แนะติด ‘เทเลเมติกส์ - IoT’ ช่วยธุรกิจขนส่งจับพฤติกรรมคนขับลดอุบัติเหตุ-ดูแลรถ

 
แหล่งที่มา : www.thansettakij.com วันที่โพสต์ :  6 ม.ค. 2561
       
แนะติด ‘เทเลเมติกส์ - IoT’ ช่วยธุรกิจขนส่งจับพฤติกรรมคนขับลดอุบัติเหตุ-ดูแลรถ

แนะธุรกิจยานยนต์และโลจิสติกส์ ติดดาบเทคโนโลยี “เทเลเมติกส์-IoT” เชื่อมต่อผ่านระบบคลาวด์ วิเคราะห์บิ๊กดาต้า จับพฤติกรรมคนขับ ชี้ช่วยลดอุบัติเหตุ-บำรุงรักษารถ บริหารจัดการเส้นทาง 


นางสาวปิยวดี หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า ผู้ให้พัฒนาโซลูชันด้านการบริหารจัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์ ภายใต้ชื่อ “นอสตร้า โลจิสติกส์” เปิดเผยว่าภาคอุตสาห กรรมยานยนต์และธุรกิจขนส่งเร่งปรับตัวรับเทคโนโลยี โดยนำเอาความอัจฉริยะของระบบเทเล เมติกส์ และอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง หรือ  IoT สามารถนำมาใช้ประโยชน์สำคัญ 2 ประการคือ 

1.ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์ สิน 
2.การบำรุงรักษายานยนต์ ชะลอความสึกหรอเครื่องยนต์


โดยพบว่าเทคโนโลยีเทเลเมติกส์และ IoT ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยได้ เพราะ 9 ใน 10 ของการเกิดอุบัติเหตุมีสาเหตุมาจากมนุษย์ จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นชี้ว่า สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตบนท้องถนนของไทย

อันดับ 1  คือ ขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด
อันดับ 2 ขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด และ
อันดับ 3 ขับรถตามกระชั้นชิด


ดังนั้น สิ่งสำคัญลำดับแรกในการป้องกันและลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนนคือ การป้องกันพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยให้แก่ผู้ขับรถ ซึ่ง เทเลเมติกส์ คือ เทคโนโลยีความปลอดภัยในรถยนต์เพื่อช่วยป้อง กันและแจ้งเตือนให้ผู้ขับรถทราบความเสี่ยงอันตรายในขณะขับรถ สามารถตรวจสอบเมื่อคนขับตาไม่มองถนน มือไม่จับพวงมาลัย สมองไม่มีสติในการควบคุมรถ เพื่อเพิ่มความระมัดระวังหรือเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทันเวลา


“เทเลเมติกส์เป็นโซลูชันใหม่ที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวม และเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างรถยนต์และผู้ใช้รถให้เป็นหนึ่งเดียวผ่านเทคโนโลยี IoT โดยการเชื่อมต่อและผสมผสานอุปกรณ์หลายชนิดเข้าด้วยกัน ผ่านการสื่อสารบนอินเตอร์ เน็ตและส่งข้อมูลมารวบรวมไว้ยังระบบคลาวด์  ทำให้เกิดการวิเคราะห์ ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data สำหรับการบริหารจัดการในธุรกิจยานยนต์และการขนส่ง ก่อให้เกิดผลดีต่อองค์กรทางธุรกิจ โดยจะเห็นตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ผ่านเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ เช่น

- การจัดการความเสี่ยงจากพฤติกรรมการขับรถ (Risk Management)
- การจัดเส้นทางการเดินรถ (Routing Optimization)
- การประเมินความเสียหายและการบำรุงรักษารถ (Breakdown and Maintenance Management) 


ในภาพรวมระดับประเทศ หากมีการแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ระหว่างภาครัฐและเอกชน สามารถนำเทเลเมติกส์เข้ามาใช้สำหรับวางแผนเส้นทางการจัดส่งสินค้าและการเดินรถ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data จำพวกตำแหน่งรถยนต์ ความเร็วที่ใช้ในการขับขี่ ข้อมูลการขับรถ  และข้อมูลอื่นๆ เช่น การจำกัดความเร็วรถจากป้ายจราจร สัญญาณไฟจราจร รายงานเหตุการณ์บนท้องถนนแบบเรียลไทม์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจร และวางแผนเส้นทางการขนส่งที่ดีที่สุดแก่ผู้ประกอบการ ทำให้สามารถจัดส่งสินค้าแก่ลูกค้าได้ตรงตามเวลาและกำหนดเวลาล่วงหน้าได้อย่างชัดเจน ป้องกันการทุจริตของพนักงานในเรื่องของเวลาการทำงานและระยะทางที่เดินทางจริง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเชื้อเพลิง รวมถึงรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นจากการใช้เชื้อเพลิงที่ลดลง


ด้านการเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจ พบว่าบริษัทผลิตรถยนต์มีการนำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์เข้ามาติดตั้งและเชื่อมต่อกับรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่น มาพร้อมกับฟังก์ ชันใหม่ที่ให้ความปลอดภัย ความ สะดวกสบาย และความอุ่นใจด้วยบริการตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ค้นหาตำแหน่งรถยนต์ ตรวจสอบตำแหน่งรถยนต์กรณีถูกโจรกรรม การแจ้งเตือนขณะจอดรถเมื่อเกิดความผิดปกติกับรถยนต์ การนัดหมายเพื่อนำรถเข้าบริการตามระยะ บริการ ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น ซึ่งจากที่กล่าวมาพบว่าเทเลเมติกส์มีความโดดเด่นในเรื่องของความปลอดภัย จึงทำให้ธุรกิจด้านอื่นอย่างธุรกิจประกันภัยนำเทเลเมติกส์เข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การบริการแก่ลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
   
Visitors: 631,256