การจัดการขยะ : รีไซค์เคิล

ขยะรีไซเคิล..ยิ่งแยกเก่ง…ยิ่งมีมูลค่า

Credit : www.environnet.in.th

การรีไซเคิลหรือการแปรรูปใช้ใหม่ คือ การนำขยะรีไซเคิลมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

ตัวอย่างขยะรีไซเคิล

แก้ว : สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้

   1. ขวดแก้วดี จะถูกนำมาคัดแยกชนิด สี และประเภทที่บรรจุสินค้า ได้แก่ ขวดแม่โขง ขวดน้ำปลา ขวดเบียร์ ขวดซอส ขวดโซดาวันเวย์ ขวดน้ำดื่มชูกำลัง ขวดยา ขวดน้ำอัดลม ฯลฯ การจัดการขวดเหล่านี้หากไม่แตกบิ่นเสียหาย จะถูกนำกลับเข้าโรงงานเพื่อนำไปล้างให้สะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่เรียกว่า “Reuse”
    2. ขวดแก้วแตก ขวดที่แตกหักบิ่นชำรุดเสียหายจะถูกนำมาคัดแยกสี ได้แก่ ขวดแก้วใส ขวดแก้วสีชา และขวดแก้วสีเขียว จากนั้นนำเศษแก้วมาผ่านกระบวนการรีไซเคิล โดยเบื้องต้นจะเริ่มแยกเศษแก้วออกมาตามสีของ เอาฝาจุกที่ติดมากับปากขวดออกแล้วบดให้ละเอียด ใส่น้ำยากัดสีเพื่อกัดสีที่ติดมากับขวดแก้ว ล้างให้สะอาดแล้วนำส่งโรงงานผลิตขวดแก้ว เพื่อนำไปหลอมใหม่

 

กระดาษ : เป็นวัสดุที่ย่อยง่ายที่สุด เพราะผลิตจากเยื่อไม้ธรรมชาติ โดยปกติกระดาษจะมีระยะเวลาย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ประมาณ 2-5 เดือน แต่ถ้าถูกทับถมอยู่ในกองขยะจนแน่นไม่มีแสงแดด อากาศและความชื้น สำหรับจุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ก็อาจต้องใช้เวลาถึง 50 ปีในการย่อยสลาย ดังนั้นเราจึงควรแยกขยะที่เป็นเศษกระดาษเหล่านี้ออกจากขยะชนิดอื่น ๆ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและนำไปรีไซเคิลเป็นกระดาษนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พลาสติก : แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. พลาสติกที่คงรูปถาวรหรือพลาสติกเทอร์โมเซท (Thermosetting Plastic) เป็นพลาสติกที่แข็งตัวด้วยความร้อนแบบไม่ย้อนกลับ สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์รูปทรงต่าง ๆ ได้โดยทำให้แข็งตัวด้วยความร้อนในแม่แบบ และเมื่อแข็งตัวแล้วจะมีความคงรูปสูงมาก เนื่องจากไม่สามารถหลอมเหลวได้อีก พลาสติกในกลุ่มนี้จึงจัดเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภท “รีไซเคิลไม่ได้”

2. ลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือเทอร์โมพลาสติก (Thermosetting) เป็นพลาสติกที่หลอมตัวด้วยความร้อน และกลับแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง พลาสติกชนิดนี้จัดเป็นวัสดุประเภท “รีไซเคิลได้” เพื่อให้ง่ายต่อการแยกชนิดบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีการนำสัญลักษณ์มาใช้บนบรรจุภัณฑ์อย่างแพร่หลาย ดังนี้

โลหะ : ที่สามารถนำมารีไซเคิลใหม่ ได้มีดังนี้

1.เหล็ก : ใช้กันมากที่สุดในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องใช้ในบ้าน อุตสาหกรรม
2.ทองเหลือง : เป็นโลหะมีราคาดี นำกลับมาหลอมใช้ใหม่ได้ โดยการทำเป็นพระ ระฆัง อุปกรณ์สุขภัณฑ์ต่าง ๆ และใบพัด                     เรือเดินทะเลขนาดใหญ่
3.ทองแดง : นำกลับมาหลอมทำสายไฟใหม่ได้อีก
4.สแตนเลส : นำกลับมาหลอมทำช้อนส้อม กระทะ หม้อ
5.ตะกั่ว : นำกลับมาหลอมใหม่ทำฟิวส์ไฟฟ้า และส่วนประกอบของอุปกรณ์ต่าง ๆ

อลูมิเนียม : แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1.อลูมิเนียมหนา เช่น อะไหล่เครื่องยนต์ ลูกสูบ

2.อลูมิเนียมบาง เช่น กะละมังซักผ้า ขันน้ำ กระป๋องน้ำอัดลม กระป๋องเบียร์

แหล่งข้อมูลอ้างอิง (ปรังปรุงเนื้อหาจาก)

(1) คู่มือแนวทางการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย สำหรับอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง               แวดล้อมหมู่บ้าน, กรมควบคุมมลพิษ, 2551

(2) ข้อมูลวิชาการ เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะมูลฝอย, กรมควบคุมมลพิษ. http://www.pcd.go.th/

(3) โครงการการจัดทำระบบฐานข้อมูลพลังงานเพื่อการวิเคราะห์และวางแผนยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศ,                     สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ สำนักนโยบายและแผนยุทยธศาสตร์ สำนักปลัด               กระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงาน http://www.thaienergydata.in.th

     
Visitors: 615,968