ขยะอิเล็กทรอนิกส์: 4 กราฟิกอธิบายสภาพปัญหาโลกของขยะมูลค่าราว 2 ล้านล้านบาท

 
แหล่งที่มา : www.khaosod.co.th วันที่โพสต์ :  7 ก.พ. 2562
       
ขยะอิเล็กทรอนิกส์: 4 กราฟิกอธิบายสภาพปัญหาโลก
ของขยะมูลค่าราว 2 ล้านล้านบาท

ถ้านำสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในบ้านเรือน ที่ถูกทิ้งทั่วโลกในแต่ละปีมากองรวมกัน มันจะมีน้ำหนักมากเท่ากับพีระมิดแห่งกีซาของอียิปต์ 9 แห่งรวมกัน มูลค่าของมันมากกว่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของคอสตาริกา โครเอเชีย หรือแทนซาเนีย

รายงานของสหประชาชาติ ระบุว่า โลกผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์ 48.5 ล้านตันในปี 2018 ซึ่งมากกว่าน้ำหนักของเครื่องบินพาณิชย์ทุกลำรวมกันที่ถูกผลิตในโลกนี้

มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียง 20% เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล และถ้าหากยังไม่ลงมือทำอะไร สหประชาชาติคาดว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มเป็น 120 ล้านตันภายในปี 2050

เครนเก็บเศษโลหะที่หลุมขยะ
Getty Imagesมีขยะอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลกเพียง 20% เท่านั้น ที่ถูกนำไปรีไซเคิล และคาดว่า ปริมาณขยะพลาสติกจะเพิ่มขึ้น

ปีเตอร์ บักเคอร์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Business Council for Sustainable Development–WBCSD) “ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นขยะที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด และมีความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม”

นี่คือ 4 ภาพกราฟิกที่ช่วยอธิบายความท้าทายของปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์

1. ภูเขา ‘ขยะ‘ กองนี้มีมูลค่ามหาศาล

ขยะอิเล็กทรอนิกส์:BBC

คาดว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกในปี 2016 มีวัสดุมีค่าอย่างทองคำ, ทองแดง และเหล็ก รวมอยู่ด้วย คิดเป็นมูลค่ากว่า 6.25 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ประมาณ 1.95 ล้านล้านบาท ซึ่งสหประชาชาติระบุว่า คิดเป็น 3 เท่าของมูลค่าผลผลิตที่ได้จากเหมืองเงินทั่วโลก และมากกว่าจีดีพีของ 123 ประเทศ

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union) ประเมินว่า ทองคำมูลค่า 2.15 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 6.7 แสนล้านบาท ถูกทิ้งไปในปี 2016 ส่วนทองแดงที่ถูกทิ้งไปคิดเป็นมูลค่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 4 แสนล้านบาท

2. อุปกรณ์ส่วนตัวคิดเป็นครึ่งหนึ่งของขยะพลาสติกทั้งหมด

กราฟิกBBC

ราวครึ่งหนึ่งของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดมากจากอุปกรณ์ส่วนตัว อย่างคอมพิวเตอร์, จอ, สมาร์ทโฟน, แทบเล็ต และโทรทัศน์

ส่วนที่เหลือมาจากอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา อย่าง อุปกรณ์ทำความเย็นหรือความร้อน

เฉลี่ยแล้วสมาร์ทโฟนมีแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบอยู่ 60 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพราะการเหนี่ยวนำไฟฟ้าที่สูงของพวกมัน

ธาตุเหล่านี้สามารถเก็บกู้และนำมากลับมาใช้ใหม่ได้ หรือใช้เป็นวัตถุดิบระดับรองลงมาของสินค้าใหม่

สหประชาชาติระบุว่า ในปี 2016 โทรศัพท์น้ำหนักรวม 4.35 แสนตัน ถูกทิ้ง อาจมีมูลค่าสูงถึง 9.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 2.97 แสนล้านบาท

แร่ธาตุบางชนิดเป็น วัตถุที่เป็นธาตุโลหะหายาก ซึ่งถูกใช้ในแบตเตอรีและเลนส์กล้อง แร่เหล่านี้มีราคาแพงขึ้นในการขุดเจาะและมีอยู่เพียงไม่กี่แห่งในโลก

 

3. ขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกส่งไปยังประเทศที่ยากจนกว่าอย่างผิดกฎหมาย

กราฟิกBBC

การนำแร่ธาตุที่มีค่าในขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับมาใช้ใหม่ อย่างแร่ทองแดงและทองคำ กลายเป็นแหล่งรายได้ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organisation–ILO) ระบุว่า คาดว่ามีคนราว 100,000 คน ในไนจีเรียกำลังทำงานนอกภาคแรงงานปกติ เกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนจีนคาดว่า ตัวเลขนี้อยู่ที่ 690,000 คน

อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม การทำงานเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์อาจจะเป็นอันตรายได้

ขยะอิเล็กทรอนิกส์อาจคิดเป็นเพียง 2% ของขยะที่เป็นของแข็ง แต่เมื่อมาอยู่ที่กองขยะ มันอาจจะมีสัดส่วนถึง 70% ของขยะอันตราย

การศึกษาหนึ่งในไนจีเรีย พบว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ 60,000 ตันถูกส่งเข้าไปในประเทศอย่างผิดกฎหมายในปี 2015 และ 2016

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกใช้งานแล้วราว 77% มาจากประเทศสมาชิกในยุโรป จำนวนมากมาจากรถมือสองที่ถูกนำเข้ามา

“แม้ว่าชิ้นส่วนหลายชิ้นอาจซ่อมใหม่ หรือนำไปใช้เป็นสินค้ามือสองได้โดยตรง แต่พวกมันก็มีโอกาสที่จะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว ประเทศที่มีรายได้ต่ำ มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการขยะพลาสติกน้อยกว่าประเทศที่มีรายได้สูงกว่า นี่คือแนวโน้มที่ต้องระวัง และควรได้รับการแก้ไข” การศึกษาของ ILO ระบุ

4. การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาจทำให้ทุกคนได้ประโยชน์

กราฟิกBBC

สหประชาชาติกำลังมอบเงินทุนให้โครงการต่าง ๆ ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในไนจีเรีย และอีก 13 ประเทศในลาตินอเมริกา

อุตสาหกรรมนี้ถูกเรียกว่า “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ถูกออกแบบมาเพื่อนำวัสดุและส่วนประกอบต่าง ๆ กลับไปใช้งานใหม่ และทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นศูนย์

สหประชาชาติระบุว่า “ถ้าได้รับการพัฒนาในทางที่ถูกต้อง การจ้างงานในเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านอิเล็กทรอนิกส์และขยะอิเล็กทรอนิกส์อาจสร้างงานให้กับคนหลายล้านคนทั่วโลก”

“โมเดลหมุนเวียนเพื่ออิเล็กทรอนิกส์ [ยัง] อาจลดต้นทุนของผู้บริโภคลงได้ 7% ภายในปี 2030 และ 14% ภายในปี 2040”

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ของโลกมาจากออสเตรเลีย, จีน, สหภาพยุโรป, อเมริกาเหนือ, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

ในสหรัฐฯ และแคนาดา แต่ละคนผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อปีราว 20 ก.ก. ขณะที่ในสหภาพยุโรปตัวเลขนี้อยู่ที่ 17.7 ก.ก.

ส่วนผู้อยู่อาศัยในภูมิภาคแอฟริกาทั้งหมด 1,200 ล้านคน ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์เฉลี่ยเพียง 1.9 ก.ก. ต่อคนต่อปี

Visitors: 631,772