แบงก์เปิดศึกชิงเค้กสินเชื่อออนไลน์

 
แหล่งที่มา : www.thansettakij.com วันที่โพสต์ :  26 ก.พ. 2562
       
แบงก์เปิดศึกชิงเค้กสินเชื่อออนไลน์

บงก์เปิดศึกชิงตลาดดิจิตอล “ไทยพาณิชย์” นำร่องเจาะตลาดบัตรเครดิตออนไลน์ 1.5 แสนใบคาดกวาดเม็ดเงิน 2 หมื่นล้านบาท “กรุงศรี อยุธยา” ดันพอร์ตออนไลน์เป็น 15% วงเงิน 3 พันล้านบาท ขณะที่ “กสิกรไทย” ขอโต 1 เท่าตัว ยอดแตะ 3 หมื่นล้านบาทฟาก “ซีไอเอ็มบี ไทย” จับมือพันธมิตรจีนรุกลูกค้าผ่านโซเชียล


ภาพระบบการชำระเงินออนไลน์ ปี 2561 ที่เพิ่มขึ้น 83% จากปี 2559 โดยเฉพาะรายย่อยที่เติบโตขึ้นถึง 115% ขณะที่การชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตหรือโมบาย แบงกิ้งโตขึ้นถึง 260% ซึ่งสวนทางกับการโอนเงินผ่านสาขาที่ลดลงไป 30% สะท้อนว่า คนหันมาใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นที่สำคัญการถอนเงินสดผ่าน ATM ลดลงเป็นครั้งแรกเช่นกัน จากที่เคยเพิ่มขึ้นปีละ 2-3% สอดคล้องกับทิศทางการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่จะหันมาปล่อยสินเชื่อผ่านออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน

สารัชต์ รัตนาภร

นายสารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ทิศทางการปล่อยสินเชื่อออนไลน์ หรือ Digital Lending ปีนี้ จะเน้นขยายฐานสินเชื่อผ่านลูกค้าโมบายแบงกิ้ง หรือ SCB Easy เพื่อต่อยอดไปสู่การปล่อยสินเชื่อ ตั้งเป้าเพิ่มฐานลูกค้าโมบายแบงกิ้งรายใหม่ 3 ล้านราย จากปัจจุบัน 9 ล้านราย โดยจะขยายสินเชื่อบนฐานลูกค้าบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล (Presonal Loan) และสินเชื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SSME)


ทั้งนี้ ตั้งเป้าเพิ่มลูกค้ารายใหม่บัตรเครดิตบนช่องทาง ออนไลน์ 1.5 แสนใบ จากเป้ารวมทั้งปี 4 แสนใบ จะมีเม็ดเงินสินเชื่อระยะสั้น 6-10 เดือนราว 2 หมื่นล้านบาท ส่วนลูกค้า SSME คาดว่าจะมีเม็ดเงินราว 1 หมื่นล้านบาท ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะแตกต่างกัน ขึ้นกับวงเงินและระยะเวลาการผ่อนชำระ แต่จะตํ่ากว่าปกติทั่วไป โดยช่วงแรกจะเน้นขยายฐานลูกค้าเดิมก่อน เพราะมีข้อมูล สามารถวิเคราะห์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมและสามารถทำการตลาดบนดิจิทัล(Marketing Digital) ที่ตรงความต้องการในแต่ละรายได้เหมาะสม

นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อออนไลน์หรือ สินเชื่อ iFin ยังเป็นการขอสินเชื่อผ่านออนไลน์ที่ทำงานบนออฟไลน์อยู่ เพราะยังต้องให้ลูกค้าเซ็นเอกสาร
แต่เชื่อว่า หลังจากมีการพิสูจน์ตัวตนผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) จะทำให้การขอสินเชื่อเป็นออนไลน์ทั้งหมด โดยลูกค้าจะทำธุรกรรมที่เรียกว่า e-Signature และขั้นตอนอนุมัติ 1 วัน แม้จะลดลงจากอดีต 5-6 วัน แต่ระยะใกล้น่าจะอนุมัติได้ภายในนาทีหรือวินาทีได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการปล่อยสินเชื่อลงได้ 30-40% เทียบกับการปล่อยสินเชื่อแบบเดิม



ทั้งนี้ในปี 2562 หลังจาก e-KYC ออกมา ตั้งเป้าขยับสัดส่วนสินเชื่อออนไลน์อยู่ที่ 15% ของยอดคำขอสินเชื่อออนไลน์ทั้งหมด จากปัจจุบันเพียง 5% โดยคิดเป็นสินเชื่อ 3,000 ล้านบาท จากปี 2561 ที่สินเชื่อ iFin อนุมัติได้ 200 ล้านบาท หรือมีผู้ยื่นคำขอ 3 หมื่นราย ซึ่งเริ่มจากฐานลูกค้าเก่า โดยจะเป็นการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น แต่ภายในไตรมาส 3 จะเริ่มปล่อยสินเชื่อออนไลน์ในส่วนของสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อที่อยู่อาศัย

นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรายย่อย บมจ.ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เพื่อขออนุมัติปล่อยสินเชื่อดิจิทัล ภายใต้สินเชื่อบุคคล ซึ่งภายในเดือนกุมภาพันธ์ชี้แจงรายละเอียดและหลักการวิเคราะห์สินเชื่อ คาดว่าน่าจะเริ่มทดลองทำได้ในเดือนเมษายน เบื้องต้นตั้งวงเงินปล่อยกู้ไว้ 2,000 ล้านบาท โดยทำร่วมกับพันธมิตรสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (Non Bank) ในจีน 2-3 ราย ซึ่งล่าสุดคัดเลือก 1 ราย และทำระบบไว้แล้ว
 

“พันธมิตรจะเข้ามาช่วยเรื่องขั้นตอนการเก็บข้อมูล เพื่อนำไปวิเคราะห์สินเชื่อและดูพฤติกรรมการชำระหนี้และวินัยการเงิน เช่น ข้อมูลโซเชียล ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ต้นทุนตามความเสี่ยง จากเดิมที่วิเคราะห์ตามรายได้ผู้กู้ แต่ในอนาคตจะวิเคราะห์ตามพฤติกรรมและวินัยเช่น คนมีรายได้น้อย แต่มีวินัยดี ชำระหนี้ที่ดี อัตราดอกเบี้ยจะถูกลง เมื่อเทียบคนที่มีรายได้สูง”

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกสิกรไทยกล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อดิจิทัลเติบโต 1 เท่าจากปีก่อน  คิดเป็นวงเงิน 3 หมื่นล้านบาทจากปีก่อน 1.5 หมื่นล้านบาท โดยลูกค้าสามารถขอวงเงินผ่านแอพพลิเคชัน K PLUS ได้ แต่การอนุมัติสินเชื่อ (Approve) ยังใช้ทีมงานหลังบ้านเป็นคนอนุมัติ 
   
Visitors: 632,632