ถอดบทเรียนการเรียนรู้แบบเชิงรุก-แม่หญิงการะเกด บุพเพสันนิวาส

 
แหล่งที่มา : FB/วิทยากรนอกกล่อง/Trainer Backpacker
วันที่โพสต์ :  19 มี.ค. 2561
       
 การเรียนรู็แบบเชิงรุก จากละครบุพเพสันนิวาส

::: ACTIVE LEARNING ? :::

คือ การเรียนรู้เชิงรุกแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ และได้ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะด้านต่างๆ ของผู้เรียน หรือผู้ฟัง


เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียน สำรวจ สืบค้นหาข้อมูล ลงมือปฏิบัติ คิด วางแผน ร่วมกับเพื่อนหรือสมาชิกในทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือจุดประสงค์การเรียน หรืออบรมพัฒนา ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จะทำให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิด สามารถแก้ไขปัญหา หรือออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานได้สอดคล้องตามจุดประสงค์การเรียนรู้


::: พฤติกรรมการเรียนรู้ของแม่หญิงการะเกด แบบเชิงรุก ขี้สงสัย กล้าถาม กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าลงมือทำจริง และกล้าแสดงความรู้สึก :::

• เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปแบบมากโข จากหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่ว่าจะการอาบน้ำตามท่า การไปเข้า “เว็จ” การเดินทางด้วยเรือ และต้องเรียนรู้ที่จะอดทนต่อการใช้ชีวิตที่ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต เกศสุรางค์ไม่แสดงอาการโหยหา Wifi เลย เก่งมาก

• เรียนรู้ที่จะแต่งกายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ และการใช้ชีวิตของแม่หญิงสมัยก่อน

• ต้องเรียนรู้ที่จะเข้าครัวทำอาหารโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาให้เป็น บวกกับต้องร้อยพวงมาลัยให้สวยงามตามแบบประเพณีสมัย อีกทั้งยังต้องพับดอกบัวอีก แถมเย็บปักถักร้อยเสื้อผ้าก็ต้องได้นะออเจ้า (นี่ถ้าไม่ติดว่ามีบ่าวอยู่คงให้ล้างจาน ถูเรือนด้วยกระมัง)

• ไหนจะต้องเรียนรู้จักการใช้ภาษา ทั้งจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ ชื่อยศถาบรรดาศักดิ์ให้ได้ และต้องเรียนรู้จักเรียบเรียงประโยคคำพูดให้ถูกต้องเหมาะกับสถานการณ์ต่างๆ

• ต้องเรียนรู้จักการปรับตัวเข้าหาผู้คนที่มีการแบ่งแยกชนชั้นกันชัดเจน ต้องวางตัวให้เหมาะสม

• เรียนรู้ที่จะดึงประสบการณ์หลายๆ อย่างที่เคยมีมาจากยุคปัจจุบันไปประยุกต์ ปรับใช้ และถ่ายทอดให้คนยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เห็น ได้ทึ่งอิึ้งว๊าว ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสสิ่งมหัศจรรย์แปลกประหลาด ถึงแม้หลายคนจะกล่าวหาออเจ้าว่าวิปลาสก็เถอะ และถือเป็นการคืนกำไรความสุขให้กับครอบครัวออกญาฯ หรรษา ก็ว่าแซ๊บ เจ๋ง โอเคมาหลายตอนคอนเฟิร์ม


::: องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบเชิงรุก ( Active Learning) :::
__________________________________
• Learning by Doing 
(การเรียนรู้จากการลงมือทำ)

-1- มีความคิดวางแผนด้ด้วยตัวเอ
-2- ลงมือทำด้วยตัวเอง หรือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ เพื่อให้โปรเจคนั้นสำเร็จ
-3- มีความสร้างสรรค์เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ

__________________________________
• Inquiry-Based Learning 
(การเรียนรู้จากการสำรวจ สืบสอบหรือการค้นหา)

-1- ถามด้วยคำถามที่สำคัญ
-2- สำรวจตรวจสอบ รวบรวมข้อมูล
-3- วิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญห
-4- สื่อสารหรือส่งต่อสิ่งที่ค้นพบ
-5- คิดสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู

*ที่มา : Eric Jensen 2000
__________________________________
• Cooperative Learning 
(การเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันเป็นทีม การมีส่วนร่วม ได้แชร์ไอเดียร่วมกันกับเพื่อนร่วมทีม)

__________________________________
• Thinking-Based Learning 
(เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์)

ใช้วิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียน คิดเป็นลำดับขั้นแล้วขยายความคิดต่อเนื่องจากความคิดออกมาเป็นแผนหรือลำดับเวลาเพื่อพิจารณาแยกแยะอย่างรอบด้าน ด้วยให้เหตุผลและเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่มี จนสามารถสร้างสิ่งใหม่หรือตัดสินประเมินหาข้อสรุปแล้วนำไปแก้ปัญหาอย่างมีหลักการ
::: ACTIVE LEARNING การเรียนรู้แบบลงมือทำ (ปฏิบัติ) :::

กระบวนการเรียนรู้ Active Learning ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ Passive Learning เพราะกระบวนการเรียนรู้ Active Learning สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและจำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ผู้สอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจำในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า ระยะยาวกว่า

จากรูปจะเห็นได้ว่า กรวยหรือพีระมิดแห่งการเรียนรู้นี้ได้แบ่งเป็น 2 กระบวนการ คือ

#[1] กระบวนการเรียนรู้ Passive Learning  (กระบวนการเรียนรู้แบบตั้งรับ)

• กระบวนการเรียนรู้โดยการอ่านท่องจำผู้เรียนจะจำได้ในสิ่งที่เรียนได้เพียง 10%

• การเรียนรู้โดยการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียวโดยที่ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมอื่นในขณะที่อาจารย์สอนเมื่อเวลาผ่านไปผู้เรียนจะจำได้เพียง 20%

• หากในการเรียนการสอนผู้เรียนมีโอกาสได้เห็นภาพประกอบด้วย เช่น การให้ดูภาพยนตร์ การสาธิต ทดลอง จัดนิทรรศการให้ผู้เรียนได้ดู รวมทั้งการนำผู้เรียนไปทัศนศึกษา หรือดูงาน ก็จะทำให้ผลการเรียนรู้คงอยู่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30%

#[2] กระบวนการเรียนรู้ Active Learning (กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก)

• กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น โดยให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ก็ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เป็น 50%

• การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถด้วยการลงมือปฏิบัติ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 75%

• การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติ ในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ ต่างๆ สอนและถ่ายทอดต่อผู้อื่นรวมถึงมีการถามตอบแลกเปลี่ยนมประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%

Cr.ที่มาของพีระมิดการเรียนรู้
The National Training Laboratories in Betel, Maine
::: ลักษณะของ Active Learning :::

• เป็นการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้

• เป็นการเรียนรู้ร่วมกันที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

• ผู้เรียน ผู้ฟัง สร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (ต่อยอดได้ เข้าใจ ใช้งานเป็น)

• ผู้ฟังหรือผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการสร้างความเข้าใจโดยการถาม-ตอบร่วมกันเพื่อไขข้อสงสัย มีการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน

• เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

• เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิด

• เป็นกิจกรรมเน้นทักษะการคิดขั้นสูง หรือเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรม

• เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, และหลักการ สู่การสร้างความคิดรวบยอด

• เป็นผู้สอนที่คอยอํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

• ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้ฟังเอ
::: การเรียนรู้จะสนุกมากขึ้นถ้าเราเปิดใจ เปิดตา เปิดหู :::

• ต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าชอบวิธีการเรียนรู้ด้วยวิธีไหนเป็นพิเศษ และใช้วิธีนั้นเรียนรู้พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น เช่น บางคนชอบเรียนรู้ด้วยตัวเอง บางคนชอบฟังคนอื่นอธิบายเพิ่มเติม บางคนชอบฟัง บางคนชอบอ่านแล้วย่อยสาระเอง บางคนชอบดูวีดิโอ บางคนชอบเรียนรู้ด้วยการลองปฏิบัติ ทดลอง ทดสอบ ค้นหาและสรุปประเด็นตามที่ตัวเองคิดเข้าใจและนำไปปรับใช้ได้จริง เป็นต้น

• มีความคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ และเป็นคนคิดบวก กล้าแสดงความเห็นของตัวเองออกไปด้วย เพราะถ้าเรารับฟังผู้อื่นเพียงอย่างเดียว เราอาจจะได้รับเนื้อหาสาระด้านเดียว

• รักในสิ่งที่ทำ รักในสิ่งที่ต้องเรียนรู้ หรือรับผิดชอบตัวเอง รู้จักบทบาทของตัวเองว่าควรทำอะไร เมื่อถึงเวลาทำงานก็ต้องทำงานอย่างสุดฝีมือความสามารถ หรือเมื่อถึงเวลาเล่นก็เล่นให้สุดเหวี่ยง และพอถึงเวลาเรียนรู้พัฒนาตัวเองก็ต้องทำให้เต็มที่เช่นกัน

• ค้นหาแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือหาไอดอล คนที่เราอยากเจริญรอยตาม (แต่ต้องเป็นเส้นทางของเราเอง) เพื่อปลุกพลักยักษ์ ที่อาจจะหลับไหลให้ตื่นฟื้นขึ้นมาให้มีแรงพลักดันให้ทำสิ่งที่อยากทำ หรือสิ่งที่ต้องทำให้ประสบความสำเร็จได้

• ปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ให้ได้ ถึงแม้จะไม่ใช่ทั้งหมดแต่ก็ต้องรู้จักกาลเทศะว่าเวลาไหนควรทำอะไร เหตุการณ์ไหนควรวางตัวอย่างไร หรือต้องเข้าหาใคร ทำงานร่วมกันผู้อื่นให้ได้
   
Visitors: 634,584