ฉลากคาร์บอน

Carbon Label คืออะไร

Credit : www.mtec.or.th

Carbon Label คืออะไร
ฉลากแสดงการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Label) แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

1.ฉลากที่แสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยออกมา (Carbon Footprint: CF) เป็นฉลากที่ทำขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) จากผลิตภัณฑ์ โดยใช้แนวคิดของการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment, LCA) และระบุปริมาณในรูปของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2equivalent) โดยกำกับบนฉลากที่ติดให้กับผลิตภัณฑ์ หรือ บรรจุภัณฑ์ หรือแหล่งสื่อสารอื่นๆ

2.ฉลากแสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง (Carbon Reduction) ซึ่งแสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงจากผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้ในปัจจุบัน มีการใช้ Carbon Label ในบางประเทศแล้ว เช่น อังกฤษ และอเมริกา นอกจากนี้ยังมีความพยายามในประเทศอื่นๆ อาทิ ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการติดฉลากนี้ ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (แชมพู สบู่ ฯลฯ) เป็นต้น

ที่มา : www.carbon-label.co.uk,

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยรูปแสดงตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีการจัดทำฉลากแสดงการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

หน่วยงานที่เป็น ผู้ให้การรับรองฉลาก

ในต่างประเทศ หลายๆ ประเทศได้ให้ความสนใจและพยายามสนับสนุนการทำ Carbon Label โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ทำหน้าที่เป็นผู้ให้การรับรอง หรือ เป็นผู้ให้คำปรึกษา) อาทิเช่น

- สหราชอาณาจักร: Carbon Trust เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ในสหราชอาณาจักร จัดตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นเรื่องการลดปริมาณการปลดปล่อย GHGs


- สหรัฐอเมริกา:Carbon Label for California เป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจาก Silicon Valley philanthropist Noel Perry และทำงานร่วมกับรัฐแคลิฟอร์เนีย ในการร่างข้อกำหนดฉลาก ซึ่ง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ Low-Carbon Seal (หลักการคล้ายคลึงกับฉลากสิ่งแวดล้อมแต่มุ่งเน้นที่การปล่อยก๊าซ เป็นประเภทย่อยจาก CF), Carbon Score (หลักการเดียวกันกับ CF ของ Carbon trust), Carbon Rating (หลักการคล้ายคลึงกับฉลากประหยัดพลังงานของประเทศไทยแต่มุ่งเน้นที่การปล่อยก๊าซ เป็นประเภทย่อยจาก CF

 

สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ได้จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Thai Greenhouse Gas Management Organization: TGO) มีหน้าที่ให้การรับรองฉลาก Carbon Reduction อย่างเป็นทางการ โดยแสดงผลในรูปของปริมาณ GHGs ที่ลดลง ซึ่ง TGO ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการประเมินและการจัดทำฉลาก ฯ

เอกสารอ้างอิง

http://en.wikipedia.org/wiki/Carbon_footprint
http://en.wikipedia.org/wiki/Carbon_offset
http://www.carbonlabelca.org/
http://www.tgo.or.th/index.php
http://www.carbontrust.co.uk/carbon/briefing/carbon_label.htm
http://www.jemai.or.jp/english/index.cfm

     
Visitors: 626,990