ญี่ปุ่น

 

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีพันธกรณีในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามพิธีสารเกียวโต ซึ่งจะต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 6 ของปี ค.. 1990 ภายในปี ค.. 2012 โดยถูกกำหนดให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 1,186 ล้านตันคาร์บอนฯเทียบเท่า แต่ญี่ปุ่นกลับปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 1,282 ล้านตันคาร์บอนฯเทียบเท่า (ปี ค.. 2008) ซึ่งเกินกว่าที่มีพันธกรณีในการลดลงประมาณร้อยละ 8.09 ซึ่งหมายความว่าญี่ปุ่นจำเป็นต้องดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกลงอีก 96 ล้านเทียบเท่าตันคาร์บอน โดยสาขาที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดของญี่ปุ่น คือ สาขาพลังงาน โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 90 ของปริมาณการปลดปล่อยทั้งหมดของประเทศ รองลงมาคือ กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และ เกษตรกรรมตามลำดับ

 

ดังนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนภายในประเทศทั้งภาคเอกชนและครัวเรือน ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ซึ่งส่วนมากแล้วนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกในญี่ปุ่นยังเป็นแบบสมัครใจ ซึ่งในอดีตประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศใช้มาตรการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกหลายแนวทางเช่น The Action Program to Arrest Global Warming (1990), Basic Policy onMeasures to Tackle Global Warming (1999), The Outline for Promotion of Efforts to Prevent GlobalWarming (1998, 2002) เป็นต้น ต่อมารัฐบาลของญี่ปุ่นได้ปรับปรุง และทบทวนแนวทางทั้งหมดเพื่อให้ สอดรับกับสถานการณ์ที่เป็นจริง โดยมีหลักการคือยึดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามพันธกรณีที่มีต่อพิธีสารเกียวโต และคำนึงถึงความสมดุลระหว่างคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเน้นการคิดค้นนวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีใหม่ๆที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากการมีพันธกรณีต่อพิธีสารเกียวโตซึ่งเป็นมาตรการเชิงบังคับให้ต้องลดก๊าซเรือนกระจกแล้วรัฐบาลญี่ปุ่นยังมีแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกตามแนวคิดสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ซึ่งถือเป็นมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจจากทุกภาคเศรษฐกิจของสังคม

 

แนวทางสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) เป็นแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก โดยสมัครใจ ซึ่งอาจจะถือว่าประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศใช้แนวทางนี้อย่างเป็นทางการ โดยการแสดงวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรียาสุโอะฟูกูดะ (Yasuo Fukuda) เกี่ยวกับสังคมคาร์บอนต่ำ (..2008) ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้ สามารถสรุปเป็นหลักการสำคัญๆ ได้ 3 ประการคือ

(1) การนำพาประเทศญี่ปุ่น ก้าวผ่านสังคมพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลสู่สังคมคาร์บอนต่ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

(2) การเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำจะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจรวมถึงการฟื้นฟูภูมิปัญญา และองค์ความรู้ดั้งเดิมของญี่ปุ่นให้กลับมามีบทบาท เพื่อการปรับตัวให้การใช้ชีวิตอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ และ

(3) การตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 60-80 จากปริมาณการปล่อยปัจจุบันภายในปี ค.. 2050 ผลของการประกาศใช้นโยบายในการลดก๊าซเรือนกระจกของญี่ปุ่น (เมื่อเทียบกับปี ค.. 1990) พบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมลดลงร้อยละ 6.6

 

 

 

นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นยังมีความริเริ่มในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศญี่ปุ่นโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ และ คณะ, 2553]

 

() Federation of Electric Power Companies of Japan เป็นสมาคมอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้าในปี ค.. 2010 โดยต้องลดลงจากปี ค.. 1990 ประมาณร้อยละ 20 จากการตั้งเป้าหมายดังกล่าวแม้คาดว่าปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้า ปี ค.. 2010 จะเพิ่มจากเดิม 1.5 เท่า แต่จำนวนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลงประมาณ 1.2 เท่า วิธีการที่ Federation of Electric Power Companies of Japan วางแผนและนำมาใช้คือ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโดยส่งเสริมส่วนผสมที่ดีที่สุดของแหล่งพลังงานในการผลิตอะตอมพลังงานไฟฟ้าส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการปรับเปลี่ยน ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับการฟื้นฟู การกำจัด และการรักษาเสถียรภาพของการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

 

() City Gas  ซึ่งมี Japan Gas Association (JGA) เป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนผู้ผลิตและจำหน่าย City Gas กว่า 211 บริษัททั่วประเทศญี่ปุ่น มีเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตก๊าซให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น จัดตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม ค.. 1947 และเปลี่ยนเป็นสมาคมในเดือนมิถุนายน ค.. 1952 ได้ตั้งเป้าหมายในการลดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไว้ด้วยเช่นกัน โดยกำหนดให้ในปี ค.. 2010 อุตสาหกรรมก๊าซต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากปี ค.. 1990 ร้อยละ 15 ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในขั้นตอนการผลิต การกระจายสินค้า และการบริโภคก๊าซ ซึ่งคาดการณ์ว่าสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 3.3 ล้านตันเทียบเท่าในรูปไนโตรเจน ทั้งนี้ยังมีแผนที่จะสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติและสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

 

() Japan Coal Association เป็นสมาคมอุตสาหกรรมถ่านหิน ได้ตั้งเป้าหมายในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน โดยตั้งเป้าหมายในการนำก๊าซมีเทน (ที่ถูกปล่อยออกมาจากการขุดถ่านหิน) กลับมาใช้ใหม่ให้ได้เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 44 จากปี ค.. 1995 ภายในปี ค.. 2010 และลดจำนวนการใช้ไฟฟ้าใน กระบวนการผลิตลงร้อยละ 57.5 จากปี ค.. 1995 ให้ได้ในปี ค.. 2010 เช่นกัน โดยมีวิธีการคือ ลดการใช้พลังงานจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และการพัฒนาเทคโนโลยีและลดการตัดไม้โดยพัฒนาวิธีการขุดถ่านหิน และเพิ่มระดับการบำรุงรักษาเหมืองแร่

 

() Nippon Keidanren (Japan Business Federation) จัดตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.. 2002 โดยในปี ค.. 2009 มีสมาชิกทั้งสิ้น 1,609 ราย ประกอบด้วยบริษัทต่างๆ รวมกัน 1,295 บริษัท สมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ 129 สมาคม และองค์กรเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ อีก 47 องค์กร พันธกิจที่สำคัญของNippon Keidanren คือการเร่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและของโลก สร้างความเข้มแข็งให้แก่ บรรษัทของญี่ปุ่นเพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และพัฒนาทรัพยากรบุคคลและชุมชนอย่างสร้างสรรค์และดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน สาขาที่อยู่ภายใต้ Nippon Keidanrenที่ได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาดังต่อไปนี้

- สาขาปิโตรเลียม โดย Petroleum Association of Japan ได้กำหนดเป้าหมายในการประหยัดพลังงานโดยจะลดจากปี ค.. 1990 ให้ได้ภายในปี ค.. 2010 ดังนี้ ลดการใช้พลังงานของโรงกลั่นน้ำมันลงร้อยละ 10 ลดการใช้เชื้อเพลิงจากการขนส่งทั้งทางบก และทางทะเลลงร้อยละ 9 ลดการใช้น้ำมันลง 1 ล้านกิโลลิตรต่อปี โดยเพิ่มการใช้ระบบโค-เจนเนอเรชั่น (co-generation) และศึกษาความเป็นไปได้ในอนาคตของการลดการใช้พลังงานลง ร้อยละ 1 ต่อปี16

- สาขาซีเมนต์ โดย Cement Association of Japan ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อลดการปลดปล่อย GHG ให้เทียบเท่ากับของประเทศเยอรมนี คือ 2,720 Kilojoule ต่อ 1 กิโลกรัมของการผลิตซีเมนต์ ซึ่งลดลงจากความต้องการเฉลี่ยต่อหน่วยในปี 1990 คือ 2,940 กิโลจูล ต่อ 1 กิโลกรัมของการผลิตซีเมนต์ และการใช้ไฟฟ้าของอุตสาหกรรมคือ 95.4 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อ 1 กิโลกรัมซีเมนต์ ซึ่งระดับทั้งสอง ถือได้ว่าเป็นระดับที่ต่ำกว่าระดับของประเทศอื่นๆ อย่างมากอยู่แล้ว ดังนั้น สมาคมฯ จึงจะไม่กำหนดเป้าหมาย แต่จะพยายามลดการใช้พลังงานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มาตรการที่สาขาซีเมนต์นำมาใช้คือ สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนจากขยะ สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนที่เหลือใช้สนับสนุนสัดส่วนการผลิตของซีเมนต์ผสมให้มากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานผลิต ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือจากภายนอก

- สาขาเหล็กและเหล็กกล้า โดย Japan Iron and Steel Federation มีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังนี้ การสนับสนุนการประหยัดพลังงานจากกระบวนการผลิต (ลดการใช้พลังงานในปี ค.. 2010 ลงประมาณร้อยละ 10 ของการใช้ในปี ค.. 1990) การร่วมมือกับชุมชน เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกและลดการใช้พลังงาน (ลดลงเทียบเท่าร้อยละ 3) การจัดหาเหล็กกล้าคุณภาพดีซึ่งช่วยประหยัดพลังงาน (ลดลงประมาณร้อยละ 4 ของสังคมทั้งหมด) และการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน โดยผ่านความร่วมมือในระดับนานาชาติ

 

- สาขาอลูมิเนียม Japan Aluminium Federation ตั้งเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศ คือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตจะต้องลดลงในปี ค.. 2010 ประมาณร้อยละ 10 จากปี ค.. 1995 (ซึ่งจำนวนทั้งหมดเพิ่มขึ้น 28,000 ตันต่อเดือน) การขยายสัดส่วนการใช้เศษอลูมิเนียมซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ร้อยละ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตใหม่ โดยจะขยายสัดส่วนการใช้เป็นร้อยละ 36 ในปี ค.. 2010 (ซึ่งในปี ค.. 1990 มีร้อยละ 18) ทำให้มีการลดก๊าซคาร์บอนออกไซด์ลง 127,000 ตันต่อเดือน และการชะลอการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะระงับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 300 ตันต่อเดือน

- สาขาขนส่ง โดย Japan Trucking Association นั้นไม่มีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ได้กำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงาน ไว้ดังต่อไปนี้ การใช้มาตรการเพื่อลดมลพิษทางเสียง การสนับสนุนร่างกฎหมายไนตรัสออกไซด์ การใช้มาตรการการขับขี่อย่างเหมาะสม (ถูกกฎจราจรและปลอดภัย) การสนับสนุนการขนส่งที่ใช่ร่วมกัน (car pool) การสนับสนุนกฎหมายลดมลพิษจากรถบรรทุก

 

 

() การพัฒนาฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์ (Carbon Footprint Label) แบบสมัครใจ สำหรับสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม ผงซักฟอกและเครื่องใช้ไฟฟ้า ปัจจุบันมีบริษัทที่เข้าร่วมจำนวน 30 บริษัท รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติให้การคำนวณของระบบฉลากไม่เคร่งครัดมาก แต่ยังคงอยู่ภายใต้พื้นฐานของมาตรฐานการคำนวณของประเทศอังกฤษ (PAS 2050) โครงการนำร่องได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) ในเดือนธันวาคม ปี พ.. 2551 บริษัท ที่เข้าร่วม แสดงฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์ในงานแสดงสินค้า “Eco product 2008” ที่กรุงโตเกียว ต่อมาบริษัท ผู้นำด้านเครื่องดื่มของญี่ปุ่นคือ บริษัท Sapporo บริษัทร้านขายสินค้าขนาดใหญ่ AEON ห้าง Lawson และ 7-Eleven ก็ได้เข้าร่วมกับโครงการฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์เช่นกัน ลักษณะของฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์ที่ญี่ปุ่นเป็นฉลากประเภทบอกขนาดคาร์บอน (Carbon Score Scheme) และ ญี่ปุ่นมีแนวทางในการประเมิน ค่าฟุตพรินท์ในระดับประเทศ (National guildline) เช่นกัน เรียกว่า PCF Technical Specification

Visitors: 635,356