อินเดีย

รัฐบาลอินเดียให้ความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เนื่องจาก ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพในสาขามีความเปาะบางต่อผลกระทบจากปัญหาสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (เช่น เกษตรกรรม และป่าไม้) ซึ่งได้รับผลกระทบทางลบอย่างมาก เช่น ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ความถี่ของภัยธรรมชาติเพิ่มขึ้น และปริมาณน้ำฝนลดลงซึ่งเป็นสาเหตุของความไม่มั่นคงทางด้านอาหาร เป็นต้น

 

อินเดียมีจุดมุ่งหมายที่จะควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น โดยอยู่บนหลักการพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ หนึ่ง ขจัดความยากจน สอง หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความขาดแคลนอาหาร และ สาม การพัฒนาที่ยั่งยืน

 

เมื่อพิจารณาข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอินเดียในปี ค.. 1994 พบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีสัดส่วนมากที่สุด โดยมีปริมาณทั้งสิ้น 1,228,540 กิกะกรัม ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมในสาขาพลังงานร้อยละ 64 รองลงมาคือ สาขาเกษตร และสาขาการผลิตในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 28 และ 8 ตามลำดับ [India’s Initial National Communication, 2010]

 

มาตรการและนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใช้ในอินเดียแบ่งได้ 4 มาตรการได้แก่

 

(1) การวิจัย และการสังเกตอย่างเป็นระบบ (Research and systematic observation) งานวิจัยของอินเดียเกี่ยวกับการพยากรณ์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีมานานกว่า 200 ปีแล้ว โดยผลการพยากรณ์ และศึกษาถูกใช้อย่างกว้างขว้างในหลายสาขา เช่น เกษตรกรรม ป่าไม้ ชลศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียได้ลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆในการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น พลังงานทดแทน การปลูกป่าทดแทน การใช้พลังงานทางเลือกเช่น ก๊าซธรรมชาติ (CNG) และเอทานอล โดนรัฐบาลอนุญาตให้ผสมเอทานอลได้ร้อยละ 5 ในน้ำมันปิโตรเลียม

 

(2) การศึกษา ฝึกอบรม และการส่งเสริมความตระหนักถึงปัญหา (Education, Training and Public Awareness) เช่น การใช้เครื่องมือการเรียนการสอนในการเพิ่มความตระหนักต่อปัญหาภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศผ่านระบบการศึกษา และอบรมในหลักสูตร The Environmental Information System (ENVIS) รวมถึงการจัดหาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการใช้นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม แก่ ผู้วางแผนและกำหนดนโยบาย นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักเรียน ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต

 

(3) การกำหนดเป้าหมายซึ่งสัมพันธ์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Programmes related to Sustainable Development) เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างสมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมีการตั้งเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

(4) ข้อจำกัดกับช่องว่าง และความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการเงิน เทคโนโลยี และบุคลากร (Constraints and Gaps and related financial, technical and capacity need) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก

(5) นโยบายการใช้พลังงานหมุนเวียน เนื่องจากอินเดียถือว่าเป็นประเทศที่มีแหล่งพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่ ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำขนาดเล็ก และพลังงานชีวมวล โดยมีเป้าหมายการเพิ่มปริมาณพลังงานหมุนเวียนให้ได้เป็นร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานทั้งหมดในประเทศภายในปี ค..2012 นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะเพิ่มการก่อตั้งโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ การผลิตอุปกรณ์สำหรับผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ และ Solar City อีกด้วย [Singh and Sood, 2010]

 

ปัจจุบันประเทศอินเดียได้มีการร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพลังงานหมุนเวียน เนื่องจากพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานภายในประเทศในอนาคต โดยคาดว่าในปี ค..2031-2032 พลังงานหมุนเวียนจะมีกำลังการผลิตประมาณ 60,000 เมกกะวัตต์ และจะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจนในประเทศ

อินเดียมีกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนประมาณ 85,000 เมกกะวัตต์ โดย พลังงานลมมีกำลังการผลิต 45,000 เมกกะวัตต์ พลังงานน้ำขนาดเล็กมีกำลังการผลิต 15,000 เมกกะวัตต์ และพลังงานชีวมวลหรือชีวภาพประมาณ 25,000 เมกกะวัตต์  นอกจากนี้ยังมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ 35 เมกกะวัตต์ต่อตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่ที่มีศักยภาพประมาณ 140 ล้านตารางกิโลเมตร โดยในปี ค..2009 อินเดียมีแผนการลงทุนเป็นเงินจำนวน 19 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาเพื่อผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้จำนวน 20 กิกกะวัตต์ภายในปี ค..2020 [Kumar et al., 2010]

ในปี ค..2007 อินเดียมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (ไม่รวมไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ)ประมาณ 10,243 เมกกะวัตต์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.7 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศปัจจุบันอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนในอินเดียมีมูลค่าประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดยการลงทุนส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐบาล

 

(6) ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Multi-Commodity Exchange of India (MCX) ที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับ โครงการ CDM ภายในประเทศ เพราะรัฐบาลเล็งเห็นว่า โครงการ CDM จะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมในประเทศดีขึ้น จากทั้งแง่ของการลดการใช้พลังงาน การพัฒนาพลังงานที่สะอาด ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว นอกจากนี้ ตลาด MCX นี้ จะช่วยให้ผู้พัฒนาโครงการ CDM ได้รับราคาที่เป็นธรรมและช่วยลดต้นทุนการดำเนินการต่างๆ โดยมีแนวคิดให้คาร์บอนเครดิตนั้นมีลักษณะเป็นสินค้าชนิดหนึ่งในตลาด เช่นเดียวกันกับทองคำ น้ำมัน โลหะมีค่า มีการทำสัญญาซื้อขายและกำหนดระยะเวลาการส่งมอบเช่นกันกับสินค้าอื่นๆ

 

สำหรับตลาด MCX นี้ ตั้งอยู่ที่เมืองมุมไบ ถือว่าเป็นตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตแห่งแรกของเอเชีย และเป็นตลาดที่ 3 ต่อจากตลาด Chicago Climate Exchange (CCX) และตลาดของสหภาพยุโรปที่มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตแบบล่วงหน้า โดยตลาด MCX เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 แต่ก่อนหน้านั้นก็ได้มีการดำเนินการร่วมมือกับตลาด CCX ในการศึกษาการตั้งตลาดคาร์บอนฯในอินเดีย [นิรมล สุธรรมกิจ และคณะ, 2552]

 

ลักษณะของตลาด MCX พอสรุปได้ดังนี้

() ผู้เข้าร่วมตลาด ประกอบด้วยผู้ซื้อซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่รัฐเป็นผู้กำหนดในเบื้องต้นโดยเป็นกลุ่มฯที่รัฐเห็นสมควรว่า ต้องมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ อุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานสูง คือ เหล็ก เหล็กกล้า อลูมิเนียม ซีเมนต์ กระดาษ ส่วนผู้ขายนั้นมีหลากหลายอุตสาหกรรม เช่นกัน โดยแบ่งเป็นภาคเกษตร ภาคพลังงานทดแทน (พลังงานหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน) รวมถึงการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า (Afforestation & Reforestation) ด้วย ผู้เข้าร่วมตลาดอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญและมีบทบาทในการร่วมกันพัฒนาตลาด คือ นายหน้าหรือ Broker ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นคนกลางในระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ตลอดจนให้คำปรึกษาทางด้านการทำโครงการ CDM เช่น บริษัท Enzen Global เป็นต้น

 

() ประเภทของก๊าซเรือนกระจก เนื่องด้วยตลาด MCX ตั้งขึ้นเพื่อรองรับการขาย CERs จากโครงการ CDM ในประเทศ ก๊าซเรือนกระจกที่ซื้อขายกันนั้น ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PCFs) และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูโอไรด์ (SF6)

 

() ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ควบคุมและวิธีการจัดสรรก๊าซเรือนกระจก รัฐบาลอินเดียเข้ามามีบทบาทต่อการควบคุมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม โดยมีการกำหนดแผนการปฏิบัติงาน (Action Plan) ซึ่งได้กำหนดปริมาณอ้างอิง (benchmark) แตกต่างกันไปตามแต่ละอุตสาหกรรมและอนุญาตให้ซื้อขายใบอนุญาตกันได้ภายในอุตสาหกรรมของตนเอง

 

() การกำหนดราคา การกำหนดให้คาร์บอนเครดิตเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง และให้มีการซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนเช่นกันกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ จึงทำให้ราคาคาร์บอนเครดิตนั้นเป็นไปตามกลไกตลาด ทั้งนี้ ปัจจุบันตลาด MCX ยังไม่มีการกำหนดราคาหรือแทรกแซงราคาคาร์บอนเครดิต เช่น การกำหนดราคาขั้นสูง หรือการกำหนดราคาขั้นต่ำแต่อย่างใด

Visitors: 635,330