“โฟม” รักษ์โลก! ผลิตโดย “เชื้อราจากเห็ด” ย่อยสลายไวในไม่กี่สัปดาห์

 
แหล่งที่มา : www.chiangmainews.co.th วันที่โพสต์ :  17 ต.ค. 2562
       
“โฟม” รักษ์โลก! ผลิตโดย “เชื้อราจากเห็ด” ย่อยสลายไวในไม่กี่สัปดาห์

โดย “โฟม” นั้นสามารถผลิตจากพลาสติก และแบ่งออกได้หลายเกรด ดังนี้…

 

– โฟมแข็ง จากพลาสติก PS ใช้ทำกล่องข้าว / โฟมกันกระแทก
– โฟมนิ่ม จากพลาสติก PE ใช้ทำแผ่นห่อของกันกระแทก
– ฟองน้ำ จากพลาติก PU ใช้ทำเบาะ / ฉนวนความร้อน
– โฟม จากพลาสติก PP ใช้ทำโครงสร้างเครื่องร่อน
– แมมโมรี่โฟมจากพลาสติก LRPU ใช้ทำที่นอนหมอน
– โฟม PVC ใช้เป็นวัสดุทนแทนไม้จริง

 

ล่าสุด “อเมริกา” มีสตาร์ทอัพชื่อ Ecovative ได้ทำการ “คิดค้นโฟมชนิดใหม่” ขึ้นมา โดยผลิตจาก Mycelium ซึ่งเป็นเส้นใยที่ผลิตขึ้นจาก “เชื้อราจากเห็ด” ที่มีคุณสมบัติคล้าย ๆ โฟมกันกระแทก คือ “เบา นิ่ม และยังกำหนดรูปร่างเฉพาะได้ ที่สำคัญคือมันย่อยสลายได้ในไม่กี่สับดาห์เท่านั้น” แต่ข้อจำกัดของมัน คือ เส้นใยพวกนี้ต้องใช้การเพาะขึ้นในเศษพืช เหมือนเราเพาะเห็ดนั่นแหละ ทำให้กว่าจะได้โฟม Mycelium 1 ก้อนใช้เวลานานมาก จึงมีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย ก้อนนึงราคาหลายร้อยบาท!

 
แต่ Ecovative ก็มีทางออกให้ในการผลิตชุด kit สำหรับเพาะโฟมเหล่านี้ใช้เองได้ สำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าเชื้อราเหล่านี้ จะมาผลิตเป็นวัสดุทดแทนได้อย่างไร ทีมงานของ Ecovative จะนำเศษวัสดุที่มีปริมาณ “ลิกนินสูง” อาทิเช่น เปลือกข้าว เปลือกบัควีต และเมล็ดฝ้ายมาเพาะเลี้ยงเชื้อรา (ประเภทที่มักขึ้นอยู่บริเวณรากเห็ด) เป็นเวลา 7 วัน โดยไม่มีการรดน้ำ และปราศจากการใช้สารปิโตรเคมี
 
 

เมื่อเวลาผ่านไป ใยราที่แม้จะเป็นเส้นเล็ก ๆ แต่กินระยะเป็นระดับไมล์ จะก่อตัวขึ้น ซึ่งใยเหล่านั้นแหละจะเข้าไปห่อหุ้ม และย่อยสลายเมล็ดพืช จากนั้นก็ประสานเศษซากทางการเกษตร จนเกิดเป็นรูปร่างของวัสดุแบบต่าง ๆ ขึ้น โดยในตอนนี้ บริษัท DELL และ IKEA เป็นเอกชน 2 เจ้าแรก ที่จะนำโฟมเห็ดนี้ ไปทดลองใช้งานจริงกับสินค้าของตัวเอง อย่างไรก็ตาม การใช้วัสดุทดแทนจากธรรมชาติ ยังเป็นเรื่องที่ต้องคิดค้นพัฒนากันต่อไป แม้จะยังไม่สำเร็จในเร็ววันนี้ แต่ก็ต้องเชื่อในความสามารถของมนุษย์ ว่าสักวันหนึ่งในอนาคต หากเราไม่ย่อท้อต่อการพัฒนาเพื่อคงสภาพและรักษาสิ่งแวดล้อมไว้ รับรองว่าต้องมีสักวันที่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

 
 

ที่มา : Ecovative design

Visitors: 627,863