หมวดตัวอักษร I-Q

 

คำศัพท์

สิ่งแวดล้อม (Eng)

คำศัพท์

สิ่งแวดล้อม (Thai)

ความหมาย
Industrial wastewater น้ำเสียอุตสาหกรรม น้ำเสียอุตสาหกรรม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Ignitable waste ขยะมูลฝอยโรงงานอุตสาหกรรม

 

 

Industrial waste มูลฝอยติดเชื้อ ขยะมูลฝอยโรงงานอุตสาหกรรม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Isometric system ระบบสามแกน มีแกน 3 แกนยาวเท่ากัน และตัดกันเป็นมุมฉาก

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Infiltration การแทรกซึม การที่ของเหลวแทรกตัวเข้าไปอยู่ในของแข็ง เนื่องจากเนื้อในของของแข็งมีช่องว่างหรือรูพรุน ตัวอย่างเช่น การที่น้ำเข้าไปอิ่มตัวอยู่ได้ ในกระดาษซับหรือในดินในหินบางชนิด

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Intercepting Sewer ท่อระบายดัก, ท่อดักระบาย ท่อระบายขนาดใหญ่ที่รับน้ำเสียและน้ำฝนใน ปริมาณที่กำหนด เพื่อ นำไปบำบัดหรือระบายทิ้ง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Igneous Rock หินอัคนี หินที่เกิดจากการเย็นตัวและการตกผลึกของแมกมา (magma) ซึ่งเป็นสารซิลิเกตหลอมเหลว (molten silicate material) และอยู่ใต้เปลือกโลก ถ้าแมกมาขึ้นมาถึงผิวโลก เราเรียกว่า ลาวา (lava)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Improvement Cutting การตัดไม้บำรุงป่า การตัดฟันที่กระทำกับหมู่ไม้ที่ผ่านพ้นวัยลูก ไม้ ไปแล้ว เพื่อปรับปรุงองค์ประกอบและคุณภาพ ของหมู่ไม้นั้นโดยการกำจัดต้นไม้ที่เป็นชนิด รูปร่างหรือลักษณะที่ไม่ต้องการออกไป พืชพรรณที่ถูกตัดออกไปนี้ได้แก่ ชนิดไม้ที่ไร้ค่า ต้นไม้ที่คดงอ ล้มเอียง แตกง่าม กิ่งก้านสาขามาก หรือต้นไม้ที่รูปทรงไม่ดี ต้นไม้ที่มีอายุมากเกินไป และต้นไม้ที่ได้รับอันตรายอย่างร้ายแรงจากตัวการภายนอก การกำจัดไม้พวกนี้ออกไปเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของไม้ที่ต้องการให้ดี ขึ้นด้วย มักทำควบคู่ไปกับการตัดสางขยายระยะหรือการตัดฟันเพื่อการสืบพันธุ์ แต่การตัดไม้บำรุงป่านี้ไม่จำเป็นที่จะต้องกระทำตลอดรอบตัดฟันของป่าเหมือน อย่างการตัดสางขยายระยะ และการคัดเลือกไม้ที่จะกำจัดออกไปก็ทำได้ง่ายกว่าด้วย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Litter ขยะใบไม้ เศษขยะจากพืช เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ซึ่งร่วงหล่น บนพื้นดิน แต่ยังไม่ย่อยสลาย หรือสลายเพียงเล็กน้อย 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Litter Screen ตะแกรงดักขยะ ตะแกรงที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ใช้ในบริเวณพื้นที่ฝังกลบเพื่อแยกเศษขยะออกมา เพื่อป้องกันการปลิวออกจากพื้นที่ฝังกลบอันทำให้ ไม่น่าดูและสกปรก

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Low waste Technology เทคโนโลยีของเสียน้อย เทคโนโลยีของการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกิดของเสีย จำนวนน้อย โดยไม่ใช่เป็นการนำของเสียกลับมาใช้อีก

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Life-cycle-Assessment (LCA) การประเมินวัฏจักรชีวิต กระบวนการวิเคราะห์และประเมินค่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การสกัดหรือการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งและการแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ การใช้ใหม่ / แปรรูป และการจัดการเศษซากของผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Landslide แผ่นดินถล่ม แผ่นดินถล่ม เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติของการสึกกร่อนชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริเวณพื้นที่ที่เป็นเนินสูงหรือภูเขาที่มีความลาดชันมาก การขาดความสมดุลย์ในการทรงตัวบริเวณดังกล่าวทำให้เกิดการปรับตัวของพื้นดินต่อแรงดึงดูดของโลก และเกิดการเคลื่อนตัวขององค์ประกอบธรณีวิทยาบริเวณนั้นจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Landform ธรณีสัณฐาน แบบรูป หรือลักษณะของเปลือกโลก ที่มีรูปพรรณสัณฐานต่างๆ กัน เช่น เป็นภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบ และอื่นๆ การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศเรียกว่า ธรณีสัณฐานวิทยาส่วนผู้ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาธรณีสัณฐาน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เรียกว่า นักธรณีวิทยา

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Land ที่ดิน ที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างมาก เพราะที่ดินเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการดำเนินชีวิตของสังคมเราที่ขาดเสียไม่ได้เป็นรากฐานของบ้านเรื่อนที่อยู่อาศัยของชาวบ้านประชาชนโดยทั่วไป ไม่ว่าจะอยู่ในเขตต่างจังหวัด หรือในเขตมหานคร และ ที่ดินยังเป็นฐานในการผลิตปัจจัยสำคัญในเรื่องของอาหารให้กับคนเราอีกด้วย ดังนั้นที่ดินจึงมีความ สำคัญ และได้กลายไปเป็นทรัพย์สินที่มีค่าสำหรับประชาชน 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Loam ดินร่วน ดินที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของอนุภาค ตั้งแต่ 0.002 - 0.05 มม. ดินชนิดนี้จะมีช่องว่างระหว่างเม็ดดินมาก ทำให้น้ำซึมได้สะดวก แต่การอุ้มน้ำน้อยกว่าดินเหนียว 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Loamy sands ดินทรายป่นดินร่วน เป็นดินที่ประกอบไปด้วยปริมาณ ทราย 70 - 90เปอร์เซ็นต์ และปริมาณทรายแป้ง 0 – 30 เปอร์เซ็นต์และปริมาณ ดินเหนียว 0 – 15 เปอร์เซ็นต์

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Lake ทะเลสาบ พื้นน้ำที่ล้อมรอบด้วยแนวดิน มักเกิดในบริเวณแอ่งแผ่นดินหรือบริเวณที่มีน้ำขังมีทางไหลออกสู่ทะเลโดยทาง แม่น้ำ ส่วนใหญ่จึงเป็นทะเลสาบน้ำจืดมากกว่าทะเลสาบน้ำเค็ม และมีขนาดและความลึกต่าง ๆ กัน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Limnetic Zone เขตผิวน้ำ บริเวณผิวหน้าน้ำตอนบนจนถึงระดับลึกที่แสงสามารถส่องลงไปถึง ซึ่งที่ระดับนี้อัตราการสังเคราะห์แสงเท่ากับอัตราการหายใจสิ่งมีชีวิตที่พบมากในเขตนี้ ได้แก่ แพลงค์ตอนพืช และไดอะตอม แพลงค์ตอนสัตว์ต่างๆ และสัตร์พวกที่อยู่บนผิวน้ำ และพวกที่ว่ายน้ำเป็นอิสระ เช่น ปลา เป็นต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Limnophytes พรรณไม้น้ำขนาดใหญ่ พรรณไม้น้ำขนาดใหญ่ ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และขึ้นใน บริเวณแหล่งน้ำจืด สามารถจัดแบ่งประเภทตามลักษณะที่อยู่เป็น 4 ประเภท คือ Floating plants, Submerged plants, Emerged plants และ Marginal plants ดู Floating plants, Submerged plants, Emerged plants และ Marginal Plant 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Land Restoration การคืนสภาพพื้นดิน การคืนสภาพพื้นที่ให้เหมือนเดิมหรือเกือบ เหมือนเดิม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Land Reclamation การปรับปรุงบำรุงที่ดิน การถม หรือปรับปรุงพื้นที่ไร้ประโยชน์เพื่อใช้งาน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Mitigation การลดผลกระทบ ความพยายามลดสิ่งที่จะกระตุ้นและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การประหยัดการใช้พลังงาน การปลูกต้นไม้ดูแลรักษาป่า การปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีที่สะอาด เป็นต้น 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Municipal solid waste ขยะมูลฝอยชุมชน ขยะมูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆในชุมชนเช่น บ้านพักอาศัยธุรกิจการค้า สถานประกอบการ สถานบริการ ตลาดสด สถาบันต่างๆ รวมทั้งเศษวัสดุก่อสร้างโดยไม่รวมของเสียอันตรายและมูลฝอยติดเชื้อ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Marine Deposit ตะกอนทับถมทะเล

การตกทับถมตะกอนในทะเลมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของการตกตะกอน ตั้งแต่แอ่งน้ำกร่อยที่อยู่ชายฝั่ง ถึงบริเวณเคลื่อนหัวแตกลงสู่บริเวณใต้ท้องน้ำของไหล่ทวีป และถึงที่ลึกของมหาสมุทร ซึ่งกระแสน้ำขุ่น (Turbidity current) ที่ไหลลงสู่ทะเลสามารถนำพาตะกอนบนแผ่นดินลงสู่ก้นมหาสมุทรได้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Mandatory Recycling การบังคับนำกลับมาใช้ โครงการซึ่งอาจออกเป็นกฏหมายบังคับให้มีการแยก ของที่สามารถนำกลับมาใช้อีก ออกจากขยะก่อนที่จะนำไปเผาหรือทำการฝังกลบ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Mechanically Volume Reduction การลดปริมาณขยะด้วยอุปกรณ์เชิงกล การลดปริมาณขยะด้วยอุปกรณ์เชิงกล เพื่อทำให้ปริมาตรของขยะลดลง เช่น ใช้เครื่องบีบอัด

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Mixed Refuse ขยะผสม ขยะที่มีหลากหลายชนิดปะปนกันอยู่ตั้งแต่จุด เกิดขยะ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Municipal Solid waste ขยะเทศบาล ขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆในชุมชน 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Medic Hazardous ของเสียเสี่ยงอันตราย(ทาง)การแพทย์ 

ของเสียจากกิจการทางการแพทย์ที่เป็นสารเสี่ยง อันตราย เช่น ถุงมือเปื้อนเลือด สำลีเช็ดเมือก ฯลฯ มักจะบรรจุในถุงแดง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Medical waste ของเสียทางการแพทย์ ของเสียทุกชนิดที่เกิดจากกิจกรรมทางการแพทย์ อาจเป็นสารเสี่ยง อันตรายหรือไม่เป็นก็ได้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Metane มีเทน มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Magmatic Deposits หินหนืด เป็นสารเหลวร้อนเกิดตามธรรมชาติอยู่ภายในโลกสามารถเคลื่อนตัวไปมาได้ในวงจำกัด อาจมีของแข็ง เช่น ผลึกและเศษหินแข็ง และ/หรือแก๊สรวมอยู่ด้วยหรือไม่มีเลยก็ได้ เมื่อแทรกดันขึ้นมาหรือพุ่งขึ้นมาอยู่ภายใต้เปลือกโลกหรือพ้นเปลือกโลกออกมาอยู่บนผิวโลกจะแข็งตัวกลายเป็นหินที่เรียกว่า หินอัคนี

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Metamorphic Rock หินแปร หินที่แปรสภาพไปจากโดยการกระทำของความร้อน แรงดัน และปฏิกิริยาเคมี หินแปรบางชนิดยังแสดงเค้าเดิม บางชนิดผิดไปจากเดิมมากจนต้องอาศัยดูรายละเอียดของเนื้อใน หรือสภาพสิ่งแวดล้อมจึงจะทราบที่มา อย่างไรก็ตามหินแปรชนิดหนึ่งๆ จะมีองค์ประกอบเดียวกันกับหินต้นกำเนิด แต่อาจจะมีการตกผลึกของแร่ใหม่ เช่น หินชนวนแปรมาจากหินดินดาน หินอ่อนแปรมาจากหินปูน เป็นต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Mangrove forest ป่าชายเลน ระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หลายชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงพบป่าชายเลนปรากฏอยู่ทั่วไปตามบริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ ทะเลสาบ และ รอบเกาะแก่งต่างๆ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล พันธุ์ไม้ที่มีมากและมีบทบาทสำคัญที่สุดในป่าชายเลน คือ ไม้โกงกาง ป่าชายเลนจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ป่าโกงกาง 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Marine Ecosystem ระบบนิเวศทะเล

ระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเล และในท้องทะเล ได้แก่ เกาะ สันดอนและสันทรายชายฝั่ง หาดปะการัง ปะการังใต้น้ำ ในประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศทางทะเลอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งทางด้าน อ่าวไทยและทางด้านทะเลอันดามัน เป็นตัวอย่างของระบบนิเวศทางทะเลในเขตภูมิอากาศร้อน ซึ่งยังคงมีความอุดมสมบูรณ์และ ความงดงามตามธรรมชาติอยู่มาก เป็นที่รู้จักและชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั่วโลก 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Meroplankton แพลงก์ตอนชั่วคราว สิ่งมีชีวิตที่บางช่วงระยะของชีวิต ตรงกับนิยามของแพลงค์ตอน เช่น ลูกปลา ลูกกุ้ง ที่ตัวเล็กๆๆ ยังไม่มีระยางค์ในการเคลื่อนที่และปล่อยให้ตัวเองลองไปไปตามแกระแสน้ำ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Maximum Temperature อุณหภูมิสูงสุด ค่าอุณหภูมิสูงสุดที่จุลินทรีย์ยังสามารถเจริญและดำเนินกิจกรรมทางด้านเมตาบอลิซึมต่อไปได้ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นกว่านี้อีกเล็กน้อยแล้วการเจริญเติบโตจะหยุดลงและถ้ายังคงสูงขึ้นอีกถึงจุดหนึ่ง Enzyme และ Nucleic acid จะถูกทำให้สูญเสียกิจกรรมหรือเรียกว่า Inactivation อย่าง
ถาวร และในที่สุดจุลินทรีย์จะตาย ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปที่นำไปใช้ในการทำลายจุลินทรีย์ด้วยความร้อน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Minimum Temperature อุณหภูมิต่ำสุด ค่าอุณหภูมิต่ำสุดที่จุลินทรีย์ยังสามารถเจริญเติบโตและดำเนินกิจกรรมทางด้านเมตาบอลิซึมต่อไปได้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Nekton สิ่งมีชีวิตที่ว่ายน้ำเป็นอิสระ สัตว์น้ำที่สามารถว่ายน้ำด้วยกำลังของตนเองตาม หรือทวนกระแสน้ำได้ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังในทะเล ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พวกโลมา ปลาวาฬ สัตว์เลื้อยคลาน พวกงู และเต่าทะเล และสัตว์ในทะเล ส่วนใหญ่ คือ ปลา นอกจากนี้ หมึกซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังทีสามารถว่ายน้ำก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ด้วย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Night soil สิ่งปฏิกูล อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Neritic Zone เขตน้ำตื้นเหนือบริเวณไหล่ทวีป ส่วนที่เป็นน้ำในระบบนิเวศทะเล ซึ่งเป็นเขตน้ำตื้นเหนือบริเวณไหล่ทวีป (continental shelf) เป็นบริเวณส่วนที่ตื้นจากริมชายฝั่งจนถึงบริเวณ ที่มีความลึก 200 เมตร (650 ฟุต) บริเวณนี้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่จะเป็น พวกที่ว่ายไปมาได้ (Nekton) เช่น ปลาฉลาม ปลาทูน่า สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ปะการัง ดาวหนาม นอกจากนี้ยังมีแพลงก์ตอนพืชอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งยังแบ่งออกเป็น Supratidal, Intertidal และ Subtidal

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Neuston สิ่งมีชีวิตที่ลอยตัวที่ผิวน้ำ สิ่งมีชีวิตที่พัก หรือลอยตัวบนผิวหน้าน้ำในระบบนิเวศน้ำจืด เช่น แมลงจิงโจ้น้ำ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Organic Agriculture  เกษตรอินทรีย์  การทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษจากการปนเปื้นของสารเคมีทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดมสมบูรณ์ของดินความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตสูงอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษโดยมีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจพอเพียง แก่มวลมนุษยชาติ และสรรพชีวิต

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Organic Deposit  ตะกอนอินทรีย์ทับถม  ตะกอนจากซากพืชและสัตว์ที่ทับถมอยู่ใต้ท้องน้ำ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Outfall  จุดระบายน้ำทิ้ง  จุดตำแหน่ง หรือสถานที่ ซึ่งน้ำเสียหรือน้ำที่จะระบายทิ้งถูกปล่อยออกมาจากท่อระบาย ท่อน้ำ หรือรางน้ำอื่นๆ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Open coasts  บริเวณชายฝั่งทะเล  บริเวณซึ่งไม่ได้รับอิทธิพลของน้ำจืดและระบบ นิเวศทะเลสาบน้ำเค็ม เช่นเดียวกับบริเวณปากแม่น้ำ ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลประกอบด้วย พื้นที่ชุ่มน้ำหลายประเภทรวมทั้งหาดโคลน (mud flat) และป่าชายเลน แม้ว่าพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งสองนี้จะมีพัฒนาการสูงกว่าในบริเวณปากแม่น้ำ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Oceanic Zone  น้ำในระบบนิเวศทะเลนับตั้งแต่ไหล่ทวีปออกไป  บริเวณที่มีความลึกมากกว่า 200 เมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของมหาสมุทร และพื้นที่ประมาณร้อยละ 88 มีความลึกมากกว่า 1.5 กิโลเมตร สามารถ แบ่งเป็น Bathyal zone, Euphotic zone, Abyssal zone และ Hadal zone ดู Bathyal zone, Euphotic zone, Abyssal zone และ Hadal zone 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Oceanic Island  เกาะกลางมหาสมุทร  เกาะที่ตั้งห่างจากทวีปมากๆ และโดยทั่วไปจะอยู่ในมหาสมุทร เกาะประเภทนี้ จะถือกำเนิดตามลำพังไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผืนแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ เกาะภูเขาไฟ (Volcanic Island) และเกาะปะการัง (Coral Island) 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Processing  การแปรสภาพ  การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะหรือองค์ประกอบทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของขยะมูลฝอยเพื่อให้มีความสะดวกและความปลอดภัยในการขนส่ง การนำกลับไปใช้ประโยชน์ การเก็บรวบรวม การกำจัดหรือการลดปริมาตร

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Pollutant  สารที่ก่อให้เกิดมลพิษ  สภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือปนเปื้อน โดยมลพิษ ซึ่งทำให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษในดิน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 POPs  สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน  สารกลุ่มนี้เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง มีอยู่ 12 ชนิด คือ ดีดีที คลอเดน อัลดริน เดลดริน เอ็ดดริน มิเร็กซ์ ท็อกฟิน เฮปตาคลอร์ เฮกซาคลอกโรเบนซีน พีซีบี ไดออกสิน ฟิวราน ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากยุครุ่งเรืองของอุตสาหกรรมเคมีและเกษตรเคมี

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Pollutant Release and Transfer Registers(PRTR)  ทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ  ระบบฐานข้อมูล เกี่ยวกับชนิดและปริมาณมลพิษ ซึ่งมิใช่ความเข้มข้นของสารที่มีการปลดปล่อยจากแหล่งกำเนิด เช่น โรงงานอุตสาหกรรม สู่ สิ่งแวดล้อม ทั้งอากศ ดิน และน้ำ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการขนย้ายน้ำเสียและของเสียออกนอกสถานประกอบการเพื่อบำบัดหรือกำจัด ซึ่งเผยแพร่สู่สาธารณชนผ่านทางอินเตอร์เน็ต

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Population  กลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิด  กลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในที่เดียวกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Pollution  ภาวะมลพิษ  การมีสารในสิ่งแวดล้อมที่มีคุณสมบัติทางเคมี หรือในปริมาณที่ป้องกันการทำหน้าที่โดยธรรมชาติและทำให้สิ่งแวดล้อมไม่เป็นที่พึงปรารถนาและมีผลกระทบต่อสุขภาพ ภายใต้กฎหมายน้ำสะอาดตัวอย่างคือ ในความหมายที่เป็นมนุษย์เป็นผู้ทำหรือนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ชีวภาพ เคมี และกัมมันตรังสีในน้ำหรือตัวกลางอื่นๆ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Pollutant water  มลพิษทางน้ำ  น้ำที่มีสิ่งเจือปนอยู่มากเกินขีดจำกัด หรือมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากธรรมชาติ ทำให้เกิดความเสียหายต่อการใช้ประโยนช์ ทั้งการอุปโภคและบริโภค จนทำให้มนุษย์ สัตว์ พืช ได้รับอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Pollution Index  ดัชนีมลพิษ  เกณฑ์ซึ่งใช้วัดระดับภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Process waste  ของเสียจากกระบวนการผลิต  ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของเสียล้างในกระบวนการผลิตต่างๆ ซึ่งมีสมบัติแตกต่างกันตามประเภทของอุตสาหกรรรม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Public Sewer  ท่อระบายน้ำสาธารณะ  ท่อระบายน้ำซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลของหน่วย งาน ภาครัฐบาล หรือเป็นสาธารณูปโภค 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Pathogen  เชื้อโรค  จุลินทีย์ขนาดเล็กทีก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น เชื้อโรคมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป หากร่างกายอ่อนแอ หรือไม่มีการรักษาสุขอนามัยส่วนตัวที่ดี ก็จะติดเชื้อได้ง่าย การรักษาสุขอนามัยทำได้ง่ายๆ เช่น ขยันล้างมือบ่อยๆ หรือใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Pesticides   สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช  สารที่มีจุดมุ่งหมายใช้เพื่อป้องกัน ทำลาย ดึงดูด ขับไล่ หรือควบคุมศัตรูพืชและสัตว์ หรือพืชและสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระหว่างการเพาะปลูก การเก็บรักษา การขนส่ง การจำหน่าย หรือระหว่างกระบวนการผลิตสินค้า อาหาร หรืออาหารสัตว์ หรือเป็นสารที่อาจใช้กับสัตว์เพื่อควบคุมปรสิตภายนอก (ectoparasites) และให้หมายความรวมถึง สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช สารทำให้ใบร่วง สารทำให้ผลร่วง สารยับยั้งการแตกยอดอ่อน และสารที่ใช้กับพืชผลก่อนหรือหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันการเสื่อมเสียระหว่างการเก็บรักษาและการขนส่ง แต่ไม่รวมถึงปุ๋ย สารอาหารของพืชและสัตว์ วัตถุเจือปนอาหาร วัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ (feed additive) และยาสำหรับสัตว์

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Plastic Recycling  พลาสติกที่กลับมาใช้  พลาสติกที่ถูกใช้แล้วและมีการนำกลับมาใช้อีก โดยอาจนำมาใช้ได้ โดยตรงหรือนำมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นรูปอื่น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Plastic Sorting  การคัดแยกพลาสติก  การคัดแยกพลาสติกออกตามลักษณะต่าง ๆ เช่น แยกตามสีหรือ ประเภทพลาสติก ฯลฯ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Point Source  แหล่งทิ้งเป็นจุด, ต้นกำเนิดเป็นจุด  แหล่งปล่อยน้ำเสียที่มีการรวบรวมก่อนระบายออก เช่น จากท่อ รางระบาย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Parent Material  วัตถุต้นกำเนิด  หินและแร่ที่ผ่านการสลายตัวแล้วพัฒนาต่อเป็นดิน อิทธิพลของวัตถุต้นกำเนิดดินที่มีต่อกระบวนการเกิดดิน มักเกี่ยวข้องกับลักษณะของเนื้อดิน (soil texture) สมบัติทางเคมี (soil chemistry) และการหมุนเวียนของธาตุอาหารต่างๆ (nutrient cycling) 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Pedology  ปฐพีวิทยา  ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Percolation  การไหลซึมผ่าน  การที่ของเหลวแทรกตัวเข้าไปในของแข็ง ที่มีช่องว่างหรือรูพรุนแล้วไหลซึมผ่านออกอีกทางด้านหนึ่ง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Permeability  ความสามารถให้น้ำซึมผ่าน  คุณสมบัติของดินหรือหินที่ยอมให้น้ำผ่านได้ เมื่ออิ่มตัว

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา
 Profile ,soil  หน้าตัดของหน้าดิน  ผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในดินทำให้เกิดลักษณะต่างๆ ปรากฏอยู่ตั้งแต่ผิวดินลงไปถึงชั้นวัตถุต้นกำเนิดดิน ตังนั้นหน้าตัดดินจึงเป็นลักษณะทั่วไปของดินในด้าน ปริมาณ การสะสม การสูญเสีย การแปรสภาพ และการเคลื่อนย้าย เป็นต้น ส่วนของหน้าตัดดิน คือส่วนในแนวดิ่งตลอดชั้นดินทั้งหมด นับตั้งแต่ผิวพื้นบนสุดที่แตะกับส่วนที่เป็นอากาศ หรือในบางกรณีอาจจะเป็นส่วนของน้ำที่ไม่ลึกมากนักและไม่ถาวร จนถึงส่วนล่างสุดซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักเป็นส่วนที่พืชยืนต้นประจำถิ่นไม่สามารถหยั่งรากส่วนใหญ่ลงไปได้ หรือส่วนที่เป็นชั้นหินแข็ง ในหน้าตัดของดินนี้อาจแบ่งเป็นชั้นดินต่าง ๆ ออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน แทนด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่ ได้แก่ O , A , B , C และ R

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Petroleum  ปิโตรเลียม

 สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีธาตุเป็นองค์ประกอบหลัก คือ คาร์บอน และไฮโดรเจน โดยอาจมีธาตุอื่น เช่น กํามะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ปนอยู่ด้วย ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียมเอง พลังงานความร้อน และความกดดันตามสภาพแวดล้อมที่ปิโตรเลียมสะสมตัวอยู่ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Plutonic Rock  หินอัคนีระดับลึก

 หินอัคนีแทรกซ้อนนั้นหากแข็งตัวอยู่ในระดับลึกมาก

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Plankton  แพลงก์ตอน

 สิ่งมีชีวิตที่ล่องลอยอยู่ในน้ำสุดแต่คลื่นและกระแสน้ำจะพาไป แพลงค์ตอนจึงต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ตรงความประพฤติเช่นนี้ของมัน แพลงก์ตอนส่วนมีขนาดเล็กตั้งแต่ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอน จนถึงระดับที่มองด้วยตาเปล่าเช่น แมงกระพรุน หลายชนิดยาวตั้ง 5 - 6 เมตร 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Phytoplankton แพลงก์ตอนพืช

สาหร่ายขนาดเล็กสามารถสังเคราะห์แสงได้ ล่องลอยในกระแสน้ำอย่างอิสระ มีบางชนิดที่เคลื่อนที่ได้เล็กน้อยด้วยหนวด (fragellum) (สมพงษ์,2538) เป็นผู้ผลิตลำดับแรกในระบบนิเวศของแหล่งน้ำ มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นถึงขนาดเซลล์ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า และเป็นกลุ่มที่มีมวลชีวภาพที่มากที่สุดในจำนวนแพลงก์ตอนทั้งหมดจะเป็นพวกที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการเปลี่ยนสารอาหารพวกอนินทรีย์ให้เป็นอินทรีย์ที่สลับซับซ้อน ซึ่งเป็นอาหารของผู้บริโภคลำดับต่าง ๆ ได้แก่พวกแพลงก์ตอนสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ กินแพลงก์ตอนพืชเป็นอาหาร แพลงก์ตอนพืชเป็นผู้ผลิตลำดับแรก (primary producer)ในห่วงโซ่อาหาร (นันทนา,2539) แพลงก์ตอนพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ล่องลอยอยู่ในน้ำสุดแต่คลื่นลมและกระแสน้ำจะพัดพาไป แพลงก์ตอนพืชมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศของแหล่งน้ำ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตเบื้องต้น (primary producer ) โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์หรือพลังงานจากแหล่งอื่นเพื่อผลิตอาหารในรูปของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ฯลฯ ดังนั้น ชนิด ปริมาณ ความหลายหลากของรูปร่างลักษณะการแพร่กระจาย ฯลฯ ของแพลงก์ตอนจึงมีความสัมพันธ์อย่างชิดใกล้กับระบบนิเวศน์ ดังนั้น การจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ การจัดการสิ่งแวดล้อมในน้ำและการจัดการทรัพยากรประมงจำเป็นต้องใช้ความรู้เรื่องแพลงก์ตอนพืชเป็นความรู้พื้นฐาน เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ เป็นต้น (ลัดดา,2542) 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Pool Zone เขตน้ำไหลเอื่อย

เป็นบริเวณที่มีความลึกความเร็วของกระแสน้ำลดลง ทำให้มีตกตะกอนของอนุภาคต่างๆ บริเวณท้องน้ำ จึงไม่เหมาะสมกับพวกสัตว์หน้าดินที่เกาะติดหรือปีนไต่ ไปมา แต่เหมาะสำหรับพวกที่ขุดรูอยู่ และพวกที่ลอยที่ผิวน้ำทั่วไป รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วย บริเวณดังกล่าวคือ แม่น้ำ และลำธารขนาดใหญ่

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Profundal Zone  เขตก้นน้ำ  ระบบนิเวศน้ำจืดชนิดน้ำนิ่ง เป็นบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับที่อัตราการ สังเคราะห์แสงเท่ากับอัตราการหายใจ ไปจนถึงหน้าพื้นดินของท้องน้ำ เขตนี้พบเฉพาะแหล่งน้ำที่ลึกมากจนแสงส่องลงไปไม่ถึง แต่ไม่พบใน แหล่งน้ำขนาดเล็กหรือแหล่งน้ำตื้น สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในเขตนี้จะไม่มีกลุ่มที่สังคราะห์แสงเนื่องจากแสงส่องลง ไปไม่ถึง ส่วนใหญ่ได้อาหารจากเขตชายฝั่งและเขตผิวน้ำ สิ่งมีชีวิตที่พบมักเป็นพวกที่อาศัยอยู่ตามหน้าดิน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Production Forest  ป่าเพื่อผลผลิต  พื้นที่ป่าที่ได้กำหนดไว้ให้ทำหน้าที่ผลิตไม้ และของป่าซึ่งเป็นประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากป่าโดยตรง หรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่าป่าเศรษฐกิจ ในอนาคตป่าที่จะให้ผลิตผลทางไม้คงจะต้องได้จากป่าปลูกเท่านั้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Protection Forest  ป่าป้องกันภัย  พื้นที่ป่าที่ได้กำหนดไว้ให้ทำหน้าที่ป้องกัน ภัย หรือรักษาความสมดุลของธรรมชาติ เช่น เป็นป่าป้องกันแหล่งต้นน้ำลำธาร ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ ป้องกันดินพัง และบรรเทาความรุนแรงของอุทกภัยและลมพายุ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและเป็นแหล่งพันธุกรรมของทั้งพืชและ สัตว์ เป็นต้น ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่าเป็นป่าอนุรักษ์ อันได้แก่ ป่าต้นน้ำลำธาร อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Park  อุทยาน  พื้นที่ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศวิทยา ซึ่งมีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นทัศนียภาพอันงดงามน้ำตก ถ้ำ และภูเขา หรือดอกไม้ และสัตว์นานาชาติ ที่มีความสำคัญยิ่ง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Quality  คุณภาพ  การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยสินค้าหรือบริการนั้นสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสมได้เปรียบคู่แข่งขันลูกค้ามีความพึงพอใจ และยอมจ่ายตามราคาเพื่อซื้อความพอใจนั้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 

Credit : http://www.environnet.in.th 

Visitors: 620,255