หน้าใหม่

 
แหล่งที่มา : www.transportjournalnews.com วันที่โพสต์ :  23 ม.ค. 2561
       
ฮัทชิสัน พอร์ทเสริมแกร่งธุรกิจท่าเรือ 
มร. สตีเฟ่น แอชเวิร์ธ (ขวา) กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อม
ร้อยตำรวจเอก ธนาบดี ธูปเทียนรัตน์ (ซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ ท่าเรือแหลมฉบัง
ฮัทชิสัน พอร์ทนำเข้าปั้นจั่นยกขนตู้สินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจำนวน 3 คัน พร้อมให้บริการที่ท่าเทียบเรือชุด D ท่าเรือแหลมฉบัง มาพร้อมกับปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง (Remote Control Electric Rubber Tyred Gantry Crane หรือ RCeRTGC) อีกจำนวน 8 คัน    ทำให้ท่าเทียบเรือชุด D ของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เป็นท่าเทียบเรือแห่งแรกของประเทศไทยที่มีเครื่องมือยกขนตู้สินค้าด้วยระบบควบคุมระยะไกล


ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของปริมาณตู้สินค้าในประเทศไทย ท่าเรือฮัทชิสันตั้งอยู่ในท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพไปทางทิศตะวันออกเพียง 130 กิโลเมตร โดย ท่าเรือฮัทชิสันในท่าเรือแหลมฉบังประกอบด้วยท่าเทียบเรือ A2 A3 C1 C2 D1 D2 และ D3


ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เป็นสมาชิกของ ฮัทชิสัน พอร์ท ที่ดำเนินธุรกิจด้านท่าเทียบเรือและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของ CK Hutchison   ฮัทชิสันพอร์ท เป็นผู้นำในการลงทุนท่าเทียบเรือรายใหญ่ที่สุดของโลก มีเครือข่ายท่าเทียบเรือ 52 แห่ง ใน 26 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกาและออสเตรเลีย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ฮัทชิสัน พอร์ท ได้ขยายกิจการไปสู่ธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่ง รวมไปถึงท่าเทียบเรือโดยสาร สนามบิน ศูนย์รับส่งกระจายสินค้า การขนส่งทางรางและการซ่อมเรือ


ล่าสุด ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย  ได้ขยายขีดความสามารถในการให้บริการยกขนตู้สินค้า โดยการพัฒนาท่าเทียบเรือชุด D ท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมกับนำเข้า
- ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าจำนวน
3 คัน และ
- ปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง (
Remote Control Electric Rubber Tyred Gantry Crane หรือ RCeRTGC) จำนวน 8 คัน จากบริษัท ZPMC หรือ Shanghai Zhenhua Heavy Industry Co., Ltd.

เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ ติดตั้งระบบควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล (Remote Control) ที่ล้ำสมัย ซึ่งจะช่วยให้ท่าเทียบเรือชุด D ปฏิบัติงานได้ด้วยความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถรองรับเรือที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการได้ดีขึ้นกว่าเดิม


สำหรับปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าขนาดใหญ่ ทั้ง 3 คัน สามารถปฏิบัติงานยกขนตู้สินค้าให้กับเรือบรรทุกตู้สินค้าบนระวางได้กว้างถึง 24 แถว ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่ให้บริการในปัจจุบัน เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ ควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล (remote control) ทำให้ท่าเทียบเรือชุด D เป็นท่าเทียบเรือแห่งแรกของโลกที่ติดตั้งเทคโนโลยีนี้อย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้การบริการของท่าเรือรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


อย่างไรก็ตาม เมื่อการก่อสร้างท่าเทียบเรือชุด D เสร็จสมบูรณ์ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้ขนส่งสินค้าได้อีก 3.5 ล้าน ทีอียู ส่งผลให้ท่าเรือทั้งหมดของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย สามารถรองรับตู้สินค้าได้มากกว่า 6 ล้านทีอียู และเป็นผู้ให้บริการท่าเทียบเรือขนส่งตู้สินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้เครื่องมือใหม่ทั้งหมดที่นำมาติดตั้งนี้จะช่วยรองรับการเจริญเติบโตของปริมาณตู้สินค้าของประเทศไทยและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกหรืออีอีซี สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0
   
ขอบคุณข่าวจาก : transportjournalnews.com  
Visitors: 627,927