สหภาพยุโรป

ในปัจจุบันนี้พบว่า สหภาพยุโรปได้กลายเป็นผู้นำทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจัดการก๊าซเรือนกระจก ทั้งในระดับสหภาพ และระดับประเทศสมาชิก นอกจากนี้ ยังมีมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และมาตรการแบบบังคับประเภทภาษีคาร์บอนกับการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (โดยใช้ระบบ Cap-and-Trade)

 

มาตรการด้านฉลากคาร์บอนในสหภาพยุโรป

ในเดือนพฤษภาคม ปี 2552 สหภาพยุโรปได้จัดการประชุมส่งเสริมการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production: SCP) เพื่อบริหารจัดการการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ทั้งเกษตรกร ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผู้ค้าสินค้าเกษตรกรรม ผู้ผลิตอาหาร ผู้ผลิตเครื่องดื่ม ผู้จัดหาบรรจุภัณฑ์ และ หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ กลุ่มผู้ค้าปลีกในสหภาพยุโรป (European Retail Forum) ได้ออกแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมผู้ค้าปลีก (Retailers’ Environmental Action Plan: REAP) ในการขยายเครือข่ายผู้ที่มีสมัครใจในการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผู้ค้าปลีกอีกด้วย การดำเนินการดังกล่าว นำไปสู่การพัฒนามาตรการฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในสหภาพยุโรปอย่างแพร่หลาย ดั่งเช่นใน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน เสปน เนเธอร์แลนด์ และฟินแลนด์ โดยแต่ละประเทศมีแนวทางในการประเมินค่าคาร์บอนฟุตพรินท์ในระดับประเทศ (National Guideline) แตกต่างกัน [Rattanawan et al., 2010]

 

มาตรการฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในสหภาพยุโรปมีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท เช่น ฉลากคาร์บอนในสหราชอาณาจักร ในห้าง Casino ของฝรั่งเศส ฉลาก Blue Angle ของเยอรมนี ฉลากคาร์บอนของสเปน เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และ ฉลาก “Climatop” ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ซึ่งเรียกว่าเป็นCarbon Champion ซึ่งจัดเป็นฉลากบ่งบอกว่าระดับคาร์บอนต่ำ (Type 1)) เป็นต้น

 

สหราชอาณาจักร ใช้ PAS 2050 เป็นแนวทางการประเมินค่าคาร์บอนฟุตพรินท์10 โดยประเภทของฉลากคาร์บอนที่ใช้ในประเทศอังกฤษ คือ ฉลากบอกขนาดคาร์บอนฟุตพรินท์ (Carbon-score Scheme)(Type 3) โดยค่าคาร์บอนฟุตพรินท์จะถูกประเมินอีกครั้งทุกๆ 2 ปี และค่าคาร์บอนฟุตพรินท์ต้องมีค่าต่ำ กว่าเดิม จึงจะสามารถต่ออายุฉลากคาร์บอนได้11 สินค้ากลุ่มแรกที่มีการติดฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์ใน สหราชอาณาจักร คือ มันฝรั่งตรา Walkers น้ำผลไม้ตรา Smoothies นมสด เครื่องดื่มโคคา-โคล่า สตรอเบอรรี่ และโยเกิร์ต นอกจากนี้ สินค้าในโครงการนำร่องของห้าง Tesco จำนวน 30 ชนิด (ซึ่งมี 5 ประเภท คือ มันฝรั่ง มะเขือเทศ น้ำส้ม หลอดไฟ และผงซักฟอก) ต่อมา มีบริษัทเข้าร่วมการติดฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์ เพิ่มอีก 7 บริษัท คือ บริษัทน้ำตาล บริษัทผลไม้ บริษัทน้ำแร่ และบริษัทเนย

 

ฝรั่งเศสได้หันมาให้ความสนใจเรื่องฉลากคาร์บอนมากขึ้น12 โดยใช้ Bilan Carbone เป็นแนวทางในการประเมินค่าคาร์บอนฟุตพรินท์ (ซึ่งประกาศใช้ครั้งแรกในเดือนมกราคม 2547) โดยออกแบบวิธีการประเมินฯสำหรับธุรกิจทุกประเภท หรือหน่วยงานอื่นๆ เช่น หน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานบริการสาธารณะและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรสามารถนำไปใช้คำนวณค่าคาร์บอนฟุตพรินท์ได้ โดยจัดทำอยู่ในรูปแบบของซอฟ์ทแวร์ โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดแนวทางในการประเมินค่าคาร์บอนฟุตพรินท์ คือ ADEME และ AFNOR สำหรับภาคเอกชนในฝรั่งเศสที่มีการดำเนินการด้านฉลากคาร์บอนคือ ห้างค้าปลีก Casino (โดยได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคและด้านการเงินจาก DEME) ต่อมาในปี พ.. 2551 ห้างค้าปลีก E. Leclerc เป็นภาคเอกชนรายที่สองในฝรั่งเศสที่ติดฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์บนชั้นวางรายการสินค้า นอกจากนี้ยังแสดงค่าคาร์บอนฟุตพรินท์รวมในใบเสร็จการซื้อสินค้าอีกด้วย

 

เยอรมนี มีการจัดทำฉลากคาร์บอนภายใต้โครงการนำร่อง (Product Carbon Footprint Project:PCF Project) ที่ถูกคัดเลือก คือโครงการเกี่ยวกับสินค้าอาหาร เช่น กาแฟ สตรอเบอรรี่ และไข่ไก่ เป็นต้น ลักษณะฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์ในเยอรมนี จะอยู่ภายใต้ฉลากสิ่งแวดล้อม (eco-label) ของเยอรมนีเดิม คือ ฉลาก Blue Angel แต่เพิ่มคำว่า KLIMA กำกับอยู่ด้านล่างแสดงวัตถุประสงค์ในการช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อนแทน

 

สวีเดน ใช้แนวทางของการออกใบรับรองด้านสภาวะโลกร้อนที่เรียกว่า Climate Certificate Label ซึ่งการประเมินข้อมูลในการจัดทำฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์นี้ ครอบคลุมสินค้าอาหารจำพวก เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และธัญพืช มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารข้อมูลไปยังผู้บริโภค เพื่อให้สามารถเลือกซื้อสินค้าโดยมีปัจจัยด้านผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อนเข้ามามีส่วนในการบริโภคสินค้า

 

สเปน เริ่มดำเนินการด้านฉลากคาร์บอนในสินค้าเกษตรและอาหารเมื่อปี 2552 โดยมีสินค้านำร่อง คือ น้ำมันมะกอก ไวน์ และ มะเขือเทศเชอรี่ โดยใช้แนวทางการประเมินค่าคาร์บอนฟุตพรินท์ของประเทศ อังกฤษหรือ PAS 2050 นอกจากนี้ ยังมีฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์ในการสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและประมง

 

เนเธอร์แลนด์ ริเริ่มดำเนินด้านฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์โดย บริษัทผู้ค้าส่งสินค้าอาหาร Eosta ซึ่งเป็นผู้พัฒนาฉลากชดเชยคาร์บอน ภายใต้พื้นฐานการประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ โดยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจาก การผลิต การขนส่ง การดำเนินการ และการค้าปลีก สามารถชดเชยได้จาก การทำเกษตรอินทรีย์ สินค้าที่มีการติดฉลากชดเชยคาร์บอน คือผลไม้ต่างๆ เช่น แอปเปิ้ล ลูกแพร์ ส้ม และมะเขือเทศ เป็นต้น

 

ฟินแลนด์ ดำเนินโครงการเกี่ยวกับการประเมินค่าคาร์บอนฟุตพรินท์เรียกว่า “Climate BonusProject” เมื่อปี 2552 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและบริษัทในประเทศฟินแลนด์ และ พันธมิตรด้านการเงิน เช่น KESKO ผู้ค้าปลีก HK Ruokatalo และบริษัทผลิตเนื้อสัตว์

 

มาตรการด้านพลังงานหมุนเวียนในสหภาพยุโรป

นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังให้ความสำคัญอย่างมากต่อการจัดการพลังงานหมุนเวียนภายในสหภาพยุโรป โดยในเดือนมีนาคม ค..2007 สหภาพยุโรป ได้กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Sources of Energy: RES) ให้ได้เป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายภายใน ปี ค..2020 นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเป้าหมายการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (energy efficiency) เพื่อลดการใช้พลังงานทั้งหมดในสหภาพยุโรปลงให้ได้ร้อยละ 20 จากระดับโครงการ (projected levels) ภายในปี ค..2020 และตามเป้าหมายสหภาพยุโรปจะเพิ่มสัดส่วนการใช้ Biofuel ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินและดีเซลสำหรับการขนส่ง13 ภายในปี ค..2020

 

 

 

European Environment Agency (EEA) ได้ประมาณการว่าในปี ค..2020 ศักยภาพของการผลิตพลังงานลมจะมากกว่าความต้องการไฟฟ้าของสหภาพยุโรปประมาณ 3 เท่า และจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 เท่าภายในปี ค..2030 โดยแหล่งผลิตหลักๆ จะอยู่ในประเทศเยอรมนี สเปน เดนมาร์ก โปรตุเกส และไอร์แลนด์ ซึ่งในปัจจุบันตลาดพลังงานลมในยุโรปขยายตัวประมาณร้อยละ 35 ต่อปี และพลังงานลมที่ผลิตได้ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปคิดเป็นประมาณร้อยละ 75 ของพลังงานลมที่ผลิตได้ทั้งหมดในโลก

 

สหภาพยุโรปเป็นแหล่งผลิตพลังงานแสงอาทิตย์หลักของโลก โดยในปี ค..2002 ร้อยละ 50 ของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้ในโลกมาจากสหภาพยุโรป ซึ่งประเทศผู้ผลิตหลักคือประเทศเยอรมนี และโปรตุเกส โดยในปี ค..2004 เยอรมนีกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 794 เมกกะวัตต์ และคาดว่ากำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,500 เมกกะวัตต์ภายในปี ค..2010แหล่งผลิตพลังงานคลื่นในสหภาพยุโรปอยู่ในประเทศโปรตุเกสและประเทศสก็อตแลนด์ โดย Wave Farm ในประเทศโปรตุเกสซึ่งเปิดดำเนินการในปี ค..2008 นับเป็น Wave Farm เชิงพาณิชย์แห่งแรก

ของโลกมีกำลังการผลิต 2.50 เมกกะวัตต์ และจะขยายกำลังการเพิ่มขึ้นเป็น 21 เมกกะวัตต์ในอนาคต

 

ปัจจุบันประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศมีมาตรการในการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่สองมาตรการ ได้แก่ (1) Feed-in tariff (FiT) Systems คือ ผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนจะได้รับเงินส่วนเพิ่มในการขายพลังงานหมุนเวียนในตลาด ซึ่งเงินที่ได้รับจะแต่งต่างกันขึ้นอยู่กับสถานที่ผลิตพลังงาน เทคโนโลยีที่ใช้ เป็นต้น และ (2) Tradable Green Certificate (TGC) Systems มีการใช้ในประเทศเบลเยียม อิตาลี โปแลนด์ โรมาเนีย สวีเดน และสหราชอาณาจักร ในการใช้มาตรการนี้ผู้ผลิตพลังงานจะได้รับการกำหนดโควต้าปริมาณการผลิตพลังงานหมุนเวียนขั้นต่ำจากรัฐบาลในรูปของใบอนุญาต โดยใบอนุญาตดังกล่าวสามารถซื้อขายระหว่างกันได้ ซึ่งภายใต้การใช้มาตรการนี้ ผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน

สามารถได้รับผลประโยชน์ทางการเงินเพิ่มขึ้นจากการขายใบอนุญาตในตลาด

 

การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนในบางประเทศของสหภาพยุโรป สามารถสรุปได้พอสังเขปดังนี้

 

เยอรมนี เป็นผู้นำของสหภาพยุโรปในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์และ Biofuel โดยการผลิตพลังงานลมประเภท Onshore ของเยอรมนี คิดเป็นร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตพลังงานลมทั้งหมดในสหภาพยุโรป และในปี ค..2006 ร้อยละ 70 ของพลังงานหมุนเวียนในเยอรมนีมาจากชีวมวล และร้อยละ 11.8 ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศผลิตมาจากพลังงานหมุนเวียน รัฐบาลเยอรมนีมีนโยบายการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนตาม Energy Act 2004 ดังนี้ () ใช้ Feed-in Tariff สำหรับพลังงานลม ทั้งประเภท Onshore และ Offshore พลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล พลังงานน้ำ และพลังงานความร้อนใต้พิภพ และ () การให้อุดหนุนสำหรับพลังงานหมุนเวียน ซึ่งประสบความสำเร็จมากในการสนับสนุนพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวมวล และมีการลดการเก็บภาษีสำหรับพลังงานประเภท Biofuelก๊าซชีวภาพ และเอทานอล

 

เดนมาร์ก ผลิตพลังงานลมประเภท Offshore ซึ่งมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยปีละประมาณร้อยละ 71 และปัจจุบันกำลังติดตั้ง Offshore Wind Farm อีกสองแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมีกำลังการผลิตประมาณ 200 เมกกะวัตต์ ส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่นของเดนมาร์กยังมีอัตราการเติบโตต่ำ รัฐบาลเดนมาร์กมีนโยบายการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน ดังนี้ () ให้ Environmental Premium 13 ยูโร/MWh และเงินชดเชยส่วนเพิ่มจำนวน 3 ยูโร/MWh แก่ผู้ผลิตพลังงานลมประเภท onshore รายใหม่เป็นระยะเวลา 20 ปี และกำหนด Feed-in Tariff คงที่สำหรับผู้ผลิตชีวมวลและก๊าซชีวภาพ และ () ยกเว้นการเก็บภาษีพลังงานและภาษีคาร์บอนจากผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน

 

สวีเดน มีการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่สูงกว่าเป้าหมายของสหภาพยุโรป แม้ว่าในปี ค..1997-2004 จะมีการผลิตพลังงานหมุนเวียนลดลง เนื่องจากการผลิตพลังงานจากพลังงานน้ำลดลง แต่การผลิตพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่น เช่น พลังงานหมุนเวียนจากขยะ พลังงานชีวมวล พลังงานลมประเภท Offshore และ พลังงานแสงอาทิตย์ มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น สวีเดนมีนโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน ดังนี้ () ในปี ค..2007 เริ่มมีการใช้มาตรการ Tradable Green Certificate โดยการให้โควตาแก่ผู้ผลิต ไฟฟ้า และมีการให้ Environmental Premium แก่ผู้ผลิตพลังงานลม () ตั้งแต่ปี ค..2005 ในภาคขนส่งจะต้องมีการใช้เชื้อเพลิงหมุนเวียนอย่างน้อยร้อยละ 3 ของการใช้เชื้อเพลิงทั้งหมด และยานพาหนะอย่างน้อยร้อยละ 36 ที่ใช้ในปี ค..2006 จะต้องใช้ก๊าซชีวภาพ เอทานอล หรือไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิงซึ่งรัฐบาลจะเพิ่มจำนวนสถานีให้บริการเชื้อเพลิงหมุนเวียนในประเทศ โดยการให้เงินอุดหนุนสำหรับการลงทุนติดตั้งสถานีให้บริการเชื้อเพลิงหมุนเวียน และ () ให้การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ให้พลังงานความร้อนในทางอ้อม โดยการเพิ่มภาษีเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ

 

สหราชอาณาจักร ให้การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนโดยการใช้มาตรการ Tradable GreenCertificate (TGC) และโครงการการให้เงินกู้ยืมและเงินสนับสนุนต่างๆ โดยในระหว่างปี ค..2000-2005 การผลิตพลังงานหมุนเวียนมีการเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 70 และปัจจุบันสหราชอาณาจักรได้เพิ่มศักยภาพการผลิตพลังงานลมทั้งประเภท Onshore และ Offshore นอกจากนี้ สหราชอาณาจักรมีนโยบายการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน ดังนี้ () มีการใช้มาตรการ TGC โดยราคาในการซื้อใบอนุญาตในปี ค..2007-2008 เท่ากับ 33.24 ปอนด์/MWh ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนราคาทุกปีตามดัชนีราคา และ () มีการให้เงินกู้แก่ผู้ลงทุนผลิตพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ โดยงบประมาณเงินกู้และระยะเวลาของเงินกู้

ที่กำหนดไว้จะแตกต่างกันตามประเภทของพลังงาน

 

มาตรการด้านตลาดคาร์บอนในสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรปใช้ระบบ Cap-and-Trade ในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศสมาชิก ซึ่งส่งผลให้มีการพัฒนาตลาดคาร์บอนขึ้น ตัวอย่างเช่น EU ETS กับ UK ETS ซึ่งสรุปได้ดังนี้

 

สหภาพยุโรปมีการจัดตั้งตลาดคาร์บอนขึ้นภายใต้ Directive 2003/87/EC โดยมีระยะเวลา 8 ปีแบ่งเป็น ช่วงแรก คือ ปี ค.. 2005 – 2007 และช่วงที่สอง คือ ปี ค.. 2008 – 2012 เพื่อรองรับกับพันธกรณีในช่วงแรกของพิธีสารเกียวโตที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 8% ภายในปี ค..2012 จากปีฐานอ้างอิงคือปี ค..1990 ลักษณะตลาดคาร์บอนของสหภาพยุโรปมีการวางกฎเกณฑ์ไว้อย่างกว้างๆ แต่ได้มีการกำหนดให้ประเทศสมาชิกทำแผนการจัดเก็บก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ โดยต้องสามารถ เชื่อมโยงกับตลาดสหภาพยุโรปด้วย ทั้งนี้วิวัฒนาการของเงื่อนไขใน EU ETS สามารถสรุปได้ดังนี้ (ตารางที่2.5)

 

 

          ในช่วงที่สาม ปี ค.. 2013-2020 สวิสเซอร์แลนด์อาจจะเข้าร่วมด้วยในปี ค.. 2013 ในช่วงที่สามนี้ได้เพิ่มชนิดก๊าซเรือนกระจกที่จะควบคุมประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์และเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน มาจากภาคเศรษฐกิจเช่นเดียวกับช่วงที่สองและได้เพิ่มเติมภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย เช่น ปิโตรเคมี เป็นต้น

 

วิธีการจัดสรรใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เริ่มจากจัดสรรตามประวัติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีตที่ผ่านมาโดยการให้เปล่า ต่อมาจึงได้พัฒนาเป็นการประมูลซื้อใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในช่วงที่หนึ่งนั้น มีการจัดสรรใบอนุญาตแบบให้เปล่าถึง 99% ของจำนวนใบอนุญาตทั้งหมดส่วนในช่วงที่สอง ได้มีการประมูลใบอนุญาต 4% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ควบคุมทั้งหมด สำหรับส่วนที่เหลือ 96 % ยังคงจัดสรรโดยวิธีให้เปล่าต่อไป ในขณะที่ช่วงที่สาม ปี ค.. 2013 มีการกำหนดให้ประมูลซื้อใบอนุญาตมากกว่า 50% ของจำนวนใบอนุญาตทั้งหมด แต่อย่างไรก็ยังมีการจัดสรรแบบให้เปล่าต่อไปเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น

 

ในช่วงที่หนึ่ง ยังไม่ได้กำหนดให้มีการใช้คาร์บอนเครดิต แต่ในช่วงที่สองและสามได้อนุญาตให้ใช้เป็นจำนวน 1.4 GtCO2e และ 1.68 GtCO2e ตามลำดับ ส่วนในด้านค่าปรับและบทลงโทษนั้น หากประเทศสมาชิกไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามที่กำหนด จะต้องชำระค่าปรับ 40 ยูโรต่อตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ในช่วงที่หนึ่ง) และเพิ่มเป็น 100 ยูโรต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า(ในช่วงที่สองและสาม) ซึ่งแม้ว่าจะชำระค่าปรับแล้วก็ยังคงต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากกว่าที่ได้รับจัดสรรในปีถัดไปเพื่อชดเชยการปล่อยที่มากเกินไปด้วย

 

สหราชอาณาจักรมีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือยกระจกให้ได้ร้อยละ12.5 ของปี ค..1990 ภายในปี ค.. 2012 และรัฐบาลมีความใส่ใจในการออกมาตรการสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศของตน โดยมีมาตรการอย่างน้อย4 ประการ คือ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอน(ClimateChange Levy: CCL) การทำข้อตกลงในการลดก๊าซเรือนกระจก (Climate Change Agreement: CCA) การตั้งตลาดคาร์บอน (UK ETS) และการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน

 

รูปแบบตลาดคาร์บอนในสหราชอาณาจักร หรือ UK ETS เกิดขึ้นจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างภาครัฐและองค์กรเอกชนที่เรียกว่า “ UK Emission Trading Group” ในช่วงแรกของการตั้งตลาดคาร์บอนรัฐเป็นผู้กำหนดผู้เข้าร่วมตลาด จำนวน 36 หน่วยธุรกิจซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งขนาดธุรกิจและสาขาการผลิต มีการกำหนดควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกชนิด ต่อมาผู้เข้าร่วมตลาดประกอบด้วยหน่วยธุรกิจหรือองค์กรต่างๆอาทิ ร้านค้า โรงพยาบาล สถานศึกษา การขนส่ง และโรงงาน โดยมีเงื่อนไขว่ามีความต้องการใช้พลังงานมากกว่า 3,000 Mwh ต่อปี ในการจัดสรรใบอนุญาตการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก แบ่งออกเป็น  2 ระดับ คือระดับสาขา และระดับหน่วยธุรกิจ โดยให้แต่ละสาขากำหนดเป้าหมายการลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาของตนก่อนแล้วจึงดำเนินการจัดสรรสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแก่หน่วยธุรกิจในสาขาต่อไป นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมตลาดยังได้รับสิ่งจูงใจสำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปของเงินอุดหนุน แต่อย่างไรก็มีการกำหนดบทลงโทษกับผู้ที่ไม่สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

 

นอกจากนี้เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 80% ภายในปี ค.. 2050 จากปีฐาน ค..1990 สหราชอาณาจักรจึงได้ออกมาตรการแบบบังคับเพิ่มเติม เรียกว่า Carbon ReductionCommitment Energy Efficiency Scheme (CRCEES) ซึ่งมาตรการนี้ใช้ควบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของ EU ETS และ CCA โดยครอบคลุมหน่วยธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนประมาณ 5,000 องค์การที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 6,000 Mwh ต่อปี โดยเริ่มบังคับใช้ในปี ค.. 2010 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การขนาดใหญ่ได้อีกทางหนึ่ง

 

 

 

Visitors: 635,019