‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ เทรนด์ธุรกิจใหม่สู่ความยั่งยืน

 
แหล่งที่มา : https://greennews.agency/?p=16783 วันที่โพสต์ :  23 เม.ย. 2561
       
 ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ เทรนด์ธุรกิจใหม่สู่ความยั่งยืน

หากใครเคยเดินทางไปต่างประเทศจะสังเกตเห็นว่าในห้างสรรพสินค้า และแม้แต่ร้านค้าสะดวกซื้อไม่ว่าจะเป็น ฮ่องกง ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน  ฯลฯ พนักงานจะสอบถามว่าจะรับถุงพลาสติกหรือไม่ ซึ่งหากท่านตอบว่ารับหมายถึงท่านจะต้องจ่ายเงินค่าถุงพลาสติกทันทีไม่มีฟรีแบบบ้านเราที่แถมขอเพิ่มถุงได้อีกตะหาก …

มาตรการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้คนในประเทศหันมาใช้ถุงผ้าเพื่อลดใช้ถุงพลาสติกลงในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน   สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมามีความพยายามจะดำเนินนโยบายดังกล่าวหลายครั้งแต่ยังคงไม่สามารถบังคับใช้เป็นกฏหมายได้ แต่ไทยก็หันมาเน้นนโยบาย 3 R กับทุกภาคส่วนอย่างเข้มข้นในการลดภาวะโลกร้อน ได้แก่ Reduce คือการลดการใช้ Reuse คือการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด และ Recycle คือ การนำหรือเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่

อย่างไรก็ตาม โลกของเรานับวันจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น อุณหภูมิโลกก็สูงขึ้น ขณะที่ขยะกำจัดเท่าใดก็ไม่มีวันหมดเหล่านี้ล้วนทำให้ระบบเศรษฐกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต และปัญหามลภาวะของสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้น ดังนั้นโลกจึงพัฒนาไปอีกขั้นด้วยการใช้นโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy

“เศรษฐกิจหมุนเวียน” หลักการก็คือเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่าของวัตถุดิบ ทรัพยากรและผลิตภัณฑ์ที่ต้องรักษาให้คงไว้ให้นานที่สุดและมีการสร้างของเสียที่ต่ำที่สุด  ซึ่งประเทศที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน  เป็นต้น  ทำให้ภาคธุรกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วเริ่มหันมาใช้นโยบายดังกล่าวด้วยการเปลี่ยน วงจรของธุรกิจให้หมุนเวียนด้วยตัวเองให้ได้มากที่สุด เข้าใจง่ายๆ ก็คือการนำทรัพยากรกลับมาใช้ ให้เป็นวัสดุใหม่ซึ่งทรัพยากรก็เอามาจากตัวสินค้าที่ใช้แล้วนั่นเอง ดังนั้นเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงตั้งอยู่บนหลักการ 2 ข้อ ได้แก่ การรักษาและเพิ่มการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

ทั้งนี้ ตัวอย่างแบรนด์ ที่มีส่วนร่วมกับแนวทางดังกล่าว เช่น ไนกี้ (Nike) ที่นำเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้กับขั้นตอนการผลิตโดยกำหนดให้ 71% ของเสื้อผ้าและรองเท้าต้องทำมาจากวัสดุรีไซเคิล และเลือกวัตถุดิบคุณภาพสูงจากเศษวัสดุเหลือใช้ในโรงงาน ขณะที่แบรนด์อาดิดาส (Adidas) ได้ผลิตรองเท้ารุ่นพิเศษ ทำจากขยะและตาข่ายจับปลาในทะเล นอกจากนี้แบรนด์ เอช แอนด์ เอ็ม (H&M) ได้ตั้งเป้าหมายให้ธุรกิจเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน 100% โดยนำเสื้อผ้าใช้แล้วกลับมาผลิตใหม่ เป็นต้น

สำหรับภาคธุรกิจไทยที่มีการตื่นตัวในเรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เด่นชัด คือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ที่ก่อนหน้ามีโครงการต่างๆ มากมายที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่ล่าสุดที่น่าติดตามเพื่อมุ่งเน้นในเรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบจริงจังโดยได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำกลยุทธ์สู่เป้าหมายเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือ Circular Economy Strategy  โดยจะศึกษาว่าทั่วโลกได้มีการดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างไร โครงการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่จะต่อยอดทำอะไรได้อีกหรือไม่ รวมถึงการกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับกลุ่มบริษัท PTTGC


เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย จากขวดพลาสติกรีไซเคิล

การจัดทำกลยุทธ์ดังกล่าวจะให้ความสำคัญในเรื่อง ของ 5Rs  ต่อยอดจาก 3Rs เดิม ที่ประสบความเร็จอย่างดี ประกอบด้วย  Reduce (ลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น) Reuse (การใช้ซ้ำ) Recycle (การแปรรูปมาใช้ใหม่) Refuse (ปฏิเสธการใช้สารเคมีที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)และRenewable (ใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน) โดยแผนการปฏิบัติ 5Rs จะมีความเข้มข้นของการบริหารจัดการของเสียทั้งวงจรการผลิต และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นสู่ผู้ใช้ทั้งกลุ่มลูกค้าจนถึงผู้บริโภค สามารถยืดอายุการใช้งานของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

ทั้งนี้ Renewable จะมุ่งเน้นมุมมองใน 2 มิติ คือ  มิติในเรื่องของวัตถุดิบ ซึ่งเน้นเรื่องของ Bio-Economy ที่มีแผนจะดำเนินการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และมิติในเรื่อง พลังงานทางเลือก เช่น  พลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Roof) และ พลังงานลม (Wind Turbine) เป็นต้น

สำหรับภาครัฐไทยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตด้วยคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยเรื่องแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน

ดังนั้นนโยบายจากทั้งภาครัฐและเอกชนไทยจึงมีส่วนสำคัญต่อความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อส่งเสริมให้ห่วงโซ่อุปโภคและบริโภคได้ตระหนักถึงความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียนอันจะนำมาซึ่งการรักษาคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่คู่กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน

   
ขอบคุณข่าวจาก : greennews
 

หากใครเคยเดินทางไปต่างประเทศจะสังเกตเห็นว่าในห้างสรรพสินค้า และแม้แต่ร้านค้าสะดวกซื้อไม่ว่าจะเป็น ฮ่องกง ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน  ฯลฯ พนักงานจะสอบถามว่าจะรับถุงพลาสติกหรือไม่ ซึ่งหากท่านตอบว่ารับหมายถึงท่านจะต้องจ่ายเงินค่าถุงพลาสติกทันทีไม่มีฟรีแบบบ้านเราที่แถมขอเพิ่มถุงได้อีกตะหาก …

มาตรการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้คนในประเทศหันมาใช้ถุงผ้าเพื่อลดใช้ถุงพลาสติกลงในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน   สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมามีความพยายามจะดำเนินนโยบายดังกล่าวหลายครั้งแต่ยังคงไม่สามารถบังคับใช้เป็นกฏหมายได้ แต่ไทยก็หันมาเน้นนโยบาย 3 R กับทุกภาคส่วนอย่างเข้มข้นในการลดภาวะโลกร้อน ได้แก่ Reduce คือการลดการใช้ Reuse คือการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด และ Recycle คือ การนำหรือเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่

อย่างไรก็ตาม โลกของเรานับวันจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น อุณหภูมิโลกก็สูงขึ้น ขณะที่ขยะกำจัดเท่าใดก็ไม่มีวันหมดเหล่านี้ล้วนทำให้ระบบเศรษฐกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต และปัญหามลภาวะของสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้น ดังนั้นโลกจึงพัฒนาไปอีกขั้นด้วยการใช้นโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy

“เศรษฐกิจหมุนเวียน” หลักการก็คือเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่าของวัตถุดิบ ทรัพยากรและผลิตภัณฑ์ที่ต้องรักษาให้คงไว้ให้นานที่สุดและมีการสร้างของเสียที่ต่ำที่สุด  ซึ่งประเทศที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน  เป็นต้น  ทำให้ภาคธุรกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วเริ่มหันมาใช้นโยบายดังกล่าวด้วยการเปลี่ยน วงจรของธุรกิจให้หมุนเวียนด้วยตัวเองให้ได้มากที่สุด เข้าใจง่ายๆ ก็คือการนำทรัพยากรกลับมาใช้ ให้เป็นวัสดุใหม่ซึ่งทรัพยากรก็เอามาจากตัวสินค้าที่ใช้แล้วนั่นเอง ดังนั้นเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงตั้งอยู่บนหลักการ 2 ข้อ ได้แก่ การรักษาและเพิ่มการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

ทั้งนี้ ตัวอย่างแบรนด์ ที่มีส่วนร่วมกับแนวทางดังกล่าว เช่น ไนกี้ (Nike) ที่นำเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้กับขั้นตอนการผลิตโดยกำหนดให้ 71% ของเสื้อผ้าและรองเท้าต้องทำมาจากวัสดุรีไซเคิล และเลือกวัตถุดิบคุณภาพสูงจากเศษวัสดุเหลือใช้ในโรงงาน ขณะที่แบรนด์อาดิดาส (Adidas) ได้ผลิตรองเท้ารุ่นพิเศษ ทำจากขยะและตาข่ายจับปลาในทะเล นอกจากนี้แบรนด์ เอช แอนด์ เอ็ม (H&M) ได้ตั้งเป้าหมายให้ธุรกิจเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน 100% โดยนำเสื้อผ้าใช้แล้วกลับมาผลิตใหม่ เป็นต้น

สำหรับภาคธุรกิจไทยที่มีการตื่นตัวในเรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เด่นชัด คือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ที่ก่อนหน้ามีโครงการต่างๆ มากมายที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่ล่าสุดที่น่าติดตามเพื่อมุ่งเน้นในเรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบจริงจังโดยได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำกลยุทธ์สู่เป้าหมายเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือ Circular Economy Strategy  โดยจะศึกษาว่าทั่วโลกได้มีการดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างไร โครงการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่จะต่อยอดทำอะไรได้อีกหรือไม่ รวมถึงการกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับกลุ่มบริษัท PTTGC

Visitors: 621,119