สิงคโปร์ประเทศแรกอาเซียนใช้ Carbon Tax

 
แหล่งที่มา : www.facebook.com/tgo.or.th วันที่โพสต์ :  12 พ.ค. 2562
       
สิงคโปร์ประเทศแรกอาเซียนใช้ Carbon Tax

สิงคโปร์เป็นประเทศแรกของอาเซียนที่เริ่มนำมาตรการภาษีคาร์บอนมาใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change

กลุ่มประเทศอาเซียนวางเป้าหมายว่าจะลดการกระจุกตัวของพลังงานลด 20% ภายในปี 2020 และเพิ่มพลังงานหมุนเวียนในแหล่งพลังงานรวมเป็น 23% ภายในปี 2025

สำหรับสิงคโปร์ให้คำมั่นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้ข้อตกลงปารีสว่า จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดง 36% ช่วงปี 2005-2036 และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย สิงคโปร์ได้ใช้หลายยุทธศาสตร์ รวมทั้งการออกกฎหมาย อนุรักษ์พลังงาน (Energy Conservation Act) ในปี 2017ที่มีเป้าหมายไปที่ผู้ที่ทำให้เกิดมลพิษรายใหญ่ เพื่อให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการนำมาตรการภาษีคาร์บอนมาใช้ซึ่งจะทำให้สิงคโปร์กลายเป็นชาติแรกของอาเซียนที่ใช้มาตรการนี้

สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สิงคโปร์ระบุว่า กิจการใดก็ตามที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง(Greenhouse Gas:GHG) ในปริมาณเทียบเท่าตันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์( tCO2e)ตั้งแต่ 25,000 ตันขึ้นไปจะต้องลงทะเบียนเป็นสถานที่หรือกิจการที่ต้องเสียภาษี(Taxable facilities) และต้องนำส่งแผนงานก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งติดตามและการปล่อยก๊าซทุกปี

สถานที่ที่ต้องเสียภาษีจะต้องจ่ายภาษีคาร์บอนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นไปจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่คำนวณได้ โดยอัตราภาษีกำหนดไว้ที่ 3.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (5 ดอลลาร์สิงคโปร์)ต่อตันจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(tCO2e) ตั้งแต่ปี 2019-2023

หลังจากนั้นสิงคโปร์จะทบทวนอัตราภาษีในปี 2023 และมีแผนที่จะปรับอัตราภาษีขึ้นเป็น 7.35 ดอลลาร์สหรัฐฯถึง 11 ดอลลาร์สหรัฐฯ(หรือราว 10-15 ดอลลาร์สิงคโปร์)ภายในปี 2030

มาซากอส ซุลกิฟลี รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ สิงคโปร์กล่าว ในงานเสวนา Singapore Dialogue on Sustainable World Resources ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดโดย Singapore Institute of International Affairsเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2562 ว่า การขยายตัวของเมืองและการบริโภคที่สูงขึ้น จะทำให้เกิดการแย่งใช้ทรัพยากรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด

“โลกกำลังถึงจุดเปลี่ยน เราต้องหาแนวทางการแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับกับการพัฒนาเศรษฐกิจรวมทั้งร่วมมือกับประเทศอื่นในภูมิภาคและของโลก เพื่อสร้างความยั่งยืน”

การร่วมมือของทั่วโลกควรเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุมการสนับสนุน วาระ 2030 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDG Goals) และข้อตกลงปารีส ที่ 195 ประเทศเห็นพ้องกันในปี 2015 นอกจากนี้ต้องอาศัยความร่วมมือของภาคประชาสังคมอีกด้วย

ในปี 2016 สิงคโปร์เริ่มทดลองโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำใหญ่ที่สุดของโลกซึ่งประสบความสำเร็จ จึงมีเป้าหมายที่จะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สูงสุดเป็น 350 เมกะวัตต์ในปี 2020 หลังจากนั้นจะเพิ่มขนาดกำลังการผลิตสูงสุดขึ้นเป็น 1 กิกะวัตต์ และจะขยายการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำไปยังอ้างกักเก็บน้ำแห่งอื่นด้วยทั่วเกาะ

ปี 2018 สิงคโปร์จัดให้เป็นปีแห่งการแก้ไข Climate Change หลังจากที่ร่วมลงนามในข้อตกลงปารีสและก่อนหน้านั้นในปี 2017 สิงคโปร์เป็นประเทศที่ 20 ของโลกที่เข้าร่วมปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยตลาดคาร์บอน(Ministerial Declaration on Carbon Markets) ที่ประเทศสมาชิกจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้มีการพัฒนามาตรฐานและแนวทางการใช้กลไกตลาดเป็นการร่วมกันด้านสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาการนับซ้ำ(double-counting) ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ รวมทั้งการนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ไปใช้ประโยขน์ของทั้งสองฝ่ายหรือมากกว่า (double-claiming)

ที่มา: https://theaseanpost.com/article/taking-fight-climate-change
ภาพ :https://www.nccs.gov.sg/climate-change-and-sin…/…/carbon-tax

Visitors: 618,496