หน้าใหม่

 
แหล่งที่มา : www.mgronline.com วันที่โพสต์ :  3 ก.พ. 2561
       
ปิดฉาก “ซีรอกซ์” ก้าวไม่พ้นกับดักความสำเร็จของวันวาน 

ในเรืองการบริหารธุรกิจ มีคำศัพท์อยู่คำหนึ่ง คือ Competency Trap หมายถึง การยึดติดอยู่กับผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี่ รวมไปถึง วิธีการ วิธีคิด ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในอดีต ไม่พยายามที่จะทำสิ่งใหม่ๆ เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี่เปลี่ยน ผู้บริโภคเปลี่ยน ไม่สามารถรับมือได้ เพราะติดอยู่ในกับดักของความสำเร็จในอดีต

 

ซีร็อกซ์ (Xerox) บริษัทผุ้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสาร รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา เป็นเหยื่อในกับดักแห่งความสำเร็จ รายล่าสุด เมื่อ ประกาศขายกิจการให้กับ บริษัทฟูจิ ฟิล์ม แห่งญี่ปุ่น โดย ฟูจิ จะซื้อหุ้น 50.1 % ของซีร็อกซ์ และเอาไปรวมเป็นส่วนหนึ่ง ของ ฟูจิ ซีร็อกซ์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่าง ซีร็อกซ์ กับ ฟูจิ ในการทำตลาดเครื่องถ่ายเอกสาร ในเอเชีย แปซิฟิค ทีมีอายุกว่า 50 ปี

 

ซีร็อกซ์มีอายุ 115 ปี แล้ว เคยเป็นยักษ์ใหญ่ ในตลาดเครื่ องถ่ายเอกสารของโลก ตั้งแต่ปี 1959 เมื่อนำเครื่องถ่ายเอกสาร ยี่ห้อซีร็อกซ์ ออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรก เมื่อ 60 ปีก่อน ตอนนั้นถือเป็น เทคโนโลยี่ สมัยใหม่ ที่เข้ามาทดแทนการทำสำเนาเอกสารด้วยกระดาษ คาร์บอน หรือ เครื่องพิมพืโรเนียวในสำนักงาน

 

บริษัททุกแห่งในโลกนี้ต้องมีเครื่องซีรอกซ์ ไว้ใช้งาน คำว่า ซีรอกซ์ กลายเป็นคำกริยาที่คนทั้งโลกใช้แทนคำว่า ถ่า ยเอกสาร หรือ ทำสำเนา เอกสาร

 

ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ในทศวรรษ 1980 เมื่อ สิทธิบัตร เทคโนโลยี่เครื่องถ่ายเอกสาร ที่ซีร็อกซ์ เป็นเจ้าของ หมดอายุ เครื่องเอกสารจากญึ่ปุ่น ซึ่งมีราคาถูกกว่า เช่น แคนนอน ริโก้ มินอลต้า เข้ามาแข่งขัน ชิงตลาดจากซีร็อกซ์ ซึ่งก่อนนี้ ผูกขาดตลาดเครื่องถ่ายเอกสารเพียงรายเดียว เพราะเป็นเจ้าของเทคโนโลยี

 

ความเปลี่ยนแปลง อีกเรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในตอนแรก แต่เร็วขึ้นๆ และมีผลต่อซีรอกซ์ อย่างรุนแรงกว่า การแข่งขันหลายเท่า คือ อินเตอร์เน็ต และสมาร์ทโฟน ที่ทำให้การใช้อีเมล์ และการถ่ายเอกสาร ด้วยสมาร์ทโฟร เข้ามาแทนที่เครื่องถ่ายเอกสา รท่ามีราคาแพง และไม่สะดวก

 

เมื่อคนเลิกซีร็อกซ์ ซีร้อกซ์ก็หมดอนาคต ความยิ่งใหญ่ใน ความสำเร็จในอดีต ไม่อาจถ่ายสำเนามาใช้กับโลกปัจจุบันได้

 

ความจริง ซีรอกซ์ เป็นผู้พัฒนาทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์ ที่เราคุ้นเคยกันอยุ่ในทุกวันนี้ หลายๆอย่าง ปี 1970 ซีรอกซื ตั้ง ศูนย์ วิจัยและพัฒนาพาโล อัลโต หรือ PARC ศุนยืวิจัยนี้ นับเป็น เมล็ดพัน์ที่เป็นต้นกำเนินด ซิลิคอน วัลเลย์ อันเป็นที่ตั้งของบริษัทเทคโนโลยี่ชั้นนำของโลกในปัจจุบัน

 

ต้นแบบพีซี คอมพิวเตอร์ เครื่องแรกของโลก เป็นผลงานของศูนยืวิจัยของซีร็อกซ์นี้ แต่ซีร็อกซ์ตัง้งราคาขายแพงเกินไป เพราะเคยขายแต่เครื่องถ่ายเอกสาร ที่เป็นเครื่องใช้สำนักงาน ราคาสูง ไม่เข้าใจว่า พีซี เป็นคอมพืวเตอร์ ที่ขายให้กับผู้ใช้ รายบุคคล ไม่ใช่ขายให้บริษัท ถ้าตั้งราคาขายสูงๆ จะไม่มีใครซื้อ คอมพิวเตอร์ ซีร็อกซ์ สตาร์ จึงขายไม่ได้ และต้องเลิกผลิตไป

 

ในขณะที่ ไอบีเอ็ม ผลิตเครื่องพีซีออกมาขาย ถูกกว่า ของซีร็อกซ์ 10 เท่า ในเวลาไล่เลี่ยกัน เช่นเดียวกับ เครื่อง แมคอินทอช ของแอปเปิล ซึ่งใช้ต้นแบบทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ของ ศูนย์วิจัย ซีรอกซ์ ก็ขายในราคาต่ำกว่า จึงประสบความสำเร็จ ส่วนซีร็อกซ์ ต้องกลับไปขายเครื่องถ่านเอกสารตามเดิม โดยมียอดขายลดลงเรื่อยๆ เพราะมีเทคโนโลยี่ ทำสำเนาเอกสาร แบบใหม่ที่๔กกว่า สะดวกกว่ากันเยอะมาแทนที่

 

ทางฝั่งผู้ซื้อ คือ ฟูจิ ฟิล์ม เผชิญกับ ความท้าทายจาก เทคโนโลยี่ ดิจิตัล เช่นกัน เพราะผลิตฟิล์มถ่ายูป เมื่อคนหันไปถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตัล และสมาร์ทโฟน กันหมด ธุรกิจฟิล์มก็ตาย ยักษิใหญ่ในอุตสาหกรรม คือ โกดัก ขาดทุน จนต้องล้มละลาย แต่ฟูจิ ฟิล์ม ก้าวพ้นกับดักความสำเร็จ ในอดีต พาตัวเอง เข้าไปในธุรกิจใหม่ๆ ที่ต่อยอดจากธุรกิจเดิม คือ กล้อง ดิจิตัล เครื่องเอกซเรย์ทางการแพทย์ เครื่องสำอาง ฯลฯ จึงรอดพ้น จาก กระแส disruptive อั นเชี่ยวกราก ได้ และ ยังมีกำลังมากพอที่จะซื้อ ซีรอกซ์ มาเป็นจของตัวเองได้


เครื่องถ่ายเอกสาร ยังมีความจำเป็นอยุ่ แต่การใช้งานจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ การควบรวมกิจการกัน จของผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ของโลก จึงเป็นเรื่องจำเป็น เพราะทำให้จำนวนผู่เล่นในตลาดลดลง การแข่งขันไม่รุนแรง เมื่อรวมกิจการกันแล้ว ก็จะทำพให้ต้นทุนลดลง เพราะมีการตัด การทำงานในส่วนที่ซ้ำซ้อนกันออกไป ลดพนักงานลง ทำให้บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้น กระชับ คล่องตัว

 

บริษัทฟูจิ ซีรอกซื ที่รวมเอาซีรอกซืมาอยู๋ด้วย จะลดต้นทมุนการดำเนินงานลงได้ 14 พันล้านเหรียญ สหรัฐ และมีแผนจะลดพนักงานลง 10,000 คน ในอนาคตอันใกล้นี้    

   
ขอบคุณข่าวจาก : mgronline.com  
Visitors: 621,844