ส่องปัญหาฝุ่นละอองทางอากาศในต่างแดนและวิธีการรับมือของแต่ละประเทศ

 
แหล่งที่มา : https://news.mthai.com
วันที่โพสต์ :  14 ม.ค. 2562
       
ส่องปัญหาฝุ่นละอองทางอากาศในต่างแดนและวิธีการรับมือ
ของแต่ละประเทศ

ไม่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้นที่ประสบปัญหาฝุ่นละอองและมลภาวะทางอากาศ แต่ปัญหาดังกล่าว กลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ที่กำลังจะกลายมาเป็นวิกฤตใหญ่ในไม่ช้า

เมื่อกล่าวถึงฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า การเผาไหม้ในที่โล่ง และการคมนาคมขนส่ง ซึ่งนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมมองว่าเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครที่มีการจัดการระบบขนส่งมวลชน ยังไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจึงทำให้ปัญหามลภาวะทางอากาศจากควันรถมากมายมหาศาล

ทว่าปัญหาค่าฝุ่นละอองที่เกินมาตรฐานยังคงเป็นปัญหาใหญ่ ต่างจากบางเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าในต่างประเทศ ที่มีระบบขนส่งมวลชน เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม และปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เข้ามาส่งผลกระทบต่อประชาชนในประเทศเหล่านี้เท่าใดนัก

ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวถึงปัญหามลภาวะทางอากาศประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น ว่ามีสภาพอากาศที่ค่อนข้างดีแม้แต่ตามเมืองใหญ่ เนื่องจากประเทศเหล่านี้จะส่งเสริมการใช้จักรยาน และจะมีระบบการขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพจะไม่มีจักรยานยนต์ หรือรถยนต์จำนวนมาก เหมือนอย่างใน กรุงเทพมหานคร

 
ส่วนปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ ๆ ของประเทศไทย ส่วนหนึ่งก็มาจากไอเสียรถยนต์ หรือการเผาผลาญของระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งหากหลังจากนี้ ไม่มีการควบคุมการก่อมลพิษเหล่านี้เพิ่ม จะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพได้อย่างแน่นอน
จีน -อินเดีย ครองแชมป์เสียชีวิตจากปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุดในโลก

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกในปี 2561 ระบุว่า แต่ละปีมีประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพราะมลพิษทางอากาศไม่ต่ำกว่า 6,500,000 คนในจำนวนนี้เป็นเด็กถึง 1,700,000 คนและหากย้อนกลับไปดูสถิติ ในปี 2560 จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากมลพิษและฝุ่นละอองสูงที่สุดในโลก
 

ล่าสุดองค์กร Greenpeace องค์การสาธารณประโยชน์นานาชาติที่ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสันติภาพฐานที่มั่นอยู่กรุงอัมสเตอร์ดัมประเทศเนเธอร์แลนด์ และมีฐานที่มั่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในประเทศไทย

Greenpeace Thailand ทวีตข้อความ ระบุอันดับประเทศที่มีสภาพอากาศย่ำแย่โดยกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ติดอันดับมีคุณภาพอากาศแย่เป็นอันดับ 9 ของโลก โดย อันดับ 1 กรุงเดลี ประเทศอินเดีย อันดับ2 เมืองดากา ประเทศบังคลาเทศ อันดับ 3 เมืองโกลกาตา ประเทศอินเดีย อันดับ4 เมืองเสิ่นหยาง ประเทศจีน อันดับ5 เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล อันดับ6 เมืองอูลานบาตาร์ ประเทศมองโกเลีย อันดับ7 เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย อันดับ8 เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และประเทศไทยซึ่งติดอันดับมาเป็นที่9 ตามมาด้วยนครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ติดอันดับมาเป็นลำดับที่ 10

ขณะที่เมืองที่มีมลพิษทางอากาศต่ำที่สุดอันดับ 1 ได้แก่ เมืองเบรียดแคเลน ประเทศสวีเดน มัล์มแบร์เยดประเทศสวีเดนตามมาเป็นอันดับ 2 เมืองเบนิกาซิมประเทศสเปนตามมาเป็นอันดับ 3 ส่วนอันดับ 4 เป็นของเมืองปาล์มเซอประเทศเอสโตเนีย ส่วนอันดับ 5 เป็นของเมืองและริกิประเทศสวิตเซอร์แลนด์

 

วิธีการแก้ปัญหาและรับมือกับมลพิษทางอากาศในต่างประเทศ

ขณะที่เมืองใหญ่ทั่วโลกกำลังคิดหาทางแก้ปัญหาฝุ่นละอองทางอากาศที่กำลังคุกคามสุขภาพ และความปกติสุขของมวลมนุษย์มากขึ้นทุกวัน ที่เห็นได้ชัดคือประเทศจีน ที่รัฐบาลยกให้ปัญหาฝุ่นละอองทางอากาศ เป็นนโยบายระดับชาติ มีการผลักดันการใช้พลังงานสะอาดแทนถ่านหินประกาศมาตรการในการเก็บภาษีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจำนวน 12 หยวนต่อหน่วยของการปล่อยมลพิษทางอากาศ ผลจากการเอาจริงเอาจังของรัฐบาลจีน ส่งผลให้ค่าPM ลดลง 3.5 ต่อปี โดยในกรุงปักกิ่งลดลงถึงร้อยละ 20.5 ขณะเดียวกัน 4 เมืองใหญ่ของโลกอย่างปารีส เอเธนส์ เม็กซิโกซิตี และมาดริด มีแผนจะห้ามใช้รถยนต์ดีเซลภายในปี 2525
 
ขณะที่รัฐบาลอังกฤษประกาศแผนการจัดการกับปัญหาฝุ่นละอองทางอากาศ หลังจากสหราชอาณาจักรเป็น1 ใน 6 ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ต้องเสียค่าปรับ ให้แก่ศาลยุติธรรมแห่งยุโรปเนื่องจากมีการละเมิดข้อ จำกัด ด้านคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง

ส่วนสหภาพยุโรปมีการผลักดันในการนำร่องใช้พลังงานสะอาด ด้วยการใช้รถยนต์สาธารณะโดยในอนาคต การเดินทางด้วยจักรยานจะกลายเป็นตัวเลือกที่สำคัญในการสัญจรของประชาชน

 

ป้องกันสุขภาพของตนเองอย่างไร ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละอองสูง

ประชาชนทั่วไป ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมในที่กลางแจ้ง และหากมีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์

อย่างไรก็ตาม ปัญหาฝุ่นละอองทางอากาศนั้นไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวผ่าตัดเป็นภัยเงียบที่แต่อยู่ในอากาศที่เราใช้หายใจชีพในทุกขณะนอกเหนือจากการป้องกันตัวเองได้หน้ากากอนามัยแล้วการตัดต้นต่อของมลพิษคนเป็นทางออกสำหรับปัญหาสภาพอากาศวิกฤตระดับโลก

Visitors: 633,941