หน้าใหม่

 
แหล่งที่มา : www.eeco.or.th วันที่โพสต์ :  31 ม.ค. 2561
       
 โครงการพัฒนาท่าเรือ แหลมฉบัง ระยะที่ 3

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เป็นการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือเพื่อรองรับ ความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจะดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือ สำหรับจอดเรือน้ำลึก และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ รวมทั้งการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ ท่าเรือแหลมฉบัง (Single Rail Transfer Operator, SRTO) ก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรภายในท่าเรือ ตลอดจนโครงข่ายและระบบการขนส่งต่อ เนื่องที่จำเป็นในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังที่จะเชื่อมต่อกับภายนอกให้เพียงพอและพร้อมที่จะรองรับการขยาย ตัวของปริมาณเรือและสินค้าประเภทต่าง ๆ

ที่ตั้งโครงการ

ท่าเรือแหลมฉบังตั้งอยู่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี


สภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการปัจจุบัน

ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือน้ำลึกหลักในการขนส่งสินค้าระหว่าง มีพื้นที่ขนาด 6,340 ไร่ ประกอบด้วยท่าเทียบเรือที่เปิดให้บริการแล้ว ดังนี้

  • ท่าเทียบเรือตู้สินค้า 8 ท่า (A2, B1, B2, B3, B4, B5, C1, C2, C3)
  • ท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ เรือสินค้าทั่วไป และเรือสินค้าทุกประเภท 1 ท่า (A0, A3)
  • ท่าเทียบเรือ Ro/Ro 1 ท่า (A5)
  • ท่าเทียบเรือ Ro/Ro เรือสินค้าทั่วไป ตู้สินค้า 1 ท่า (C0)
  • ท่าเทียบเรือโดยสาร และเรือ Ro/Ro 1 ท่า (A1)
  • ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป ประเภทเทกอง 1 ท่า (A4)
  • อู่ต่อและซ่อมเรือ 1 ท่า

ปัจจุบัน (จากข้อมูลปี 2559) มีปริมาณการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเรือประมาณ 7 ล้านตู้ต่อปี และรถยนต์ประมาณ 1 ล้านคันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 70 ของขีดความสามารถของท่าเรือที่รองรับตู้สินค้าได้สูงสุดที่ประมาณ 11 ล้านตู้ต่อปี และรถยนต์ประมาณ 2 ล้านคันต่อปี

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  • เพิ่มความสามารถในการขนส่งตู้สินค้าจาก 7.7 ล้านตู้ต่อปี เป็น 18.1 ล้านตู้ต่อปี
  • เพิ่มความสามารถในการขนส่งรถยนต์จาก 2 ล้านคันต่อปี เป็น 3 ล้านคันต่อปี
  • เพิ่มสัดส่วนการขนส่งตู้สินค้าผ่านท่าโดยรถไฟทั้งหมดของท่าเรือแหลมฉบังจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 30
  •  

องค์ประกอบโครงการ

องค์ประกอบโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ประกอบด้วย

  • ก่อสร้างท่าเรือตู้สินค้า 4 ท่า (ท่าเรือ E1 E2 F1 F2) ความจุ 7 ล้านตู้ต่อปี
  • ก่อสร้างท่าเรือขนส่งรถยนต์ (RO-RO) ความจุ 1 ล้านคันต่อปี
  • ก่อสร้างท่าเรือชายฝั่ง ความจุ 1 ล้านตู้ต่อปี
  • ก่อสร้างสถานีขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟระยะที่ 2 (SRTO2)
  • ปรับปรุงระบบในการรองรับปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าทางรถไฟให้ได้ 4 ล้านตู้ต่อปี โดยใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation)

โครงการจะสามารถเปิดดำเนินการอย่างช้าภายใน ปี พ.ศ. 2568 มีแผนการก่อสร้างแบ่งออกเป็นการโครงสร้างพื้นฐาน 5 ปี (ปี พ.ศ. 2561 – 2566) และการก่อสร้างท่าเทียบเรือและติดตั้งอุปกรณ์ขนถ่าย 3 ปี (ปี พ.ศ. 2565 - 2568)

มูลค่าการลงทุนโครงการให้เอกชนเข้าร่วมทุนฯ
มูลค่าการลงทุนเบื้องต้น 155,834 ล้านบาท 

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ (ก่อสร้างและให้บริการ) ให้เอกชนร่วมทุนฯ
ประมาณ 30 - 50 ปี ขึ้นอยู่กับผลการศึกษา 

ผลตอบแทนโครงการ (Project Return)
อยู่ระหว่างการศึกษา 

รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน
ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership: PPP) รายละเอียดอยู่ระหว่างการศึกษา 

แผนการปฎิบัติงานเบื้องต้น (Preliminary Timeline)
1.ประกาศเชิญชวนนักลงทุน พฤษภาคม พ.ศ. 2561

2.ให้เอกชนเตรียมเอกสารยื่นข้อเสนอ สิงหาคม พ.ศ. 2561
3.ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือก กันยายน พ.ศ. 2561
4.ลงนามในสัญญา ธันวาคม พ.ศ. 2561
5.เปิดให้บริการ พ.ศ. 2568
   
ขอบคุณข่าวจาก : eeco.or.th
 
Visitors: 620,985