หมวดตัวอักษร A-C

 

คำศัพท์

สิ่งแวดล้อม(eng)

คำศัพท์

สิ่งแวดล้อม(thai)

ความหมาย
 Activated carbon  ถ่านกัมมันต์

ถ่านกัมมันต์ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอินทรียวัตถุซึ่งมีคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก เช่น ถ่านหิน กะลามะพร้าว ขี้เลื่อยยางรถยนต์ มาผ่านกรรมวิธีก่อกัมมันต์ (activation process) มี 2 วิธีการ คือ การกระตุ้นทางกายภาพ และกผารกระตุ้นทางเคมี จนได้ถ่านที่มีสีดำ มีลักษณะโครงสร้างเป็นรูพรุน พื้นที่ผิวสูง มีคุณสมบัติในการดูดซับสารต่างๆได้ดี

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

 Algal bloom - ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ
- การระเบิดของสาหร่าย

ปรากฏการณ์ที่แหล่งน้ำมีสารอาหารมากเกินไป การที่แหล่งน้ำมีสารอาหารมากเกินพอที่จะไปกระตุ้นให้มีการเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนพืช (สาหร่ายขนาดเล็ก) อย่างรวดเร็ว จนทำให้น้ำเปลี่ยนสีไปจากสีปกติ อาจเป็นสีเขียว สีน้ำตาล หรือสีแดง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

 Adaptation  การปรับตัว

กระบวนการที่สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับลักษณะบางประการให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ซึ่งลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป ดังกล่าวจะอำนวยประโยชน์แก่ชีวิตในแง่ของการอยู่รอดและสามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตมีหลายประการ ได้แก่ การแสวงหาอาหาร การสืบพันธุ์ การต่อสู้กับศัตรู และการหลบหลีกศัตรู หรือสิ่งแวดล้อม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

 Acid กรด

เป็นสารชนิดหนึ่งในทางเคมี โดยทั่วไปแล้วหมายถึงสารชนิดใดก็ได้ที่สามารถละลายน้ำได้ และเกิดสารละลายที่มีค่าpH น้อยกว่า 7 ในทางวิทยาศาสตร์ กรดหมายถึงโมเลกุลหรือไอออนที่สามารถให้ไฮโดรเจนไอออน (H+) แก่เบสได้ เมื่อกรดทำปฏิกิริยากับเบสจะสะเทินทำให้ได้เกลือ หรือ น้ำกับเกลือตัวอย่างของกรดที่พบบ่อยได้แก่ กรดมะนาว กรดน้ำส้มสายชู กรดกำมะถัน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

 Acid rain

ฝนกรด 

น้ำฝนที่มีค่าความเป็นกรด-เบส (pH value) ต่ำกว่าระดับ 5.6 กรดในน้ำฝนเกิดจากการละลายน้ำของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนตริกออกไซด์ ที่มีอยู่ในบรรยากาศ 
ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

Agent orange

ฝนเหลือง

ฝนเหลืองมาจากชื่อเล่นภาษาอังกฤษว่า Agent Orange เป็นสารผสมจากสารเคมี 2 ตัวคือ 2,4-D และ 2,4,5-T ซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชในกลุ่มchlorophenoxy herbicide ทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อสิ่งมีชีวิต

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

 Aerated Lagoon สระเติมอากาศ 

เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติม
อากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้ 
เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ สำหรับจุลินทรีย์
สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้นกว่า
การปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสีย
แบบบ่อเติมอากาศสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

 Aerobic Bacteria

 แบคทีเรียใช้อากาศ

แบคทีเรีย (bacteria) ที่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต เพื่อการหายใจ (respiration) แบคทีเรียกลุ่มนี้ เจริญได้ในภาวะที่มีอากาศ หรือมีออกซิเจน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

Anaerobic Bacteria

แบคทีเรียไม่ใช้อากาศ

อาจเรียกว่า strict anaerobe หรือ obligate anaerobe คือ
กลุ่มของแบคทีเรีย (bacteria) ที่เจริญได้ในภาวะที่ไม่มีอากาศ
หรือไม่มีออกซิเจนเท่านั้น ออกซิเจนเป็นพิษต่อเซลล์ของแบคที
เรียกลุ่มนี้ แบคทีเรียกลุ่มนี้ สามารถเจริญได้ในภาวะสูญญากาศ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

Anaerobic Treatment System

ระบบบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ

ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยวิธี Anaerobic เป็นวิธีที่ไม่ต้องเติมออกซิเจนหรือนิยมเรียกว่า ระบบไร้ออกซิเจนหรือถังหมัก ระบบนี้เริ่มนิยมใช้กันแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะสามารถประหยัดพลังงานในการเติมอากาศและยังได้พลังงานที่เกิดจากระบบไร้ออกซิเจนได้แก่ก๊าซมีเทน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

Air temperature อุณหภูมิอากาศ

อุณหภูมิของอากาศที่วัดได้จาก Thermometer

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

Agricultural Pollution มลพิษจากการเกษตร

เกิดจากของเสียจากการทำเกษตรกรรม (Agricultural Waste) ได้แก่
- ใช้ปุ๋ยผิดวิธี ปริมาณมาก
- สารกำจัดศัตรูพืชหรือวัตถุมีพิษทางการเกษตร (Pesticiees)
- สิ่งขับถ่ายจากปศุสัตว์ ซากพืชซากสัตว์
- การสึกกร่อนพังทลายของดิน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

 Agricultural waste ของเสียจากทางการเกษตร

แหล่งกําเนิดขยะที่สําคัญมาจากกิจกรรมการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร มักประกอบด้วย มูลสัตว์เศษหญ้า เศษพืชผัก ภาชนะบรรจุยาปราบศัตรูพืช ในอดีตของเสียเหล่านี้ส่วนใหญ่ (ยกเว้น ภาชนะบรรจุยาปราบศัตรูพืช) มักถูกนํามาไถกลบลงบนพื้นที่ที่จะทําการเพาะปลูก ซึ่งถือ เป็นการหมุนเวียนเอาของเสียที่เกิดขึ้นนํากลับมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีแต่ปัจจุบันนี้ได้มีการเร่งผลผลิตให้ได้ปริมาณมากขึ้นตามจํานวนของประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงมีการนําปุ๋ยเคมีมาใช้แทนทําให้ปริมาณของมูลฝอยจากการเกษตรเพิ่มปริมาณมากขึ้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

 Alkali Waste  ของเสียด่าง

หมายถึงของเสียที่มีค่า pH สูงกว่า 8 และมีด่างปนอยู่ในสารละลายมากกว่า 5% เช่น คาร์บอเนต, ไฮดรอกไซด์ ,แอมโมเนีย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Agrochemicals  สารเคมีทางการเกษตร สารเคมีกลุ่มหนึ่งที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้น หรือได้จากธรรมชาติ มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ควบคุม และทำลายศัตรูพืช ได้แก่ โรคพืช แมลง วัชพืช และศัตรูสัตว์ ได้แก่ เชื้อโรค แมลง ปรสิต ศัตรูมนุษย์ ได้แก่ เชื้อโรค แมลง และสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Arable Land  พื้นดินเพาะปลูกได้ พื้นที่การเกษตรที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชไม่ว่าจะเป็นข้าว พืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผล ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ และจะต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ตามประกาศของกรมป่าไม้ รวมถึงไม่ใช่พื้นที่ที่มีความลาดชันจนเกินไป โดยในการศึกษาจะพิจารณาจากพื้นที่ที่ทำการเกษตรในปัจจุบันจากแผนที่การใช้ที่ดิน จากนั้นจึงนำมาพิจารณาร่วมกันกับปัจจัยในด้านอื่นๆ ได้แก่ ชนิดดิน ขอบเขตพื้นที่ป่าไม้ และความลาดชันของพื้นดินมาวิเคราะห์ซ้อนทับแบบเวคเตอร์ (Vector Overlay analysis) ด้วยฟังก์ชันในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System, GIS) แสดงแผนผังในการวิเคราะห์

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Acid Soil  ดินเปรี้ยว ,ดินกรด

ดินที่มีค่า PH วัดได้ต่ำกว่า ๗.๐ ดังนั้น ดินเปรี้ยวจัด (Acid sulfate soil) จึงเป็นดินเปรี้ยว หรือดินกรดชนิดหนึ่ง แต่มีความหมายแตกต่างจากดินกรดโดยทั่วๆ ไป หรือดินกรดธรรมดา หนังสือคำบัญญัติศัพท์ภูมิศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. ๒๕๒๓) ได้ให้ความหมายว่า acid sulfate soil หมายถึง ดินเปรี้ยวจัด ดินกรดจัด หรือดินกรดกำมะถัน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Alkaline soil  ดินเค็ม

 

 

 Arable Land - พื้นดินเพาะปลูกได้
- ที่ดินทำกิน

 

 

 Available Nutrient  น้ำใช้ประโยชน์ได้

น้ำในดินซึ่งพืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ โดยมีเงื่อนไขว่า รากจะต้องมีความแข็งแรงเนื่องจากมีการถ่ายเทอากาศเพียงพอต่อความต้องการของราก อีกนัยหนึ่งคือ ปริมาณน้ำในดินที่อยู่ระหว่างความจุความชื้นสนาม ( field moisture capacity ) กับจุดเหี่ยวถาวร ( permanent wilting point )

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Anthracite  แอนทราไซต์

เป็นถ่านชนิดหนึ่ง แข็งและมีความวาวสูง มีความเป็นคาร์บอนสูงที่สุดในบรรดาถ่านทั้งหมด และให้พลังงานความร้อนสูงที่สุด แอนทราไซต์ เป็นถ่านที่แปรสภาพมากที่สุด มีปริมาณคาร์บอน 92-98% และสารเศษซากอื่นๆ 2-8% แต่จะจุดติดได้ยาก บางครั้งเรียกว่า ถ่านไบด์ (Blind coal), ถ่านคิลเคนนี (Kilkenny coal), ถ่านอีกา (Crow coal) และเพชรดำเป็นต้น แล้วแต่สถานที่ต่างๆ กันไป ส่วนถ่านแอนทราไซต์ที่มีคุณภาพต่ำเราเรียกว่า คัมล์ (Culm)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Aquatic Ecosystem  ระบบนิเวศทางน้ำ

ระบบที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตภายในระบบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ 
1. ระบบนิเวศน้ำจืด เช่น แม่น้ำ คลอง ลำธาร บึง ห้วย เป็นต้น
2. ระบบนิเวศน้ำเค็ม เช่น ทะเล มหาสมุทร

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Afforestation การปลูกป่า การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินที่กระทำโดยมนุษย์ จากพื้นที่ที่ไม่เคยเป็นป่ามาก่อนในระยะเวลา 50 ปี ให้กลายเป็นป่า โดยการปลูก หว่านเมล็ด หรือการส่งเสริมให้เกิดการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Boiling Point จุดเดือด อุณหภูมิที่ของเหลวมีความดันไอ (vapour pressure) เท่ากับความดันบรรยากาศ (atmospheric pressure) ที่อยู่รอบๆ ของเหลวนั้น เช่นน้ำมีจุดเดือด 100 C ที่ความดันบรรยากาศ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Base เบส สารละลายที่มีรสขม เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน หรือมีลักษณะลื่นๆ และเป็นสารประกอบที่มี OH และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ OH - ข้อจำกัดของทฤษฎีนี้คือ สารประกอบต้องละลายได้ในน้ำ และไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมสารประกอบบางชนิดเช่น NH 3 จึงเป็นเบส

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Bio fills  การฝังขยะโดยวิธีชีวภาพ

 

 

 Biodiversity  ความหลากหลายทางชีวภาพ

คุณสมบัติของชุมชนสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในระดับพันธุกรรมหรือยีน (gene) ขึ้นไปถึงระดับชนิดหรือสปีชีส์ (species) จนถึงความหลากหลายของกลุ่มสิ่งมีชีวิตเชิงนิเวศวิทยา (ecological community) สรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนี้เป็นผลพวง มาจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการตามกาลเวลา และตามสภาพวะสมดุลของธรรมชาติ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Butterfly Effect  ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก

เช่นการที่ผีเสื้อกระพือปีกสามารถก่อให้ เกิดเรื่องใหญ่ๆที่ไม่คาดคิดในระยะทางไกลๆได้ (เข้าทำนอง “เด็ดดอกไม้กระเทือนถึงดวงดาว”) เขา อธิบายไว้ว่า ในด้านทฤษฎีอุตุนิยมวิทยา ผีเสื้อตัวหนึ่งกระพือปีกที่ฮ่องกง สามารถที่จะทำให้ดินฟ้า อากาศที่แคลิฟอร์เนียเปลี่ยนแปลงได้เมื่อ 1 เดือนให้หลัง นี่คือกระบวนการที่เรียกว่า Butterfly Effect

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Biodegradation  การสลายทางชีวภาพ

สารเคมีที่สลายตัวของวัสดุจากเชื้อแบคทีเรียหรือทางชีวภาพอื่นๆ โดยมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศ การจัดการขยะ ชีวการแพทย์ และสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถย่อยสลายกลับไปเป็นธาตุตามธรรมชาติ สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายด้วยออกซิเจน หรือไม่ใช้ออกซิเจน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Biopesticides  สิ่งมีชีวิตกำจัดศัตรูพืช

สารชีวภาพที่ฆ่าแมลงศัตรูพืช คือ สารที่มีต้นกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตหรือมีส่วนผสมของสิ่งมีชีวิต เช่น ไวรัสและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น แบคทีเรียบาซิลลัสธูริงจิเอนซิส (Bacillus thuringiensis) หรือนิยมเรียกย่อว่า บีที (B.T.) เป็นต้น หรือผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต เช่น ฟีโรโมนส์หรือสารประกอบบางอย่างที่สกัดจากพืช เป็นต้น สารเหล่านี้ไม่ได้มาจากการสังเคราะห์ทางเคมีมักมีความจำเพาะสูงต่อสัตว์เป้าหมาย และย่อยสบายเองได้ง่ายตามธรรมชาติ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Biotransformation  การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ คือการเปลี่ยนแปลงสสารโดยกระบวนการทางชีวภาพ เช่นการใช้จุลินทรีย์จำพวกยีสต์ เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ หรือการใช้แบคทีเรียเปลี่ยนแป้งเป็นผงชูรสเป็นต้น
 Biological Wastewater Treatment  การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพ การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพ เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตเป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนสภาพของของเสียในน้ำให้อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาภาวะมลพิษต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ เปลี่ยนให้กลายเป็นแก๊ส ทำให้มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทในการช่วยเปลี่ยนสภาพสิ่งสกปรกในน้ำเสียคือพวกจุลินทรีย์ ได้แก่ พวกแบคทีเรีย โปรโตรซัว สาหร่าย รา และโรติเฟอร์ และจุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการบำบัดน้ำเสีย คือ พวกแบคทีเรีย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Bituminous coal  ถ่านหินบิทูมินัส

 เป็นหินตะกอนที่มีเนื้อตะกอนอัดกันแน่น มีสีดำ หรือบางครั้ง มีสีน้ำตาลดำ โดยทั่วไปแล้วใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าถ่านหิน บิทูมินัสมีคุณภาพสูงกว่าลิกไนต์ แต่มีคุณภาพต่ำกว่าแอนทราไซต์ บิทูมินัสเป็นหินตะกอนอินทรีย์ที่เกิดจากกระบวนการไดอะเจเนซิส ซึ่งเมื่อถูกความร้อนและโดนบีบอัดจะให้ วิตริไนต์ และ เอ็กซิไนต์ ออกมา บิทูมินัสมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ 60-80% และมีส่วนที่เหลือเป็นน้ำ,อากาศ,ไฮโดรเจน และซัลเฟอร์ ความร้อนที่บิทูมินัสให้อยู่ในช่วง 21ล้าน ถึง 30ล้าน Btu/ton หรือ 24-35 Mj/kg

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Bed Rock  หินดาน

 ชั้นหินแข็งที่อยู่ใต้ดิน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Biosphere Reseve  เขตสงวนชีวมณฑล

 พื้นที่ระบบนิเวศบนบก และ/หรือชายฝั่งทะเล ที่ได้รับการประกาศจากโครงการมนุษย์และชีวมณฑลขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO Man and the Biosphere - MAB) ประกอบไปด้วยพื้นที่แกนกลาง พื้นที่กันชน และพื้นที่รอบนอก ประเทศไทยมีเขตสงวนชีวมณฑลแห่งเดียวคือ เขตสงวนชีวมณฑลระนอง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Buffer Zones  เขตกันชนหรือแนวกันชน  เขตกันชน หรือพื้นที่แนวกันชน พื้นที่ซึ่งอยู่ระหว่างพื้นที่อนุรักษ์และ พื้นที่ ซึ่งมีการใช้ประโยชน์ที่เสี่ยงต่อเสถียรภาพของพื้นที่อนุรักษ์ สามารถเอื้ออำนวยประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อพื้นที่ข้างเคียง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งทางด้านชีววิทยาและทางสังคม สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ พื้นที่เขตกันชนภายในพื้นที่อนุรักษ์ เขตกันชนป่าไม้ เขตกันชนเศรษฐกิจ และเขตกันชนก่อสร้าง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Bio gas  ก๊าซชีวภาพ  เป็นแก๊สที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน ก๊าซชีวะภาพประกอบด้วยแก๊สหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทน 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็น แก๊สไฮโดรเจน ออกซิเจน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจน และไอน้ำ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Biochemical oxygen demand (BOD)  ปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์  ปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ในเวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 ºซ มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ค่าบีโอดีเป็นค่าที่มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ โดยใช้บ่งบอกถึงค่าภาระอินทรีย์ (Organic Loading) ใช้ในการหาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย และใช้สำหรับการตรวจสอบคุณภาพของน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Biological wastewater  การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ  เป็นวิธีการใช้สิ่งมีชีวิตซึ่ง ในระบบบําบัดน้ําเสียจะหมายถึงแบคทีเรียมาใช้กําจัดหรือลดสารอินทรีย์ต่างๆในน้ําเสียลงให้ได้มากที่สุดโดยอาศัยหลักการใช้จุลินทรีย์มาย่อยสลายแปรเปลี่ยนสภาพสารอินทรีย์ต่างๆให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ใน
ระบบเติมอากาศ) หรือเป็นก๊าซมีเทน (ในระบบไม่เติมอากาศ) น้ําและเซลล์ใหม่ของมัน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Biomagnification  การเพิ่มขึ้นในสิ่งมีชีวิต  กระบวนการในระบบนิเวศที่มีความเข้มข้นสูงของสารในสิ่งมีชีวิตจะได้รับสูงขึ้นในห่วงโซ่อาหาร

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Chemical Oxygen Demand (COD)  ปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องการใช้เพื่อออกซิเดชันสารอินทรีย์ในน้ำให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ  ปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องการใช้เพื่อออกซิเดชันสารอินทรีย์ในน้ำให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ โดยใช้หลักการว่า สารประกอบอินทรีย์อินทรีย์เกือบทุกชนิดจะถูกออกซิไดซ์ด้วย Strong Oxidizing Agents (K2Cr2O7) ภายใต้สภาวะที่เป็นกรด ค่าซีโอดีมักจะมีค่าสูงกว่าบีโอดี เนื่องจากซีโอดีไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสารอินทรีย์ที่ถูกย่อยสลายทางชีวภาพและสารที่ยากต่อการย่อยสลายทางชีวภาพได้ แต่มีข้อดีคือ ใช้เวลาในการวิเคราะห์เพียง 3 ชม. เท่านั้น ค่าซีโอดีมีความสำคัญในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง การคุมระบบบำบัดน้ำเสีย การตรวจสอบคุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำเช่นเดียวกับค่าบีโอดี และยังสามารถใช้ในการประเมินค่าบีโอดีย่างคร่าวๆได้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Climate change  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอันเป็นผลจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนองค์ประกอบของบรรยากาศโลกโดยตรงหรือโดยอ้อมและที่เพิ่มเติมจากความแปรปรวนของสภาวะอากาศตามธรรมชาติที่สังเกตได้ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ฤดูกาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศในบริเวณที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Carbon credit  คาร์บอนเครดิต

 ก๊าซที่เป็นตัวทำให้ปฏิกิริยาเรือนกระจกต่างๆ ที่แต่ละโรงงานสามารถลดได้ จะถูกตีราคาเป็นเงิน ก่อนจะถูกขายเป็นเครดิตไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

 Carbon footprint  รอยเท้าคาร์บอน  เป็นค่าทางวิทยาศาสตร์ที่คำนวณปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมต่างๆ สู่บรรยากาศ โดยคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งการวัดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีทั้งทางตรงและทางอ้อม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Constructed wetlands  ระบบบำบัดน้ำแบบบึงประดิษฐ์  บึงประดิษฐ์เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยกระบวนการทางธรรมชาติกำลังเป็นที่นิยมมากขั้นในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้ว ข้อดีของระบบนี้คือ ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องใช้เทคโนโลยีในการบำบัดสูง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Carbon cycle  วัฎจักรคาร์บอน  การที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากกอากาศถูกนำเข้าสู่สิ่งมีชีวิต หรือออกจากสิ่งมีชีวิตคืนสู่บรรยากาศ และน้ำอีกหมุนเวียนกันไปเช่นนี้ไม่มีที่สิ้นสุดโดย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในบรรยากาศและน้ำถูกนำเข้าสู่สิ่งมีชีวิต ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (CO2) จะถูกเปลี่ยนเป็นอินทรียสารที่มีพลังงานสะสมอยู่ต่อมาสารอินทรียสารที่พืชสะสมไว้บางส่วนถูกถ่ายทอดไปยังผู้บริโภคในระบบต่าง ๆ โดยการกิน CO2 ออกจากสิ่งมีชีวิตคืนสู่บรรยากาศและน้ำได้หลายทาง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Clean River  - แม่น้ำที่สะอาด
 - แม่น้ำชั้นที่ 1

 พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่ควรสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ เนื่องจากว่าอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ง่ายและรุนแรง โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 ระดับชั้นย่อย คือ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A, ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ยังมีสภาพป่าสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2525 สำหรับลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน ชี มูล และลุ่มน้ำภาคใต้ ปี พ.ศ. 2528 สำหรับลุ่มน้ำภาคตะวันออก และปี พ.ศ. 2531 สำหรับลุ่มน้ำตะวันตก ภาคกลาง ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ และส่วนอื่นๆ (ลุ่มน้ำชายแดน) พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1B, เป็นพื้นที่ที่สภาพป่าส่วนใหญ่ได้ถูกทำลาย ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาหรือการใช้ที่ดินรูปแบบอื่นก่อน พ.ศ.2525

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Combined wastewater  น้ำเสียรวม

 น้ำที่มีสารใด ๆ หรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่พึงปรารถนาปนอยู่ การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกเหล่านี้ จะทำให้ คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ สิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย ได้แก่ น้ำมัน ไขมัน ผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเหม็นและเชื้อโรคต่าง ๆ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Carcinogenic Agent  สารก่อมะเร็ง

 สาร วัตถุ นิวไคลด์กัมมันตรังสี หรือการแผ่รังสีใดๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเสถียรภาพของจีโนม หรือการรบกวนกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ ธาตุกัมมันตรังสีบางชนิดก็ถูกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งการกระตุ้นนั้นจะมาจากรังสีที่แผ่ออกมา อาทิ รังสีแกมมาหรืออนุภาคแอลฟา สารก่อมะเร็งอย่างหนึ่งที่รู้จักโดยทั่วไปคือ ควันบุหรี่

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Chloro Fluorocarbons(CFC)  สาร คลอโรฟลูโอคาร์บอน

 คือสารประกอบที่เกิดจากคลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) และคาร์บอน (C) การปล่อยควันพิษของโรงงาน หรือแม้แต่ในสเปรย์ทุกชนิดฉะนั้นการใช้สเปรย์จึงเป็นการสร้างสาร CFC โดยสาร CFC นี้ เพราะว่าสาร CFC สามารถที่จะทำลายชั้นโอโซนทำให้ชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่ทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่ร้อนจัดและทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังในคนพื้นดินจะกลายเป็นทะเลทรายเกิดภาวะน้ำแล้งจนในที่สุดโลกก็จะถูกทำลาย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 chemical vapor deposition  เคลือบผิวด้วยไอระเหยทางเคมี  เป็นกระบวนการที่ทำให้อะตอมของคาร์บอนตกเคลือบลงบนแผ่นแกรไฟต์ กระบวนการตกเคลือบ CVD นี้เกิดขึ้นที่อุณหภูมิสูงถึง 1200-1500 องศาเซลเซียสในถังที่บรรจุแผ่นแกรไฟต์และแก๊สไฮโดรคาร์บอนจำพวกโพรเพน ความร้อนที่สูงมากจะทำให้พันธะไฮโดรเจนแตกตัวและปลดปล่อยอะตอมของคาร์บอนออกมาตกเคลือบลงบนแผ่นแกรไฟต์ ด้วยเหตุนี้ ชื่อเรียกที่ว่า ‘ไพโรไลติกคาร์บอน’ จึงเกิดขึ้นตามกระบวนการที่ใช้ผลิต ซึ่งคำว่า ‘pyro’ หมายถึง ‘ความร้อน’ และคำว่า “lysis หรือ lytic” หมายถึง ‘แตกตัว’ นั่นเอง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Civic Amenity site  พื้นที่ทิ้งขยะ  พื้นที่ซึ่งรัฐได้จัดไว้ให้ทิ้งขยะชุมชน ได้โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Clean Production  การผลิตที่สะอาด

 ที่มีความหมายใกล้เคียงกันกับ Clean Technology

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Clean Technology  เทคโนโลยีสะอาด  กลยุทธ์ในการปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดการทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เปลี่ยนเป็นของเสีย น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด จึงเป็นทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดค่าใช้จ่าย ในการผลิตไปพร้อม ๆ กันด้วย สำหรับประเทศไทย การนำเทคโนโลยีสะอาด มาใช้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 
1. เป็นการเสริมสร้าง ความสามารถ ในการแข่งขัน ในตลาดโลก เนื่องจากความได้เปรียบ ด้านต้นทุนและแรงงาน ของอุตสาหกรรมไทยมีน้อยลง 
2. เป็นการพัฒนาขีดความสามารถ และประสิทธิภาพ ของการประกอบธุรกิจ เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน ให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Chemical waste  ของเสียเคมี  สารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในการรักษาโรคสารเคมีที่ใช้ในห้องปฎิบัติการเพื่อการวินิจฉัยโรค สารเคมีที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Clinical waste  ของเสียจากการรักษาโรค

 ขยะที่เกิดขึ้นในกระบวนการรักษาพยาบาล ได้แก่
• เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ใช้ครั้งเดียวที่ใช้ในการเตรียมยา การให้ยาผู้ป่วย การตรวจร่างกาย การพยาบาลผู้ป่วย เช่น ผ้าก๊อส สําลี สายให้น้ำเกลือ กระบอกฉีดยา ถ้วยยา หมวกคลุมผม ขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
• ขยะที่มีความแหลมคม อาจทําให้เกิดการบาดเจ็บได้ ได้แก่ เข็มฉีดยา สายให้น้ำเกลือที่มีเข็มหรือหัวแทงขวดน้ำเกลือ ขวดยาฉีด เศษแก้ว ใบมีด เวชภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกแข็งมีคม
• วัสดุที่ใช้ในห้องปฏิบัติการหรืองานวิจัย เช่น petri dish, pipette 
• เนื้อเยื่อหรือของเหลวจากผู้ป่วย ได้แก่ ชิ้นเนื้อ เลือด สารคัดหลั่ง ปัสสาวะ อุจจาระ อาเจียน รวมทั้ง เหงื่อของผู้ป่วยในช่วง 2-3 วันหลังจากได้รับยาเคมีบําบัด
• ขยะที่เกิดจากการทําความสะอาด spill ได้แก่ สารดูดซับหรือสิ่งดูดซับที่มียาเคมีบําบัด คีม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Construction waste  ของเสียจากสิ่งก่อสร้าง

 เศษวัสดุต่างๆ ที่เกิดจากการก่อสร้าง หรือการรื้อถอน อาคารบ้านเรือน รวมถึงสิ่งที่หลงเหลือจากการตกแต่งอาคารด้วย เช่นเศษอิฐ เศษไม้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Clay Mineral  แร่ดินเหนียว

 นั้นเป็นแร่ทุติยภูมิซึ่งเกิดจากการผุพังของหิน โดยทั่วไปอนุภาคมีขนาดเล็กมากระดับไมครอน มีธาตุอลูมิเนียม ซิลิกอน และออกซิเจนเป็นองค์ประกอบหลักทางเคมี โครงสร้างของแร่ดินเหนียว หรือสารประกอบจำพวกแอนไฮดรัสอลูมิโนซิลิเกต ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแผ่น เกิดจากการเรียงซ้อนกันของ ชั้นอลูมินาและ ซิลิกา และในระหว่างชั้นนี้จะมีไอออนบวกของธาตุโลหะ เช่น โซเดียม แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียมและเหล็กแทรกอยู่

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Cropping System  ระบบการปลูกพืช

 วิธีการปลูกพืชต่างๆ ทั้งชนิดเดียวหรือหลายชนิดลงบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยมีการจัดการที่แตกต่างกันเข้ามาเป็นองค์ประกอบของระบบ ซึ่งเกษตรกรจะได้รับผลผลิต
ในพื้นที่จากพืชที่ปลูกเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้น มากกว่า 1 ครั้งบนพื้นที่เดียวกัน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Crop Rotation   การปลูกพืชหมุนเวียน

 เป็นการไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือตระกูลเดียวกัน ติดต่อกันบนพื้นที่เดิม การปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลง และเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดิน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Calcareous Soil   ดินด่างจัด

 ดินที่มักมีแมงกานีสไม่เพียงพอแก่ความต้องการของพืชคือดินด่างที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตอยู่ในดินเป็นปริมาณมาก (calcareous soil)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Community Based Solid Waste Management(CBM)  การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน  กระบวนการจัดการขยะแบบผสมผสาน มีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะ ณ แหล่งกำเนิดขยะ ได้แก่ ครัวเรือนต่างๆ ในชุมชนเพื่อลดปัญหาและต้นทุนการจัดการขยะมูลฝอยโดยทั้งภาครัฐและประชาชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน เพื่อพัฒนาชุมชนให้สะอาดและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Condensate  การควบแน่น  กระบวนการที่ก๊าซ แปรสภาพเป็นของเหลวการควบแน่นนั้น ส่วนใหญ่จะปรากฏให้เห็น ในการทดลองต่างๆที่เกี่ยวกับการควบแน่น และมักจะปรากฏในชีวิตประจำวัน เช่น การเกิดฝนนั่นเอง การควบแน่นนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่ได้ให้เห็นกันบ่อยๆและหยดน้ำที่เกาะข้างแก้วเป็นการกลั่นตัวแต่ใช้หลักการเดียวกันกับการควบแน่น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Coal  ถ่านหิน

 หินตะกอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลายล้านปี จนตะกอนนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆทั้งที่เป็นก๊าซและของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่าและเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน นอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Combined Wastewater  น้ำเสียรวม

 น้ำเสียที่มาจากการผสมระหว่างน้ำฝนกับน้ำเสีย จากอาคารหรืออุตสาหกรรม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 

Credit : http://www.environnet.in.th

 

Visitors: 630,485