สาธารณรัฐประชาชนจีน

สาธารณรัฐประชาชนจีนเริ่มมีการดำเนินการด้านฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์เช่นกัน โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ The China Energy Conservation Coorperation (CECIC) ซึ่งทำงานร่วมกันกับองค์กร Carbon Trust ของประเทศอังกฤษ โดยมุ่งเป้าหมายในการวิเคราะห์ค่าคาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์ในธุรกิจด้านการส่งออก ปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบของฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์ของประเทศจีนเพราะอยู่ในช่วงดำเนินการ

 

สำหรับมาตรการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนนั้น จีนได้ออกกฎหมาย Renewable Energy Law 2005 (REL) เพื่อสนับสนุนและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ ซึ่งส่งผลให้การผลิตพลังงานหมุนเวียนในประเทศจีนได้ขยายตัวขึ้นอย่างมาก โดยตั้งแต่สิ้นปี ค..2005-สิ้นปี ค..2007 กำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนได้เพิ่มร้อยละ 30.6 และร้อยละ 20.6 ตามลำดับ โดยพลังงานหมุนเวียนที่มีการเติบโตมากที่สุดคือพลังงานลม ซึ่งตั้งแต่ปี ค..2006-..2008 มีอัตราการเติบโตกว่าสองเท่าในแต่ละปี

 

ต่อมา รัฐบาลจีนได้จัดทำแผนหลักสำหรับการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศ คือ Eleventh Five-Year Plan for Renewable Energy Development (EFYPRED) และ Mid- and Long-Term Plan for Renewable Energy Development (MLTPRED) ซึ่งจากเป้าหมายใน MLTPRED นั้น ปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศจีนควรเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศภายในปี ค.. 2010 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศภายในปี ค.. 2020 นอกจากนี้ ในปี ค..2010 เป้าหมายกำลังการใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมดเท่ากับ 300 ล้านตัน ถ่านหินเทียบเท่า (ton of coal equivalent: tce) ซึ่งจะมาจากไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเท่ากับ 248.24 ล้านตันถ่านหินเทียบเท่า (tce)ในส่วนของเป้าหมายในปี ค..2010 และ ค..2020 กำลังการผลิตไฟฟ้าจาก

พลังงานน้ำจะเป็นสัดส่วนร้อยละ 80 ของศักยภาพการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด [Wang et al., 2010 และ Zhanet al., 2009]

มาตรการในการสนับสนุนการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในประเทศจีนสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 มาตรการหลักๆ ได้แก่ [Sui et al., 2010]

() การรับประกันการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและการให้เงินอุดหนุน Renewable Energy Law (REL) ได้กำหนดให้มีการรับประกันการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิต เพื่อให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสามารถคุ้มทุนได้ โดยภาครัฐจะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด ในราคาที่กำหนดโดยรัฐบาล ซึ่งราคาที่รับซื้อจะสูงกว่าราคาไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อดึงดูดใจให้นักลงทุนลงทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เนื่องจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสูงกว่าการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

() เงินกองทุนของรัฐบาลสำหรับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน การตั้งเงินกองทุนในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน เริ่มดำเนินการก่อนการประกาศใช้ REL นั่นคือ เริ่มมีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค..1999 โดยให้การสนับสนุนในรูปแบบของเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือเงินสนับสนุน ซึ่งมีโครงการประมาณ 1,000 โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนนี้ สำหรับที่มาของเงินกองทุนนี้จะมาจากเงินภาษี

() มาตรการอื่นๆ REL ได้กำหนดมาตรการทางเศรษฐศาสตร์อื่นๆ ที่จะสนับสนุนการลงทุนในการผลิตพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ การส่งเสริมสถาบันการเงินในการให้เงินกู้แก่โครงการผลิตพลังงานหมุนเวียน การให้ประโยชน์ทางภาษีแก่โครงการผลิตพลังงานหมุนเวียน และการยกเว้นค่าธรรมเนียมหรือ ลดค่าธรรมเนียมในการนำเข้าอุปกรณ์ในการผลิตพลังงานหมุนเวียน เช่น กังหันลมผลิตไฟฟ้า เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์

Visitors: 635,032