกิจสนับสนุนและลงทุนในโครงการ และธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับโลก และส่งเสริมการพัฒนาที่มั่นคงและเกิดสมดุลในประเทศให้เติบโตทางเศรษฐกิจ และยังเป็นกองทุนที่มีบทบาทในการวางโรดแมปเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เป็นวาระของชาติของฟินแลนด์ ซึ่งเศรษฐกิจหมุนเวียนจะเป็นโมเดลการทำธุรกิจในอนาคต เพราะนอกจากจะดีต่อสภาพแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในประเทศ เห็นได้จากการที่บริษัทต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมีส่วนสร้างดัชนีทางเศรษฐกิจในฟินแลนด์ได้มากถึง 2,500 ล้านยูโร


ขณะที่แนวคิดการทำเศรษฐกิจหมุนเวียนนั้น จะต้องเริ่มจากการสร้างความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เข้ามาช่วยยืดวงจรของสินค้าให้มีความยาวนานมากขึ้น และเข้าไปเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคที่ทำให้เกิดความยั่งยืน ดังนั้นองค์กรควรออกแบบสินค้าและบริการของตัวเองในแบบใหม่ เช่น แทนที่จะผลิตสินค้าแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ก็หันมาใช้วัตถุดิบรีไซเคิล หรือขยะชีวภาพ และใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีในการจำหน่ายสินค้า เป็นต้น ในขณะที่องค์กรในภาคธุรกิจบริการอาจนำเสนอโมเดล แชร์ริ่ง อีโคโนมี ให้กับลูกค้าได้จ่ายตามการใช้งาน ซึ่งวันนี้เริ่มถูกนำไปใช้แล้วในธุรกิจเช่ารถยนต์


อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสินค้าที่เกิดจากเศรษฐกิจหมุนเวียนยังไม่ได้รับการตอบรับจากตลาดมากนัก เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงกว่า แต่อย่าลืมว่าสินค้าที่ขายอยู่ตามท้องตลาดในวันนี้เป็นราคาที่ถูกเกินไป เพราะยังไม่ได้รวมค่ากำจัดขยะ ฉะนั้นทุกคนจะต้องมาร่วมกันคิดแล้วว่าจะทำอย่างไร ในการคำนวณต้นทุนเหล่านั้นลงไปในราคาสินค้าด้วย ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้เวลา เพราะกำลังอยู่ในยุคการเปลี่ยนผ่าน
Patrick Pitkänen, Director of Biorefining Business Development and Production, St1 Nordic Oy กล่าวว่า St1 เป็นบริษัทพลังงานที่เน้นพัฒนาพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอน หรือลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน ปัจจุบันมีสถานีบริการน้ำมันเชลล์กว่า 1,300 แห่งกลุ่มประเทศนอร์ดิก และในอนาคตมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในการขายและผู้ผลิตพลังงานที่ใส่ใจในก๊าซคาร์บอน


Patrick Pitkänen, Director of Biorefining Business Development and Production, St1 Nordic Oy กล่าวว่า St1 เป็นบริษัทพลังงานที่เน้นพัฒนาพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอน หรือลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน ปัจจุบันมีสถานีบริการน้ำมันเชลล์กว่า 1,300 แห่งกลุ่มประเทศนอร์ดิก และในอนาคตมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในการขายและผู้ผลิตพลังงานที่ใส่ใจในก๊าซคาร์บอน


การเปลี่ยนแปลงขององค์กรเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องมีปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบ นั่นคือ การวางกรอบการทำงานว่าผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากธุรกิจคืออะไร เพื่อนำไปสร้างนโยบายผลักดันในระยะยาวผสานเข้าไปในกระบวนการทำงาน ไม่ใช่ทำเป็นโครงการเฉพาะกิจ อย่าง St1 มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องเป็นสิบปีในการพัฒนาพลังงานทางเลือกใหม่ๆ ซึ่งมันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการสร้างนวัตกรรม


นอกจากนี้ชุมชนในท้องถิ่นยังเป็นพันธมิตรสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่ง St1 ใช้กลยุทธ์ Think Global, Act Local โดยนำขยะจากชุมชนใกล้ๆ โรงงานมาใช้เป็นพลังงาน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว”


จะเห็นได้ว่าฟินแลนด์โมเดลทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นแนวทางที่ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถนำมาต่อยอดเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างโอกาสการเติบโตให้กับธุรกิจบนโลกอนาคต ท่ามกลางพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีแนวโน้มให้ความสำคัญกับสภาพสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
Visitors: 631,748