ทำความรู้จักกับ 5 พลังงานทดแทนในประเทศไทยที่ใช้งานได้จริง

 
แหล่งที่มา : www.sanook.com/news วันที่โพสต์ :  3 ธ.ค. 2561
       
ทำความรู้จักกับ 5 พลังงานทดแทนในประเทศไทยที่ใช้งานได้จริง

มีการคาดการณ์กันว่าภายในปี 2050 จำนวนประชากรบนโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 9 พันล้านคน!

ผู้คนมากมายในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะกลายเป็นชนชั้นกลางของโลก ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะมีความต้องการในการเข้าถึงเครื่องอุปโภคต่างๆ อาทิ ตู้เย็น คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ รวมไปถึงเครื่องใช้อื่นๆ อีกมาก ที่ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าแทบทั้งหมด รวมถึงปริมาณรถยนต์ที่มีการคาดเดากันว่าจะเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลถึง 2 เท่าตัว

จากภาพรวมทั้งหมดจะเห็นได้ว่า “พลังงานไฟฟ้า” ยังคงเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของแต่ละประเทศให้เติบโต แต่ทางกลับกัน “พลังงานทดแทน” ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อประคับประคองให้พลังงานไฟฟ้ายังคงเติบโตและต่อยอดต่อไปได้

พลังงานทดแทนมีหลายประเภท หลายรูปแบบให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละภูมิประเทศ เช่น โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยเองก็ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งพลังงานใหม่ๆ อยู่เสมอ อาทิ การสำรวจพบแหล่ง ก๊าซธรรมชาติ ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ทางตอนใต้ของอ่าวไทย นอกชายฝั่งจังหวัดสงขลาออกไปประมาณ 200 กิโลเมตร รวมถึงการมองหาแหล่งพลังงานทดแทนที่เหมาะสมและสามารถนำมาใช้งานได้จริงอย่างต่อเนื่อง

และนี่คือ 5 พลังงานทดแทนในประเทศไทยที่ใช้งานได้จริง

พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานทดแทนที่ใช้โซลาร์เซลล์กักเก็บ

พลังงานแสงอาทิตย์

ถือเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีความสำคัญและเข้าถึงง่ายที่สุด โดยเฉพาะประเทศไทยที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ตลอดปี และเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญในการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าก็หาซื้อมาใช้ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งตามบ้านพักอาศัยส่วนตัว ไปจนถึงการสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าและจ่ายกระแสไฟให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์โดยทั่วกัน ซึ่งในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์มากขึ้น เนื่องจากต้นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์มีราคาลดลง

พลังงานจากชีวมวล

ชีวมวล 

เป็นการนำอินทรีย์สารจากซากพืชและมูลสัตว์ต่างๆ เช่น แกลบ ชานอ้อย กากปาล์ม ซังข้าวโพด เศษไม้ เศษหญ้า ฯลฯ มาใช้ผลิตพลังงาน ซึ่งเหมาะกับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม จึงมีวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรในจำนวนที่มากพอจะนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยในการก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลนั้นก็มีหลักการไม่ต่างจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทั่วไป แค่เปลี่ยนใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าหรือผลิตไอน้ำ ซึ่งอาจจะเป็นวัสดุชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมกัน เช่น โรงน้ำตาลใช้กากอ้อยที่ได้จากการหีบอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โรงสีขนาดใหญ่ที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า การใช้ก๊าซชีวภาพจากการหมักน้ำเสียหรือมูลสัตว์จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

พลังงานทดแทน จากน้ำโดยการกักเก็บน้ำในเขื่อน

พลังงานน้ำ

ซึ่งเราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว จากการนำพลังงานน้ำอันมหาศาลจากเขื่อนหลายแห่งทั่วประเทศมาหมุนไดนาโมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้ใช้กันในทุกครัวเรือน

 

พลังงานลม

เป็นพลังงานสะอาดที่ทั้งบริสุทธิ์และไม่มีวันหมดไปจากโลกเช่นเดียวกับแสงอาทิตย์ แค่ต้องหาทำเลดีๆ ที่มีลมพัดแรงอยู่เสมอจึงจะสามารถนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ทะเลอันดามัน ทะเลอ่าวไทย หรือแม้แต่หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ตาม

พลังงานทดแทนจากลม โดยการใช้กังหัน

พลังงานไฟฟ้าจากขยะ

ด้วยความที่ประเทศไทยผลิตขยะมากกว่า 100 ตันต่อวันทั่วประเทศ จึงต้องมีการคิดวิธีกำจัดขยะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งก็คือ การก่อตั้งโรงไฟฟ้าจากขยะขึ้น เพื่อจัดการแปรรูปขยะให้เป็นพลังงานที่เกิดประโยชน์แบบทวีคูณ

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยได้เริ่มหันมาใช้พลังงานทดแทนเหล่านี้เพิ่มขึ้น โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้จัดทำสถานการณ์พลังงานปี 2560 ว่ามีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และคาดการณ์ว่าภายในปี 2561 จะมีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.1 เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลลง


โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์

แต่ในทางปฏิบัตินั้นการจะหันมาใช้พลังงานทดแทนไม่ได้ขึ้นอยู่กับแหล่งพลังงานใหม่เพียงแหล่งเดียว แต่จะเป็นการทดแทนด้วยแหล่งพลังงานหลักกับพลังงานทางเลือกหลายแหล่งพร้อมๆ กัน เช่น ยังคงใช้พลังงานจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติหรือโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ แล้วเสริมด้วยโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงหรือภาวะฉุกเฉิน สมทบด้วยการใช้โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เป็นโรงไฟฟ้าเสริมระบบ เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้เอง ภาครัฐจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการอาศัยความร่วมมือจากองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานอย่าง กลุ่มบริษัทกัลฟ์ (GULF) มาช่วยในการบริหารจัดการ เพราะกลุ่มบริษัทกัลฟ์เป็นหนึ่งในผู้ผลิตพลังงานชั้นนำของประเทศไทย มีบทบาทในการผลิตไฟฟ้าและพลังงานทดแทนที่มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือทั้งในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต อีกทั้งกัลฟ์ยังเป็นบริษัท Holding ที่เข้าลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำเย็น และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นหนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าภาคเอกชนรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จึงเน้นลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าทุกขนาด และลงทุนในพลังงานหลากหลายรูปแบบ เช่น โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าชีวมวล ฯลฯ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าอนาคตของการใช้ พลังงานทดแทน ของประเทศไทยถูกวางรากฐานเอาไว้อย่างมั่นคง และจะมีการจัดสรรทรัพยากรพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการในอนาคตอย่างแน่นอน

Visitors: 631,129