หมวดตัวอักษร D-H

 

คำศัพท์

สิ่งแวดล้อม(Eng)

คำศัพท์

สิ่งแวดล้อม(Thai)

 ความหมาย
Domestic wastewater
 น้ำเสียชุมชน

น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมประจำวันของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน และกิจกรรมที่เป็นอาชีพ ได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากการประกอบอาหารและชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายภายในครัวเรือน และอาคารประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Dissolved Oxygen(DO)  ออกซิเจนที่ละลายน้ำ

 เป็นค่าที่บอกถึงปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ หากมีค่า 5-8 ppm(mg/l) ถือว่าเป็นน้ำปกติทั่วไป แต่หากลดลงจนต่ำกว่า 3 ppm จะถือว่าเป็นน้ำเสีย เพราะมีแบคทีเรียที่คอยย่อยสลายสารอินทรีย์โดยใช้ออกซิเจน ถ้าในน้ำมีของเสียมาก แบคทีเรียก็ต้องใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายมาก ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำมีน้อยลง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Dust  ฝุ่น,ละออง
 อนุภาคที่เป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในอากาศ เกิดจากกระบวนการเชิงกล เช่น ตัด ทุบ กระแทก ขัด ฯลฯ ทำให้อนุภาคขนาดเล็กหลุดออกมาจากวัตถุหนึ่งๆ อนุภาคเหล่านี้จึงคงมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับวัตถุนั้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Dangerous Goods  สินค้าอันตราย
 หมายถึงวัตถุหรือสสารที่โดยคุณสมบัติของมันเองก่อให้เกิดความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัยหรือทรัพย์สินได้เมื่อทำการขนส่งทางอากาศ

การขนส่งสินค้าหรือวัตถุอันตรายทางอากาศกระทำได้โดยจำกัดปริมาณ(Except Quantity) การบรรจุให้เหมาะสมตามวิธีการบรรจุ(Packing Instruction) ที่ระบุไว้ในระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Dirtlike  ดินขยะ

 ขยะที่แปรสภาพจากการฝังกลบ มีลักษณะคล้ายดิน สามารถอัดได้ รับน้ำหนักได้ดี ขุดและกลบง่าย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Difficult waste  ของเสียกำจัดยาก

 ขยะหรือของเสียที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และยากหรือเป็นปัญหาในการขนย้ายและกำจัด

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Decomposition  การสลายตัว
 คือปฏิกิริยาการแตกสะลายของสารเคมีไปเป็นธาตุหรือสารประกอบที่เล็กกว่า ปฏิกิริยาประเภทนี้จะเขียนสมการเคมีได้ดังนี้ AB → A + B

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Diffusion  การแพร่

 การเคลื่อนที่ของอนุภาคสารจากบริเวณที่มีความหนาแน่นสูงไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นของสารต่ำ โดยอาศัยพลังงานจลน์ของสารเอง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Delta  ดินดอนสามเหลี่ยม

 พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Deforestation  การตัดไม้ทำลายป่า
 หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ดินอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์จากพื้นที่ที่เป็นป่าเป็นพื้นที่ไม่ใช่ป่า

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Differential water capacity  ความจุความชื้นอนุพันธ์
 ค่าสัมบูรณ์ (absolute valure) ของอัตราการเปลี่ยนแปลงระดับความชื้นดินโดยปริมาตรหรือโดยมวล ต่อหน่วยการเปลี่ยนแปลงของศักย์วัสดุพื้น (matric potential) ของน้ำ ความจุความชื้นอนุพันธ์สามารถประเมินได้ ทั้งขณะที่ความชื้นของดินเพิ่มขึ้นหรือลดลง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Denitrification  กระบวนการดีไนตริฟิเคชัน
 เป็นกระบวนการรีดิวซ์ไนเตรทให้อยู่ในรูปของก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen gas or molecular nitrogen) หรือบางทีมีก๊าซอื่น ๆ รวมทั้ง Nitrous (N2O) เกิดขึ้น ด้วยจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดีไนตริฟิเคชัน ประกอบด้วยสองพวกใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ พวกแรกเป็นพวกที่ไม่ขึ้นกับไนเตรทโดยสามารถที่จะเจริญอยู่ได้สภาวะที่ไม่มีไนเตรท แต่มีความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนหรืออาศัยกระบวนการ Ammonification หรือกระบวนการอื่น ๆ พวกที่สองเป็นพวกที่มีชีวิตอยู่ได้โดยที่ต้องมีไนเตรท

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Deposition  การทับถม
 การทับถมหรือการตกตะกอนเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อพลังงานของตัวกระทำ (Agent) ในการนำพาลดลง วัตถุต่าง ๆ ที่ถูกนำพามาค่อย ๆ ตกทับถมกัน โดยเริ่มจากวัตถุขนาดใหญ่ เช่นกรวด ตามด้วยเม็ดทราย และเคลย์ ตามลำดับ สำหรับตะกอนที่มากับทางน้ำ ในลักษณะสารละลายจะตกตะกอนก็ต่อเมื่อสภาพของสารละลายเปลี่ยนแปลง เช่น ความเข้มข้นของสารละลายมีมากขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาเคมี กระบวนการทับถมมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องปัจจัยเหล่านั้นสามารถเกิดร่วมกันได้ ดังนั้นวิธีการตกตะกอนและลักษณะตะกอนที่เกิดขึ้น จึงแตกต่างกันอย่างกว้างขวางระหว่างสภาวะต่างๆ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Drainage  การระบายน้ำ
 การกำจัดน้ำส่วนเกินที่ไม่ต้องการออกจากพื้นที่ เพื่อให้พื้นที่นั้นมีสภาพที่เหมาะต่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์


ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Drip Irrigation  การให้น้ำแบบหยด
 วิธีการให้น้ำแก่พืชที่จุดใดจุดหนึ่งหรือหลาย จุดบนผิวดิน หรือในเขตรากพืช โดยการปล่อยน้ำไหลเป็นหยด ๆ ติดต่อกัน 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Dry Gas  แก๊สแห้ง
   แก๊สธรรมชาติที่ไม่มีส่วนผสมของแก๊สธรรมชาติเหลว (condensate) มีแต่แก๊สมีเทนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้มีราคาสูงกว่าแก๊สธรรมชาติชนิดอื่นๆ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Dry Evergreen Forest  ป่าดิบแล้ง
 เป็นสังคมป่าไม่ผลัดใบที่มีพืชผลัดใบขึ้นผสมอยู่ค่อนข้างมาก ทำให้ต้นไม้ส่วนหนึ่งพากันผลัดใบในฤดูแล้ง ป่าชนิดนี้เหมาะสมเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลายประเภท อาทิ กระทิง วัวแดง เนื่องจากมีพืชอาหารมากสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารของประชาชนและเป็นแหล่งพืชสมุนไพรอีกด้วย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Dependency  ภาวะพึ่งพิง หรืออัตราส่วนการพึ่งพิง
 ภาวะที่บุคคลต้องพึ่งพิงหรืออยู่ในอุปการะของ ผู้อื่น บุคคลเหล่านั้นเป็นประชากรที่ไม่ทำงานในเชิงเศรษฐกิจ และไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นผู้ที่ได้รับการอุปการะจากผู้ทำงานหาเงิน ได้แก่ แม่บ้าน เด็กในอุปการะ คนชรา รวมทั้งบุคคลผู้รับการสงเคราะห์ หรือรับสวัสดิการสังคมจากรัฐเพื่อการดำรงชีพ อัตราส่วนของผู้อยู่ในอุปการะ (dependent or dependant) ต่อผู้ทำงานหาเงินหรือผู้หาเลี้ยง (earner) คืออัตราส่วนการพึ่งพิง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Direct Landfill  การฝังกลบโดยตรง
 การฝังกลบขยะโดยไม่มีการบำบัดเบื้องต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Eco-industry  อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
 สถานประกอบการอุตสาหกรรมในระดับต่างๆ ที่มีระบบอำนวยให้หน่วยกิจกรรมต่างๆ ในองค์กรสามารถบรรลุถึงความสำเร็จอย่างยั่งยืน (sustainability) ร่วมกัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ (economy) และระบบนิเวศ (ecology) โดยอาศัยการสร้างระบบความสัมพันธ์แบบพึ่งพาในเชิงวัสดุและพลังงาน และจะต้องอาศัยการผูกโยงความสัมพันธ์ระหว่างกิจการที่มีความสอดคล้องกันใน เชิงผลพลอยได้ของผลิตภัณฑ์

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Eco-town  เมืองที่มีของเสียเป็นศูนย์
 แนวคิดว่าด้วยเรื่องการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมเหล็ก โดยเน้นเรื่อง ระบบการจัดการเพื่อก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด และลดการปล่อยของเสียและก๊าซเรือนกระจกอันเป็นต้นเหตุของปัญหาโลกร้อน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Eco-efficiency  ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
 ศักยภาพในการผลิตและการบริการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการลดการใช้ทรัพยากร และลดการปล่อยมลพิษ เป็นผลให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Eco-Design  การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
 การปรับเปลี่ยนการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Ecological footprint(EF)   รอยเท้านิเวศน์
 ขนาดของพื้นที่บนโลกที่ต้องใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการทั้งหมดนับตั้งแต่เรื่องอาหาร ไปจนถึงไม้ หรือแร่ธาตุ รวมทั้งกระบวนการจัดการกับของเสียทั้งหมด เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับจุลินทรีย์ พืช และสัตว์อื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการวิเคราะห์หาสัดส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ / อุปทานข้างต้นของมนุษย์

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Ecosystem services  ระบบนิเวศ
 นิเวศบริการ หมายถึงประโยชน์ที่ธรรมชาติส่งมอบให้กับมนุษย์ นิเวศบริการที่เราคุ้นเคยที่สุดได้แก่ อาหาร น้ำสะอาด และทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ แต่ยังมีบริการอีกมากมายที่เรามักไม่ค่อยนึกถึง เช่น การดูดซับคาร์บอนและบรรเทาภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงของป่าไม้ การกรองและทำน้ำให้สะอาดของพื้นที่ชุ่มน้ำ ฯลฯ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Environmental education  การศึกษาสิ่งแวดล้อม

 กระบวนการ หรือแนวทางความคิดที่เน้นการสร้างให้ผู้เรียนมีความสำนึก และห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการพัฒนาทักษะ เจตคติ ความซาบซึ้ง ความตั้งใจจริง และมุ่งมั่นที่จะรักษา หรือพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Environmental management(EMS)  ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
 ระบวนการจัดการรูปแบบใหม่ที่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ทั้งระบบการผลิต การจัดส่ง การจำหน่าย และ การจัดการกับซากเศษเหลือทิ้ง โดย จะต้องทำการตรวจหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Measurement) ที่เกิดขึ้นจริงกับ กระบวนการผลิต ซึ่งแต่เดิมนั้น โรงงานผู้ผลิต จะเน้นเฉพาะแค่ ราคา และมาตรฐานด้านคุณภาพของสินค้า เท่านั้น แต่ในปัจจุบันนอกจากจะคำนึงถึงคุณภาพของตัวสินค้าแล้ว ยังจะต้องรวมไปถึง มาตรฐานด้านสุขภาพพลานามัย ความปลอดภัย และ สภาพแวดล้อม ที่การผลิตจะมีผลโดยตรงทั้งก่อนหรือหลังการผลิต โดยจะดูรวมไปถึง การทำงาน ทั้งระบบ ในหน่วยงาน และจะต้องสามารถทำการเชื่อมโยง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นเทียบกับมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ หรือ เทียบมูลค่าเป็นจำนวนเงิน ที่จะเรียกว่า “บัญชีต้นทุนสิ่งแวดล้อม” (Environmental Management Account – EMA) ที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล คำนวณ และทำรายงาน ทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Economical) สังคม (Social) และ ระบบนิเวศน์ (Ecological)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Environmental factors  ปัจจัยสภาพแวดล้อม
 สภาพแวดล้อมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่
ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช โดยทั่วไปแล้ว สภาพแวดล้อมมีขอบเขตที่กว้างขวางมาก แต่ในบทนี้จะพูดถึงสภาพแวดล้อมแต่ละอย่างเพียงย่อๆเท่านั้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Environmental protection  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
 การเก็บรักษา สงวน ซ่อมแซม ปรับปรุง และใช้ประโยชน์ตามความต้องการอย่างมีเหตุผลต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดคุณภาพสูงสุดในการสนองความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างถาวรต่อไป

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Environmental health

 อนามัยสิ่งแวดล้อม

 

 

 Emission factor  ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซ
เรือนกระจก
 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของมลพิษที่เกิดขึ้นกับวัตถุดินที่ผ่านกระบวนการ เช่น ปัจจัยการปล่อยของเตาถลุงเหล็ก คือน้ำหนักของละอองธุลีต่อตันวัตถุดิบ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Emission standard  มาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด
 มาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษออกสู่บรรยากาศ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Environmental Impact Assessment(EIA)  การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
 การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Explosive waste  ของเสียระเบิดได้

 ของเสียซึ่งสภาวะไม่คงตัว อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างรุนแรงหรือระเบิดได้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Earth flow  การเลื่อนของดิน
 เป็นการเคลื่อนที่ของมวลดินที่ประกอบด้วยตะกอนขนาดละเอียดจำพวกดินเหนียว ดินทรายแป้ง ตามพื้นที่ที่มีความลาดชันไม่มากนัก

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Edaphology  ปฐพีวิทยาสัมพันธ์
 เป็นการศึกษาดินในด้านความสัมพันธ์ระหว่างดินกับสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะพืช เน้นหนักในด้านสมบัติต่างๆ ของดินที่มีผลต่อการให้ผลผลิตของพืช ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสามารถของดินที่จะให้ธาตุอาหารแก่พืช รวมถึงเคมี ฟิสิกส์ แร่วิทยา และกิจกรรมของจุลินทรีย์ต่างๆ ในดินที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Eletrical conductivity(EC)  การนำไฟฟ้า
 ค่าการนำไฟฟ้าของเกลือ(ในไฮโดรโพนิกส์จะหมายถึงเกลือของธาตุอาหาร)ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Erosion  การกร่อน
 กระบวนการหนึ่งหรือหลายกระบวนการที่ทำให้สารเปลือกโลกหลุดไป ละลายไป หรือกร่อนไป โดยตัวการธรรมชาติ การกร่อนโดยน้ำ หมายถึง กระบนการหนึ่งหรือหลายกระบวนการที่โดยน้ำ ที่ทำให้สารเปลือกโลกหลุดไป ละลายไป หรือกร่อน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Erosion Index  ดัชนีการกร่อน
 ค่าแสดงศักยภาพของฝนที่ทำให้ผิวหน้าดินกร่อนไป คำนวณได้จากพลังงานการตกกระทบ ของเม็ดฝนกับปริมาณฝนแต่ละครั้ง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Erosivitiy  ศักยภาพการกร่อน
 ศักยภาพของตัวการ เช่น น้ำ ลม และแรงโน้มถ่วง ฯลฯ ที่ทำให้เกิดการกร่อน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Exploratory survey  การสำรวจดินแบบกว้าง
 ป็นการสำรวจดินเพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนศึกษาขั้นละเอียดต่อไป แผนที่ที่ใช้ในการสำรวจในสนามมีมาตราส่วน 1:100,000 ถึง 1:250,000 แผนที่ที่พิมพ์เผยแพร่มีขนาดมาตราส่วน 1:1,000,000 หรือเล็กกว่า ขอบเขตของดินแต่ละหน่วยที่แสดงไว้ในแผนที่ดิน อาศัยการแปลจากรูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดินเป็นแนวทาง เช่นข้อมูลทางธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานวิทยา พืชพรรณและการใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพภูมิอากาศ ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนามเป็นบางจุด โดยทั่วไปจะเป็นไปในแนวตัดขวางกับสภาพพื้นที่และธรณีวิทยา หน่วยแผนที่ที่แสดงไว้บนแผนที่ดินส่วนใหญ่เป็นหน่วยสัมพันธ์ (association) อาจมีหน่วยเดี่ยว และหน่วยศักย์เสมอ (undifferentiated group) บ้าง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Ethane  แก๊สอีเทน
 เป็นสารที่มีปริมาณน้อยรองลงมาจากมีเทน ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิง และผลิตพลาสติก (plastic)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Earth Resource  ทรัพยากรธรณี
 ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการธรณี วิทยา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ พลังงาน สินแร่ และน้ำบาดาล

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Emerged Plants  พืชโผล่เหนือน้ำ
 เป็นพืชที่เจริญเติบโตในน้ำเพียงบางส่วน เช่น รากและลำต้น ส่วนรากอาจยึดพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ มีใบหรือดอกโผล่พ้นน้ำหรืออาจอยู่ที่ผิวน้ำ บางชนิดอาจมีทั้งใบใต้น้ำและใบเหนือน้ำในลำต้นเดียวกัน ลำต้นมีลักษณะแข็งแรงกว่าพืชใต้น้ำมีคิวตินมีปากใบและคิวติน พบมากในพืชกลุ่มบัวต่างๆ ผักตับเต่า แว่นแก้ว สาหร่ายญี่ปุ่น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Euphotic zone  เขตที่มีผลผลิต
 ส่วนที่เป็นน้ำในระบบนิเวศทะเล ซึ่งเป็นส่วนที่มีความเข้มข้นของแสง เพียงพอต่อการสังเคราะห์แสงหรือเป็นส่วนที่มีผลผลิต (Productivity)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Eutrophication กระบวนการเจริญเติบโตเกินขอบเขต
 กระบวนการเจริญเติบโตเกินขอบเขต
เป็นกระบวนการที่เป็นตัวชักนำธาตุอาหารไปสู่ สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะ ธาตุฟอสฟอรัส ไนโตรเจน ฯลฯ โดยมีสาเหตุจากสภาพเทคโนโลยี ในปัจจุบันที่มนุษย์ใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งมีส่วนประกอบของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมอย่างมาก และธาตุอาหารเหล่านี้อาจ แพร่กระจายไปในพื้นที่บริเวณกว้างโดยการชะล้างของฝน และการชักนำของน้ำ เมื่อแพร่กระจายไปรวมตัวอยู่ในบริเวณใดเป็นจำนวนมาก พืชในบริเวณนั้นก็จะเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนมากเกินขอบเขต ซึ่งจะก่อให้เกิดอัตราดูดซึมธาตุอาหารอื่นเข้าไปสู่สิ่งมีชีวิตเพิ่มมากขึ้น จากอัตราปกติหรือเป็นจำนวนมาก 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Evergreen forest  ป่าไม้ผลัดใบ
 เป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยพรรณพืชที่ผลัดใบหรือทิ้งใบเป็นองค์ประกอบสำคัญ การผลัดเปลี่ยนใบจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้ง สังคมพืชกลุ่มนี้มีประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่ป่าของประเทศไทย และแยกเป็นชนิดย่อย ๆ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Environmental Control Zone  เขตพื้นที่ควบคุมสิ่งแวดล้อม
 เขตพื้นที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่ง แวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 43 กล่าวว่า ในกรณีที่ปรากฏว่าพื้นที่ใดมีลักษณะเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นโดยทั่วไป หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่อาจถูกทำลายหรืออาจได้รับผลกระทบกระเทือน จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้โดยง่าย หรือเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์ และพื้นที่นั้นยังมิได้ถูกประกาศกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ ใหคณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจออกกฎทรวงกำหนดให้พื้นที่นั้นเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Flammable waste  ของเสียติดไฟได้
 ขยะที่ติดไฟได้ง่ายและมีการเผาไหม้รวดเร็ว

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Fog  หมอก
 เป็นน้ำในอากาศหรือไฮโดรมีทีเออร์ (hydrometeor) ชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยกลุ่มละอองน้ำขนาดเล็กมากสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าลอยอยู่ในอากาศใกล้พื้นดิน โดยปกติจะทำให้ทัศนวิสัยทางแนวนอนที่ผิวพื้นโลกลดลงเหลือน้อยกว่า 1,000 เมตร ถ้าทัศนวิสัยมากกว่า 1,000 เมตร เรียกว่า หมอกบางหรือหมอกน้ำค้าง (mist)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Flash flood  น้ำท่วมฉับพลัน
 คือน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Freezing Level  ระดับเยือกแข็ง
 ระดับหนึ่งในชั้นบรรยากาศที่มีอุณหภูมิเท่ากับ 0 องศาเซลเซียส

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Frozen soil  ดินเยือกแข็ง
 ดินซึ่งมีค่าอุณหภูมิเท่ากับ หรือน้อยกว่า 0 องศาเซลเซียส. โดยที่ในดิน นั้นมีน้ำแข็งและไอน้ำอยู่เป็นบางส่วน แต่ไม่มีหยดน้ำอยู่เลย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Family soil  วงศ์ดิน
 แบ่งจากกลุ่มดินย่อย โดยใช้ลักษณะชั้นอนุภาคดิน ชั้นแร่ ชั้นอุณหภูมิดิน ปฏิกิริยาดิน และความลึกของดิน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Fallow   การพักดิน
 การพักดิน การปล่อยที่ดินปลูกพืชให้ว่างเปล่าไว้ เกือบหรือตลอดฤดูกาลเพาะปลูก โดยจะมีการไถพรวนหรือไม่ก็ได้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Flocculation  การจับตัวเป็นก้อน,การเกาะกลุ่มตกตะกอน
1) การจับตัวเป็นก้อน คือ กระบวนการที่อนุภาคของดิน ที่มีขนาดเล็กเกาะตัวกันเป็นก้อน ทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เกิดในสภาพที่มีดินเหนียวมาก ๆ อาจทำให้ดินร่วนขึ้นด้วยการใส่ปูน ซึ่งจะไปกระตุ้น การจับตัวเป็นก้อนของอนุภาคดิน 
2) การเกาะกลุ่มตกตะกอน คือ การตกจมทับถมของโคลนตะกอนในบริเวณที่น้ำจืดจากแม่น้ำพบกับน้ำเค็มในทะเล

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Floating plants  พืชลอยน้ำ
 พืชที่มีการเจริญเติบโตและลอยอยู่ที่ผิวน้ำ โดยมี ส่วนของรากเจริญอยู่ใต้น้ำ ลำต้น ใบ ดอก ชูขึ้นเหนือระดับน้ำหรือเจริญอยู่ที่ระดับน้ำ ลอยไปมาได้อย่างอิสระ กรณีเจริญอยู่บริเวณที่น้ำตื้นส่วนรากอาจจะ
ยึดติดกับพืนดินใต้น้ำได้ เช่น ผักตบชวา ผักตบไทย ผักบุ้ง จอกหูหนู กระจับ ไข่น้ำซึ่งเป็นพืชที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกมีขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Forest  ป่า
 บริเวณที่มีต้นไม้หลายชนิด ขนาดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Fresh water Ecosystem  ระบบนิเวศน้ำจืด
 เป็นระบบที่น้ำเป็นน้ำจืด อาจแบ่งย่อยเป็น
2.1.1 ระบบนิเวศน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง ทะเลสาบน้ำจืด เป็นต้น
2.1.2 ระบบนิเวศน้ำไหล เช่น ลำธาร ห้วย แม่น้ำ เป็นต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Flood plains  บริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง
 เป็นที่ราบริมแม่น้ำ แม่น้ำบริเวณที่เป็นคุ้งน้ำจะถูกน้ำทำให้สึกกร่อน ตะกอนที่ตกจะถูกพามาฝั่งตรงข้ามที่มีลักษณะเป็นแหลม แล้วตะกอนทับถมกันจนมีระดับสูงขึ้น เวลาน้ำลดจะเห็นที่ราบนี้ เราจึงเรียกว่าที่ราบน้ำท่วมถึง และการเกิดที่ราบน้ำท่วมถึงต่อเนื่องกัน หลายๆชั้น จะกลายเป็นที่ราบขั้นบันได(Terrace plain)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Fuel cells  เซลล์เชื้อเพลิง
 อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี-ไฟฟ้า ระหว่างออกซิเจนกับไฮโดรเจนซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานของเชื้อเพลิง ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ไม่ต้องผ่านการเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงนี้ไม่ก่อมลภาวะทางอากาศ ทั้งยังมีประสิทธิภาพสูงกว่า เครื่องยนต์เผาไหม้ 1-3 เท่า ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์เชื้อเพลิง และชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Forest Resources  ทรัพยากรป่าไม้
 ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคม ของป่าทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต ดังนั้นทรัพยากรป่าไม้จึงหมายรวมถึงทรัพยากรอื่นๆ มีผลสืบเนื่องมาจากป่าไม้ ได้แก่ สัตว์ป่า ของป่า ที่ดิน ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร และสภาพแวดล้อมทั่วไปของป่า สิ่งเหล่านี้จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถฟื้นสภาพได้ถ้ามีการอนุรักษ์อย่างเหมาะสมก็จะมีการทดแทนขึ้นมาใหม่ และสามารถทำการบำรุงรักษาสภาพให้คงอยู่เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อไปได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด ทรัพยากรป่าไม้นับว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง ทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีผลต่อความมั่นคงของประเทศด้วย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Forest Park  วนอุทยาน
 พื้นที่ขนาดเล็ก จัดตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ โดยจะทำการปรับปรุงตกแต่ง
สถานที่เหล่านี้ให้เหมาะสม มีความสวยงามและโดดเด่นในระดับท้องถิ่น จุดเด่นอาจจะได้แก่ น้ำตก หุบเหว หน้าผา ถ้ำ หรือ หาดทราย เป็นต้น


ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา
 Forest Ecosystem  ระบบนิเวศป่าไม้
 สังคมของพืชและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในพื้นที่ป่าหนึ่ง ๆ ที่มีการตอบซึ่งกันและกันต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพต่างๆ อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง มีความหลากหลายทางชีวภาพ และมีการไหลเวียนของแร่ธาตุด้วย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Forest Fire  ไฟป่า
 ไฟที่เผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติในป่า แล้วลุกลามอย่างเสรีไม่มีการควบคุม เชื้อเพลิงธรรมชาติที่ถูกเผาไหม้ ได้แก่ อินทรียวัตถุที่กำลังสลายตัว (duff) เศษไม้และใบไม้ที่ร่วงหล่นสู่พื้นป่า หญ้า กิ่งไม้แห้ง ท่อนไม้ ตอไม้ ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นบางส่วน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Fume  ไอควัน
 อนุภาคซึ่งเกิดจากการหลอมเหลวของของแข็ง เช่น พลาสติกและโลหะกลายเป็นไอ เมื่อกระทบกับความเย็น จะควบแน่นเป็นอนุภาคขนาดเล็กแขวนลอยในอากาศ โดยทั่วไปสารที่หลอมเหลวกลายเป็นไอจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศกลายเป็นสารออกไซด์

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Fermentation  การหมัก
 กระบวนการแปลงสภาพทางชีวเคมี เพื่อให้วัตถุดิบเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ของจุลินทรีย์

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Gas  แก๊ส
 สารที่อยู่ในสถานะแก๊ส ณ อุณหภูมิและความดันปกติ เช่น H2 O2 N2 แก๊สเฉื่อย แก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมาก จะอยู่ห่างกัน และแพร่กระจายอยู่ทั่วทั้งภาชนะที่บรรจุ ทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามขนาดและรูปร่างของภาชนะ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Garbage  ขยะเปียก,เศษอาหาร
 มีความชื้นปนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 จึงติดไฟได้ยาก ส่วนใหญ่ได้แก่ เศษอาหาร เศษเนื้อ เศษผัก และผักผลไม้จากบ้านเรือน ร้านจำหน่ายอาหารและตลาดสด รวมทั้งซากพืชและสัตว์ที่ยังไม่เน่าเปื่อย ขยะประเภทนี้จะทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็น เนื่องจากแบคทีเรียย่อยสลายอินทรียสาร นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคโดยติดไปกับแมลง หนู และสัตว์อื่นที่มาตอมหรือกินเป็นอาหาร

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Green waste  ของเสียเขียว
 ของเสียที่ผ่านการบำบัดอย่างถูกต้องก่อนระบายทิ้ง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Ground water  น้ำบาดาล
 ส่วนของน้ำใต้ผิวดินที่อยู่ในเขตอิ่มน้ำ รวมถึงธารน้ำใต้ดิน โดยทั่วไป หมายถึง น้ำใต้ผิวดินทั้งหมด ยกเว้นน้ำภายในโลก ซึ่งเป็นน้ำอยู่ใต้ระดับเขตอิ่มน้ำ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Gas Exchange  การแลกเปลี่ยนแก๊ส
 การแลกเปลี่ยนแก๊สชนิดต่าง ๆ ในดินกับบรรยากาศเหนือดิน ซึ่งเกิดจากการไหลของมวล (mass flow) โดยกลุ่มของอากาศเคลื่อนที่ผ่านผิวดินเนื่องจากความดันรวม (bulk pressure) ที่แตกต่างกัน หรือจากการแพร่ (diffusion) ซึ่งโมเลกุลของแก๊สชนิดหนึ่ง ๆ แพร่ผ่านผิวดินเนื่องจากความดันย่อย (partial pressure) หรือเข้มข้นที่แตกต่าง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Geologic Erosion  การกัดกร่อนโดยธรรมชาติ
 การพังทลายโดยธรรมชาติ เป็นการพังทลายที่เกิดขึ้นเองภายใต้สภาพแวดล้อมและสิ่งปกคลุมตามธรรมชาติ
การพังทลายประเภทนี้ค่อยเป็นค่อยไป โดยมีน้ำเป็นตัวการ เช่น การชะล้างภายใน (Leaching) แผ่นดินถล่ม
(Land slides) และมีลมเป็นตัวการ เช่น การพังทลายโดยลมตามชายฝั่งทะเลหรือทะเลทราย เป็นต้น การพังทลายประเภทนี้ใช้เวลานับล้านปี ทำให้เกิดลักษณะต่างๆ บนพื้นผิวโลก เช่น ห้วย ลำธาร หุบเขา เหวต่างๆ เป็นต้น กระบวนนี้มนุษย์จะไปควบคุม หรือบังคับไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา
 Geomorphology  ธรณีสัณฐานวิทยา
 ศาสตร์ที่ว่าด้วยพื้นผิวโลก ซึ่งประมวล เอาทั้งรูปร่างธรรมชาติ กระบวนการกำเนิดและพัฒนาตัว ตลอดจน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Green Manure  ปุ๋ยพืชสด
 ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากการไถกลบพืชที่ปลูกอยู่ในแปลงซึ่งส่วนมากจะเป็นพืชตระกูลถั่ว ในขณะที่พืชนั้นกำลังเจริญเติบโตและยังสดอยู่ในระยะเริ่มออกดอก

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Gully Erosion  การกร่อนแบบร่องธาร
 การกร่อนซึ่งเกิดจากมีฝนตกหนัก ทำให้เกิดเป็นร่องลึกหรือ อาจเกิดจากน้ำไหล ตามแนวลาดเทที่มีความชันสูง และระยะความลาดเทยาว การไหลกัดเซาะของน้ำมีมาก จึงพัดพาดินไปได้เป็นจำนวนมาก โดยทั่วไปร่องมีความลึกระหว่าง 0.5 - 30 เมตร

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Gross Domestic Product (GDP)  ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Green energy  พลังงานสะอาด
 คำที่ใช้อธิบายความคิดที่เกี่ยวกับแหล่งพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปจะหมายถึงพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พลังงานสะอาดประกอบด้วยกระบวนการที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติ และเป็นกระบวนการที่สามารถควบคุมให้มีมลพิษเพียงเล็กน้อย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Green Procurement  การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
 การจัดซื้อหรือจัดจ้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางด้านคุณภาพ ราคา การส่งมอบสินค้าหรือบริการตามที่กำหนด และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตและบริการ โดยพิจารณาตลอดทั้งวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา
 Green Industry  อุตสาหกรรมสีเขียว
 เป็นการจัดการโรงงานหรืออุตสาหกรรมที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การหมุนเวียนของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Waste Recovery) ในกระบวนการผลิต การป้องกันปัญหามลพิษโดยใช้เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) รวมทั้งการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Product) มีการแลกเปลี่ยนของเสียที่จะเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานอื่นๆ (Industrial Symbiosis) โดยเน้นของเหลือใช้และของเสียกลับมาใช้ใหม่ตามหลักการ 3R's Reuse Reduce Recycle ได้แก่ การลดของเสีย การใช้ซ้ำ และการนำวัสดุเหลือใช้หรือของเสีย กลับมาใช้ประโยชน์

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Green Effect  ปรากฏการณ์เรือนกระจก
 ขบวนการการแผ่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกที่ถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ และแผ่รังสีกลับในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีกลับนี้บางส่วนกลับไปยังพื้นผิวและชั้นบรรยากาศที่ต่ำกว่า ทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงกว่าถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Green growth  การพัฒนาสีเขียว
 การกระตุ้นการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ขณะสร้างหลักประกันว่าทุนธรรมชาติจะสามารถส่งมอบทรัพยากรและบริการด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งความอยู่ดีมีสุขของเราต้องพึ่งพา การทำเช่นนี้จำต้องจุดชนวนการลงทุนและนวัตกรรมที่จะรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ”

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Green Economy  เศรษฐกิจสีเขียว
 ระบบเศรษฐกิจที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ และเสริมสร้างความเสมอภาคทางสังคม ลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและการขาดแคลนทรัพยากร เช่น ปลดปล่อยคาร์บอนและมลพิษต่ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร ลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Green Technology  เทคโนโลยีไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อม
 เทคโนโลยีสีเขียวเป็นวิวัฒนาการ, วิธีการและอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการจัดการ แก้ไข ปรับแต่งให้การทำงานของผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งผลที่ได้จากการใช้งานของวิธีการและอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ สะอาดขึ้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Green Society  สังคมสีเขียว
 การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข ตามกรอบแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ มหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Green Marketing  การตลาดสีเขียว
 การปลุกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมและสภาพแวดล้อมรอบตัวนั่นเอง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Greenhouse gas  ก๊าซเรือนกระจก
 ก๊าซที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศแล้วก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ทั้งนี้ตามพิธีสารเกียวโตได้กำหนดก๊าซที่เป็นตัวการสำคัญไว้ 6 ชนิด

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Global warming  ภาวะโลกร้อน
 การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ? 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Green Product  ผลิตภัณฑ์สีเขียว
 การอนุรักษ์น้ำ การอนุรักษ์พลังงาน การลดขยะ การลดสารพิษ การมีมาตรฐานการรับรองสินค้าที่ผลิตออกมาเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำให้กระบวนการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นจริงได้ ในทางปฏิบัติทั้งในบ้านและสำนักงาน กระแสกระบวนการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่เด่นชัดและรุนแรงที่เกิดทำให้ทศวรรษนี้ เป็น “ยุคแห่งสีเขียว” เพราะผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมีจำนวนมากขึ้น และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลออกข้อบังคับกฎระเบียบหรือพระราชบัญญัติในการควบคุมภาคธุรกิจไม่ให้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างขาดสำนึกถึงส่วนรวม แนวความคิดของคำว่า “สีเขียว” เมื่อถูกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ ก็เรียกว่า “ผลิตภัณฑ์สีเขียว” (Green Product) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษกว่าผลิตภัณฑ์อื่นในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Geothermal Energy  พลังงานความร้อนใต้พิภพ
 พลังงานความร้อนตามธรรมชาติที่ได้จากแหล่งความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก โดยปกติอุณหภูมิใต้ผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตามความลึก และเมื่อยิ่งลึกลงไปถึงภายในใจกลางของโลก จะมีแหล่งพลังงานความร้อนมหาศาลอยู่ ความร้อนที่อยู่ใต้ผิวโลกนี้มีแรงดันสูงมาก

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Generator  ผู้ผลิต(ขยะ)
 ผู้ก่อให้เกิดขยะ หรือผู้เป็นเจ้าของขยะ และ/หรือ ผู้ควบคุมขยะ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Happy Planet Index : HPI  ดัชนีโลกมีสุข
 เป็นดัชนีชุดแรกในโลกที่นำดัชนีวัดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมาสังเคราะห์เข้ากับดัชนีวัดความอยู่ดีมีสุขของประชากร เพื่อคำนวณ “ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ” (ecological efficiency) ของแต่ละประเทศในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งมอบชีวิตที่ “น่าพึงพอใจ” และ “ยืนยาว” ให้กับประชากรในประเทศ

ประเทศที่มี HPI สูงอาจไม่ใช่ประเทศที่ประชากร “มีความสุขที่สุด” แต่เป็นประเทศที่สามารถมอบชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุขให้กับประชากรได้โดยไม่ก่อความตึงเครียดต่อระบบนิเวศหรือใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง


ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Human Development Index : HDI  ดัชนีการพัฒนามนุษย์
 ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ เป็นดัชนีการวัดและเปรียบเทียบ ความยากจน การรู้หนังสือ การศึกษา อายุขัย การคลอดบุตร และปัจจัยอื่น ๆ ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นวิธีการวัดความอยู่ดีกินดีตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน หลายคนใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาตินี้ในการระบุว่าประเทศใดประเทศ หนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศด้อยพัฒนา ดัชนีดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) โดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถานชื่อ มาฮฺบับ อุล ฮาค และองค์การสหประชาชาติได้ในดัชนีดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) เป็นต้นมา

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Hadal Zone  เขตน้ำลึกในระบบนิเวศทะเล
 อยู่ที่ความลึกตั้งแต่ 5,000 เมตรลงไป ส่วนใหญ่จะเป็นหลุมลึกหรือหุบเหวในมหาสมุทร บางครั้งเรียกว่า สะดือทะเล

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Hydroponics  การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
 เป็นวิธีการปลูกพืชเลียนแบบการปลูกพืชบนดินโดยไม่ใช้ดินเป็นวัสดุในการปลูกแต่เป็นการปลูกพืชลงบนวัสดุปลูกชนิดต่างๆ โดยพืชจะใช้วัสดุปลูกเป็นที่ยึดเกาะของรากและสามารถได้รับธาตุอาหารต่างๆ ผ่านสารละลายธาตุอาหารพืช ที่มีน้ำผสมกับปุ๋ยที่มีธาตุต่างๆ ที่พืชต้องการ (Nutrient Solution)


ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Hazardous waste  ของเสียอันตราย
 ของเสียหรือสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือเสื่อมสภาพ
หรือสิ่งที่เจือปนด้วยของเสียที่เป็นของเหลว ของแข็งหรือก๊าชที่มีความเข้มข้นหรือคุณสมบัติทางกายภาพ
เคมีหรืออื่นๆ รวมถึงภาชนะบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ปนเปื้อนสารอันตรายซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการตาย
หรือการเจ็บป่วยตลอดจนทำให้เกิดหรือมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
และสิ่งแวดล้อมเมื่อไม่ได้มีการจัดการที่เหมาะสมในการบำบัด เก็บกักและกำจัด ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ในการจัดการของเสียอันตราย มี 3 กลุ่มใหญ่ คือผู้ก่อกำเนิด (Waste Generator) ผู้ขนส่ง
(Waste Transporter) ผู้รับบำบัดกำจัด (Waste Processor) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เพื่อให้การดำเนินการจัดการของเสียอันตรายเป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขอนามัย
ความปลอดภัยของประชาชน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Hazard  สภาวะภัย
 สภาวะที่อาจจะเพิ่มระดับความรุนแรงของความเสียหายให้มากขึ้น หนือเพิ่มโอกาสที่จะเกิดความเสียหายให้บ่อยขึ้นได้ เราสามารถที่จะจำแนกสภาวะภัยออกได้ 3 ประเภทด้วยกัน คือ 
1 สภาวะภัยทางด้านสุขภาพ (Physical Hazard)
2 สภาวะภัยทางด้านศีลธรรม (Moral Hazard)
3 สภาวะภัยทางจริยธรรม (Morale Hazard)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Hazardous substance  สารวัตถุอันตราย
 วัตถุหรือสิ่งของใดๆก็ตามที่มีคุณสมบัติทางกายภาพดังต่อไปนี้
1) วัตถุระเบิดได้
(2) วัตถุไวไฟ
(3) วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์
(4) วัตถุมีพิษ
(5) วัตถุที่ทำให้เกิดโรค
(6) วัตถุกัมมันตรังสี
(7) วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
(8) วัตถุกัดกร่อน
(9) วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
(10) วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Hazardous Waste Generation  การผลิตของเสียอันตราย
 การผลิตของเสียเสี่ยงอันตราย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Hazardous Waste Incinerator  เตาเผากำจัดกากอันตราย
 เตาเผากำจัดกากสารอันตราย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Hazardous Household Waste  ของเสียอันตรายจากบ้านเรือน
 ของเสียเสี่ยงอันตรายจากบ้านเรือน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Hospital waste  ของเสียโรงพยาบาล
 ของเสียอันตรายที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Household waste  ของเสียบ้านเรือน
 ของเสียอันตรายที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ช่น ถ่านไฟฉายซึ่งมีสารแคดเมียมซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างกระดูก หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์มีสารปรอทซึ่งทำอันตรายต่อระบบประสาท

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Holoplankton   แพลงก์ตอนถาวร
 แพลงก์ตอนพืชและสัตว์ที่ดำรงชีวิตเป็น แพลงก์ตอนตลอดชีพ นับตั้งแต่เกิดเป็นตัวจนถึงระยะโตเต็มที่ เช่น ไดอะตอม สาหร่าย กุ้งเคย หวีวุ้น เป็นต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Hill Evergreen Forest  ป่าดิบเขา
 ป่าดงดิบเขาเป็นป่าที่ปรากฎอยู่ในระดับความสูงกว่าสังคมป่าเขตร้อนชนิดอื่น โดยพบในทุกภาคของประเทศไทยที่มีความสูงเกิน 1,200 เมตรขึ้นไป ทำให้อากาศหนาวเย็นและมีความชุ่มชื้นสูงตลอดปี จนเกิดเมฆหมอกปกคลุมอยู่เสมอ กลายเป็นป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศ ป่าดงดิบเขาในประเทศไทยแบ่งได้เป็น 2 สังคมย่อย คือ ป่าดงดิบเขาระดับต่ำ พบที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,800 เมตร และป่าดงดิบเขาระดับสูงปรากฎในระดับความสูงเกิน 2,000 เมตรขึ้นไป ต้นไม้มีกิ่งก้านคดงอตามกระแสลมแรง บนกิ่งขนาดใหญ่และลำต้นปกคลุมหนาแน่นไปด้วยมอส ไลเคน เฟิร์น ฝอยลม และข้าวตอกฤาษี ห้อยระโยงระยางราวกับป่าดึกดำบรรพ์ เช่น ป่าดงดิบเขาบนดอยอินทนนท์ ซึ่งอยู่บนระดับความสูงมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ 2,567 เมตร มีสัตว์หายากที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ซาลาแมนเดอร์หรือจิ้งจกน้ำ และเป็นแหล่งรวมนกอพยพในฤดูหนาวอย่าง นกกินปลีหางยาวเขียว เป็นต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 

Credit : http://www.environnet.in.th

Visitors: 629,884