AI เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา

 
แหล่งที่มา : www.thansettakij.com วันที่โพสต์ :  17 ก.พ. 2562
       
AI เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา

เขียน : The Minimal

การปฏิรูปการศึกษาคือสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญมานาน แต่ยังไม่สัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรมจริงจังเสียที ยิ่งเมื่อก้าวสู่ยุคของ DIGITAL DISRUPTION แนวทางการสร้างความแข็งแกร่งให้ ยิ่งต้องเติมเต็มมากขึ้น โดยมีความพยายามผลักดันให้เด็กๆ ได้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือที่รวมเรียกว่า ทักษะความรู้ด้านสเต็ม (STEM Education) แนวทางการศึกษาที่ ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ รวมเข้าด้วยกัน





นอกจากการเติมเต็มความรู้ เพื่อต่อสู่กับการถูก DIGITAL DISRUPTION แล้ว สถาบันการศึกษายังปรับปรุงวิธี การเรียนการสอน ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือ สร้างประสิทธิภาพการส่งต่อความรู้ ซึ่งที่ผ่านมา จะได้เห็นในสถาบันระดับอุดมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ สำหรับในประเทศไทย ล่าสุดได้เห็นการนำเทคโนโลยี หรือ Artificial Intelligence (AI) เข้ามาเป็นเครื่องมือการเรียนการสอนในระดับโรงเรียนแล้ว เช่นโรงเรียนสาธิตนานาชาติ พระจอมเกล้า(King Mongkut’s International Demonstration School - KMIDS) โรงเรียนนานาชาติสายวิทยาศาสตร์ ที่เน้นการเรียนการสอนด้านสเต็มศึกษา ภายใต้สังกัดสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่นำเครื่องมือและเทคโนโลยี เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร


“รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ คำฝอย” ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า บอกว่า เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ นำมาใช้ตั้งแต่เริ่มต้น คือ หุ่นยนต์ จาก Carnegie Mellon University มหาวิทยาลัยด้าน Software Engineering ที่นำมาใช้กับการสอนวิชา STEM With ROBOTICS และล่าสดยังนำหุ่นยนต์แขนกล DOBOT MAGICIAN (Robotic Arms) เข้ามาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการสร้างศักยภาพการเรียนในเทอมหน้านี้ โดยโรงเรียนได้จัดงานเปิดบ้าน “KMIDS OPEN HOUSE 2019” แนะนำหลักสูตรให้กับผู้ปกครองและนักเรียนไปเมื่อเร็วๆ นี้





การนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือการเรียนการสอน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับนักเรียนได้จริง โดยการเรียนการสอนต้องมีครูที่ผ่านมาฝึกอบรมมาเป็นผู้ดูแล โดยครูผู้สอนจะทำหน้าที่ไกด์ให้กับเด็กๆ แล้วปล่อยให้พวกเขาได้คิ ดและลงมือทำเอง ซึ่งนักเรียนทุกระดับชั้นของโรงเรียน KMIDS มีพื้นฐานภาษา C หรือ Python ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ สำหรับการพัฒนาโปรแกรมทั่วไป การควบคุมแขนหุ่นยนต์ให้ ทำงานตามที่ต้องการด้วยการโปรแกรม ด้วยการพัฒนาตัวหุ่นยนต์ Dobot ให้ทำงานได้หลากหลาย รวมถึงสามารถต่ออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์และหุ่นตัวอื่นๆ ได้ ทั้งยังฝึกทักษะที่จำเป็นต่ออนาคต ทำให้นักเรียนสามารถมองเห็นโอกาสที่กว้างขึ้นจากการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

หากจะถามว่า หุ่นยนต์หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ที่นำมาเสริมในหลักสูตร สามารถสร้างให้เด็กมีศักยภาพในการคิด การพัฒนาได้ดีขึ้นแค่ไหน ตัวอย่างของ KMIDS คือ นักเรียนของ KMIDS ได้เข้าแข่งขัน World Robot Olympiad (WRO) หรือการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ และได้รับรางวัลชนะเลิศ จนมีโอกาสเป็นตัวแทนประเทศเข้าร่วมแข่งในระดับนานาชาติทั้งสองปี สำหรับปีล่าสุด ทีม KMIDS_Your pace or mine? ชนะเลิศประเภทความคิดสร้างสรรค์ (Open Category) ระดับ Senior ในระดับประเทศ โดยน้องๆ ได้สร้างหุ่นยนต์แขนกล เพื่อลดข้อด้อยขอกงารผลิตสาหร่ ายสไปรูรีน่าให้มีประสิทธิภาพ มีการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมของน้ำ และเก็บเกี่ยวสาหร่ายด้วยการดูดน้ำมากรองสาหร่ายออกเมื่อครบกำหนดวันที่สาหร่ายเติบโตในระยะที่เหมาะสม ก่อนที่จะส่งไปล้ างทำความสะอาดของเหลวที่มีสภาพเบสสูง เพื่อให้คนกินได้ จากนั้นเครื่องจะดูดน้ำที่ผ่านการกรองกลับไปที่โหล เติมหัวเชื้อสาหร่าย เติมสารอาหาร รอให้สาหร่ายเติบโตและย้อนกลับไปสู่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวอีกครั้ง

จากความสามารถในการคิดและพัฒนา จนได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ ถือเป็นแนวทางที่พอจะพิสูจน์ได้ว่า หากการเรียนการสอนของไทย พัฒนาและเติมเต็มด้วยเทคโนโลยี สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้เรียนได้จริง แนวทางนี้จึงถือเป็นอีกหนึ่งวิธีของการศึกษา ที่นำเรื่องของ DIGITAL DISRUPTION มาปรับใช้ได้อย่างมีคุณค่าจริงๆ 
   
Visitors: 619,711