สหรัฐอเมริกา

ในปัจจุบันนี้พบว่า สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางด้านพลังงานและการเพิ่มศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่นมีการกำหนดมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แตกต่างกันออกไป ตลอดจนภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนให้ความสำคัญกับมาตรการสมัครใจประเภทฉลากคาร์บอนและกิจกรรมประเภท Carbon Offset (โดยเฉพาะกิจกรรมการปลูกป่า) ในอนาคต คาดว่า รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาจะมีมาตรการแบบบังคับในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (โดยเริ่มต้นจากความริเริ่มของรัฐบาลท้องถิ่นในระดับมลรัฐ) มาตรการดังกล่าวข้างต้นนี้ สามารถสรุปพอสังเขปดังต่อไปนี้

 

มาตรการด้านพลังงานหมุนเวียนของสหรัฐอเมริกา

รัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ทั้งระดับรัฐบาลกลาง ระดับมลรัฐ และระดับท้องถิ่น ให้ความสำคัญกับนโยบายการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 โดยรัฐบาลกลางให้เงินทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เงินกู้ และการสนับสนุนทางการเงินประเภทอื่นๆ ได้แก่ การลดภาษีไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และชีวมวล7

 

สำหรับในระดับมลรัฐนั้น ได้มีการดำเนินโครงการ Renewable Portfolio Standard (RPS) ซึ่งเป็นโครงการที่กำหนดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแต่ละมลรัฐ โดยในปี ค..1998 มีมลรัฐที่เข้าร่วมโครงการ 3 มลรัฐ ได้แก่ มลรัฐเนวาด้า นิวเจอร์ซีย์ และคอนเน็คติคัต ต่อมาในปี ค..2001 มีจำนวน 9 มลรัฐ และในปี ค.. 2008 จำนวน 28 มลรัฐ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54 ของจำนวนมลรัฐทั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกา [Carley, 2009 และ Gan et al., 2007]

 

การผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนในสหรัฐอเมริกามีการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าภายในปี ค..2030 สหรัฐอเมริกาจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้ถึงร้อยละ 20 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศ8 และ คาดว่าในปี ค..2025 พลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นร้อยละ 10 ของความต้องการพลังงานทั้งหมดของประเทศ9 นอกจากนี้ ชาวอเมริกันมีการใช้ Biofuel เพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงประมาณร้อยละ 10 และผู้ผลิตรถยนต์หลายรายได้แก่ ฟอร์ด ไครส์เลอร์ และจีเอ็มได้ทำการผลิตรถยนต์ที่สามารถเพิ่มสัดส่วนการใช้เอทานอลได้มากขึ้น

 

มาตรการด้านฉลากคาร์บอนของสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกามีการใช้มาตรการติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ซึ่งเป็นมาตรการแบบสมัครใจ เช่นฉลาก “Climate Conscious” ซึ่งกำหนดเป็น 3 ระดับคือ (1) ฉลาก Silver คือปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10-40% (2) ฉลาก Gold คือปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 41-70% และ (3) ฉลาก Platinum คือปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 71% ซึ่งองค์กร Climate Conservancy ทำหน้าที่รับรองฉลากฯ โดยมีบริษัทนำร่องคือ บริษัท Belgium Brewing ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเบียร์ และบริษัท Earthbound Farm ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าอาหารที่ประกอบไปด้วยผักที่เป็น Organic ฉลากดังกล่าวในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกฎหมาย The Carbon Labeling Act of 2009 (AB19)

 

ส่วนฉลาก “CarbonFree®” ในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นการรับรองให้กับสินค้าที่มีโครงการช่วยลดก๊าซเรือนกระจกรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นฉลากชดเชยคาร์บอน (Type 4) โดยองค์กร Carbon Fund เป็นองค์ที่ทำหน้าที่รับรองฉลากฯ และมีบริษัทเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ดำเนินการติดฉลากฯ เช่นน้ำตาล กาแฟ น้ำดื่ม เป็นต้น

 

นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่นๆที่ดำเนินการเกี่ยวกับฉลากลดคาร์บอน เช่น บริษัท IBM Nike และ BP เป็นต้น ส่วนบริษัท Google Yahoo และ Dell ก็ได้ให้คำปฏิญาณว่าจะกลายเป็นบริษัทที่มี “Carbon Neutral” ในอนาคต [Rattanawan et al., 2010]

 

มาตรการด้านกิจกรรมการปลูกป่าของสหรัฐอเมริกา

ในด้านการรณรงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศและของโลก มาตรการหนึ่งที่ได้รับความนิยมเช่นกัน คือ การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ (Reforestation and Afforestation) หรือ การสนับสนุนการลดการทำลายป่าไม้ (REDD: Reduction of Deforestation and Forest Degradation) ผ่านกิจกรรมประเภท Carbon Offsets โดยการรับซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการที่ปลูกป่าหรืออนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้(ไม่ว่าจะเป็นโครงการปลูกป่าในสหรัฐอเมริกาหรือในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา) ทั้งนี้โครงการปลูกป่าดังกล่าวจะต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการอนุรักษ์รักษาป่าไว้นานมากกว่า 20 ปี หรือภายในระยะเวลา 20 ปี อัตราการทำลายป่าจะต้องลดลงจนเท่ากับศูนย์ อย่างไรก็ดี “Carbon Offsets” ที่ได้จากโครงการปลูกป่าหรืออนุรักษ์พื้นที่ป่านี้ จะต้องมีความมั่นใจว่าเป็นโครงการที่มั่นคงถาวร (อายุนานมากกว่า 20 ปี) และสามารถตรวจวัดปริมาณคาร์บอนที่เก็บกักในต้นไม้ได้

 

มาตรการแบบบังคับโดยการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของสหรัฐอเมริกา

แม้ว่าในระดับประเทศ สหรัฐอเมริกายังไม่มีมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ในระดับมลรัฐนั้น ได้มีกลไกการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตัวอย่างเช่น Oregon Standard, Regional Greenhouse Gas Initiative (RGGI), Western Climate Initiative (WCI), Midwest Greenhouse Gas Reduction Accord (MGGRA) เป็นต้น

 

Oregon Standard: รัฐออริกอน เป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่มีมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตั้งแต่ปี ค.. 1997 มาตรการนี้ใช้ควบคุมโรงไฟฟ้าที่สร้างขึ้นใหม่ในรัฐออริกอนซึ่งจะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ต่ำกว่า 17% ของโรงงานไฟฟ้าที่มีระบบหมุนเวียนการเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อาจจะลดโดยตรงหรือใช้วิธีชดเชยการปล่อยก๊าซจากแหล่งอื่นในรูปของการไปสนับสนุนทางการเงินหรือเข้าร่วมในกิจกรรมการลดก๊าซของบริษัทหรือองค์กรอื่นก็ได้

 

Regional Greenhouse Gas Initiative (RGGI): โครงการ RGGI นี้เป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกระดับภูมิภาค ในปี ค.. 2007 ประกอบด้วยรัฐทางชายฝั่งทะเลตะวันออกทั้งสิ้น 10 รัฐ อันได้แก่ คอนเน็กติคัทเดลาแวร์ แมริแลนด์ แมสซาชูเซ็ท เมน นิวแฮมป์เชียร์ นิวเจอร์ซีย์ นิวยอร์ก โรดไอแลนด์ และ เวอร์มอนต์โครงการนี้มีเป้าหมายควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ลดลง 10% ภายในปี ค..2019 โดยใช้ปีฐานอ้างอิงคือปี ค.. 2009 เริ่มแรกใช้ควบคุมโรงไฟฟ้าในรัฐสมาชิกที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากกว่าครึ่งหนึ่งในการผลิตไฟฟ้า และมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเกินกว่า 25 เมกะวัตต์ ต่อมาได้ขยายขอบเขตการควบคุมไปยังโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการภายหลังปี ค.. 2004 และโรงงานไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เกิน กว่า 5% ต่อปี นอกจากนี้ รัฐสมาชิกยังได้มีข้อตกลงในการจัดสรรเงินรายได้จากใบอนุญาตการปล่อยก๊าซออกเป็นสองส่วนคือ 75% นำเข้าเป็นรายได้รัฐ และอีก 25% นำไปใช้เพื่อดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค

 

Western Climate Initiative (WCI): โครงการ WCI เป็นความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในปี ค.. 2007 มีการรวมตัวของ 7 รัฐในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย แคลิฟอร์เนีย นิวเม็กซิโก ออริกอน วอชิงตัน แอริโซนา ยูทาห์ และ มอนแทนา รวมกับ 4 จังหวัดของแคนาดา ได้แก่ บริติชโคลัมเบียแมนิโทบา ควิเบก และ ออนแทรีโอ สมาชิกได้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะกำหนดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับภูมิภาคและจัดตั้งระบบตลาดการซื้อขายใบอนุญาต โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้15% ภายในปี ค.. 2020 จากปีฐานคือ ค.. 2005 หรือลดลงประมาณร้อยละ 30 จากระดับการดำเนินธุรกิจปกติ โครงการนี้ใช้ควบคุมก๊าซเรือนกระจกทั้ง 6 ชนิดที่กำหนดไว้ในพิธีสารเกียวโต ระบบตลาดการซื้อขายใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้จะเริ่มบังคับใช้ในปี ค.. 2012 โดยจะครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้า แหล่งอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมขนาดใหญ่ นอกจากนี้จะขยายขอบข่ายการควบคุมไปยังการขนส่ง แหล่งที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรมอื่นๆ รวมถึง พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ในปี ค..2015

 

Midwest Greenhouse Gas Reduction Accord (MGGRA) : ในปี ค.. 2007 มีการรวมตัวของ 6 รัฐในสหรัฐอเมริกา อันได้แก่ อิลลินอยส์ ไอโอวา แคนซัส มินนิโซตา วิสคอนซิน และจังหวัดแมนิโทบาของแคนาดา ภายใต้ข้อตกลง MGGRA นี้ สมาชิกร่วมกันจัดทำเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกระดับภูมิภาค รวมทั้งกำหนดเป้าหมายระยะยาวในการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 60-80% จากระดับการปล่อยก๊าซในปัจจุบัน และได้ร่วมกันพัฒนาระบบตลาดการซื้อขายใบอนุญาตซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี ค.. 2012

Visitors: 635,230