คาร์บอนฟุตพริ้นท์
Carbon Footprint (CF) คืออะไร
Credit : www.mtec.or.th
Carbon Footprint(CF: รอยเท้าคาร์บอน) หรือที่บางท่านเรียกว่า carbon profile (ข้อมูลรวมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซเรือนกระจก อื่นๆ อาทิ ก๊าซมีเทน ก๊าซหัวเราะ เป็นต้น ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ (ตามข้อกำหนด ISO 14040) ตลอดวัฏจักรชีวิต ทั้งนี้ แหล่งกำเนิดของก๊าซดังกล่าวมาจากกิจกรรมต่างๆ อาทิ การใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล กระบวนการในภาคอุตสาหกรรม กสิกรรม เป็นต้น | ||
![]() |
||
รอยเท้าคาร์บอน เป็น"การวัด"ผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเชิงปริมาณ โดยใช้ตัวบ่งชี้ โอกาสในการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential, GWP) ทั้งนี้องค์กร Intergovernmental Panel on Climate Change; IPCC ได้กำหนดค่า GWP ของก๊าซต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในระยะเวลาที่กำหนด อาทิ 20, 100, 500 ปี ทั้งนี้ โดยทั่วไปจะใช้ค่า GWP ของก๊าซเรือนกระจก ที่ระยะเวลา 100 ปี ดังแสดงในตารางด้านล่าง |
||
Species |
Chemical formula |
GWP100 |
Carbon dioxide | CO2 | 1 |
Methane | CH4 | 21 |
Nitrous oxide | N2O | 310 |
Hydrofluorocarbon | HFCs | 140 – 11,700 |
Sulphur hexafluoride | SF6 | 23,900 |
Perfluorocarbon
|
PFCs
|
6,500 – 9,200
|
การตรวจวัด รอยเท้าคาร์บอน ทำได้อย่างไร ????? สามารถคำนวณ / วัดโดยใช้หลักการการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) ซึ่งเป็นหลักการตามมาตรฐานสกล ISO 14040, 14044 ที่ใช้สำหรับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิต โดยรอยเท้าคาร์บอน จัดเป็นหัวข้อหนึ่งของหลักการการประเมินวัฎจักรชีวิต |
||
ข้อควรระวัง!!!! รอยเท้าคาร์บอนเป็นการวัดโดยให้ความสนใจในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องต้องระวังในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล เนื่องจากอาจเกิด Burden shift หรือการโอนย้ายผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นผลให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอื่นสูงขึ้นเพื่อชดเชยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
||
เอกสารอ้างอิง : Carbon Footprint – what it is and how to measure it, European Platform on LCA, IES, JRC รอยเท้าคาร์บอน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี |
||